121 รอยเลื่อนในประเทศไทย
รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว ปริญญา นุตาลัย (2533) ระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะรุ่ย (http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/DMRActiveFault.htm)
รอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)
การระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault) อาศัยนิยามศัพท์จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ที่ว่า “รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี” (http://earthquake.usgs.gov/image_glossary) การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยจึงอาศัยหลักการว่า “ตรวจพบแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนใดถือว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง” เทคนิคคือ ใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลออนไลน์ระบบไอริส (Incorporated Research Institutions for Seismology) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รู้สึกสั่นสะเทือนระหว่างปีพ.ศ. 2506-2546 การคำนวณพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาศัยโปรแกรมไดแมส (Display Interactive Manipulation and Analysis of Seismograms: DIMAS, USGS, 2003) จากนั้นนำผลการคำนวณมาจัดทำฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นแผนภูมิกราฟิกทางโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcView GIS Version 3.1) แล้วทับซ้อนด้วยแผนที่รอยเลื่อนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนใด จึงสรุปว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นรอยเลื่อนมีพลัง จากการตรวจสอบพบว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 45 รอยเลื่อนได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่จัน แม่อิง มูลาว หนองเขียว เชียงดาว เมืองแหง แม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาหลวง แม่สะเรียง พร้าว ปัว ดอยหมอก วังเหนือ แม่งัด แม่ปิง ดอยปุย แม่ทา อมก๋อย เมืองปาน แม่หยวก แม่ทะ เถิน แม่วัง ท่าสี งาว แม่ติป สามเงา ผาแดง ดอยหลวง แม่ยม แม่กลอง แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ น้ำปาด เขาดำ ท่าอุเทน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ เขาราวเทียน ระนอง อ่าวลึก และ คลองมะรุ่ย รอยเลื่อนในประเทศไทย จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นจำนวนมากดังนี้
ที่มา : http://www.naturalsoft.com/faults.html |
วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554
การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย
วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554
มหาวิบัติภัย กัมมันตรังสี ฟูกุชิมะช็อกโลก
ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - นอกจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ จะทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับหายนะภัยครั้งใหญ่ ทั้งจากแผ่นดินไหวโดยตรงและคลื่นยักษ์สึนามิที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงทรัพย์สินที่มิอาจประเมินค่าจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ภัยพิบัติที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับญี่ปุ่นและโลกไม่แพ้กันจนเกิด “วิกฤติซ้อนวิกฤต” เมื่ออาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์ของ “โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์” ที่จังหวัดฟูกุชิมะ เกิดระเบิดขึ้นถึง 4 แห่งด้วยกัน
ทั้งนี้ เนื่องจากจะส่งผลทำให้เกิด “สารกัมมันตรังสี” รั่วไหลออกมาจากอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ของประเทศ พร้อมมีคำสั่งให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่มากกว่า 200,000 คน
และไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีครั้งนี้ยังสร้างความตื่นตระหนกให้กับโลกทั้งโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นที่เยอรมนีที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า 7 แห่งจากทั้งหมด 17 แห่งเป็นการชั่วคราว 3 เดือน เพื่อทบทวนมาตรการต่ออายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2523 หรือการที่รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งให้ทบทวนแผนการในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์
เช่นเดียวกับรัฐบาลหลายประเทศซึ่งรวมถึงอังกฤษ, อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ที่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าญี่ปุ่น หรืออีกหลายประเทศที่มีคำสั่งให้คุมเข้มอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นเนื่องจากเกรงการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
ที่ร้ายกว่านั้นคือเกิดกระแสข่าวลือในโซเชียลเน็ตเวิร์คเกี่ยวกับการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี จนเกิดความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการกินไอโอดีนเม็ดและการใช้เบตาดีนทาคอเพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสี
แน่นอน จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีคำถามและปริศนาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะมีอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นทำไมประเทศญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าและมีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านแผ่นดินไหว สึนามิและนิวเคลียร์ถึงไม่สามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพราะทำท่าว่า ต้นเหตุการณ์รั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจะเป็นผลมาจากความผิดพลาดของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นความสนใจใคร่รู้ถึงภยันตรายของสารกัมมันตรังสีว่า มีความรุนแรงมากน้อยอย่างไร และจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่น่าสะพรึงกลัวเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่
ฟูกุชิมะบึ้มรุนแรงอันดับ 2
หนักกว่าฮิโรชิมา นางาซากิ
การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะที่มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 6 เตา เริ่มต้นขึ้นจากอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ตามต่อด้วยอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เมื่อวันที่ 14 มี.ค. อาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ตามลำดับ ขณะที่อาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งเดียวกันก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีสิทธิ์เกิดเหตุซ้ำรอยอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์ 4 เตาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ การระเบิดดังกล่าว เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ที่ทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หยุดทำงานอย่างรวดเร็ว และพร้อมๆ กันนั้นก็ได้ตัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมและปั๊มน้ำ อีกทั้งยังทำให้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสำรองไม่ทำงาน โดยผลที่เกิดขึ้นก็คือแท่งเชื้อเพลิงในแกนเตาปฏิกรณ์มีความร้อนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากขาดน้ำเพื่อใช้หล่อเย็น จนถึงขั้นต้องใช้น้ำทะเลในการระบายความร้อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดการสั่งสมของก๊าซไฮโดรเจนที่เพิ่มมากขึ้นจนทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนจนเกิดการระเบิดในที่สุด
และผลของการระเบิดดังกล่าวก็ส่งผลทำให้มีสารกัมมันตรังสีรั่วออกมาจากบริเวณโรงไฟฟ้าและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยนายคันไซ นากาโน่ ประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะ แถลงว่า นับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ป่วย 96 คน ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงงานนิวเคลียร์
นายยูกิโอะ เอดาโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า หลังการวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในพื้นที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะพบเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,000 มิลลิซีเวิร์ตส์ ก่อนที่จะลดระดับลงมาอยู่ที่ 800-600 มิลลิซีเวิร์ตส์
ขณะที่ในจังหวัดคานางาวะบริเวณชานกรุงโตเกียว สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า พบปริมาณกัมมันตภาพรังสีสูงกว่ามาตรฐานถึง 8 เท่า
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการป้องกันอันตรายจากรังสีระหว่างประเทศ(ICRP) กำหนดให้ประชาชนทั่วไปรับรังสีได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในปริมาณไม่เกิน 5 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีรับได้ไม่เกิน 50มิลลิซีเวิร์ตส์
หรือหมายความว่า เป็นระดับการแพร่รังสีที่มีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หลายเท่าตัวทีเดียว
วิกฤตนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นทำให้ “นายนาโอโตะคัง” นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถึงกับต้องอ่านแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์โดยยอมรับว่า “ปริมาณรังสีถือว่าอยู่ในระดับสูงและเสี่ยงต่อการรั่วไหลเพิ่มขึ้นอีก ขอให้ประชาชนในระยะห่างจากโรงไฟฟ้า 30 กิโลเมตรอยู่แต่ในอาคารบ้านเรือน ถือเป็นเหตุวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดยิ่งกว่าเหตุทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2”
ตามต่อด้วยการที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเขตห้ามบินในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะ เพราะเกรงว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสี
เช่นเดียวกับ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ที่มีพระราชดำรัสแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะซึ่งยังไม่อาจคาดเดาได้ โดยทรงระบุว่า “ข้าพเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก” ขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยคุ้มครองประชาชนชาวญี่ปุ่นให้ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เช่นเดียวกับ นายอังเดร โคลด ลาคอสต์ หัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ที่ระบุว่า วิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะของญี่ปุ่นร้ายแรงกว่าอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หมู่เกาะทรีไมล์ในรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ในปี 2552 ซึ่งถูกจัดให้เป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงอันดับ 2 ของโลกรองจากอุบัติเหตุที่เมืองเชอร์โนบิลในยูเครนปี 2529
อันตรายของสารกัมมันตรังสีที่ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของคนญี่ปุ่นจากกรณีสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำให้การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีครั้งนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย เมืองหลายเมืองไม่สนคำเตือนของรัฐบาล เช่นที่เมืองโซมะที่อยู่ห่างจากฟูกุชิมะไปทางตอนเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร ชาวบ้านต่างพากันอพยพออกจากตัวเมืองอย่างรีบเร่งจนเมืองมีสภาพไม่ต่างกับเมืองร้าง
ประชาชนในจังหวัดอิบารากิและบางพื้นที่ในโตเกียว ประชาชนต่างแห่ไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากักตุนไว้ ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่สำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ไฟฉาย แบตเตอรี่ ถุงนอน รวมถึงแกลลอนใส่เชื้อเพลิง เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีรั่วไหล
ขณะที่กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นก็แทบกลายเป็นเมืองร้าง เนื่องเพราะประชาชนพากันหลบอยู่แต่ภายในอาคารบ้านเรือน
นอกจากนี้กระแสข่าวลือเรื่องสารกัมมันตรังสีรั่วไหลยังได้ถูกปล่อยผ่านทางสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คจนทำให้เกิดความหวั่นวิตกไปทั่ว เช่นที่ฟิลิปปินส์ที่ประชาชนแห่กักตุนอาหาร และแห่ซื้อไอโอดีนชนิดเม็ด จนทางการฟิลิปปินส์ต้องออกประกาศยืนยันถึงความปลอดภัยของกัมมันตภาพรังสีดังกล่าว รวมทั้งองค์การอนามัยโลก(WHO) ต้องออกโรงเตือนถึงข่าวลือเรื่องสารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปทั่วเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ว่า ไม่เป็นความจริง
กระนั้นก็ดีดูเหมือนว่า คำยืนยันของ WHO จะไม่เป็นผลเท่าใดนัก เพราะเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา สภาพลังงานปรมาณูของไต้หวันออกมาเปิดเผยว่า หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสารกัมมันตรังสีที่ท่าอากาศยานหลัก 3 แห่งได้ 1 วัน ผลการตรวจมากกว่า 4,400 คน ที่เดินทางมาจากญี่ปุ่นพบว่า 25 คน มีอนุภาคกัมมันตรังสีปนเปื้อนตามเสื้อผ้าและรองเท้า จึงให้เปลี่ยน หรือใช้น้ำสะอาดล้าง ก่อนอนุญาตให้ออกจากท่าอากาศยาน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ที่ตรวจพบสารกัมมันตรังสีในระดับสูงผิดปกติกับผู้โดยสาร 3 คน ที่โดยสารเครื่องบินมาจากญี่ปุ่น โดยผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นวัยกว่า 50 ปี เชื่อว่าอาศัยอยู่ที่จังหวัดฟูกุชิมะ สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดปัญหา ตรวจพบสารกัมมันตรังสีเกิน 1 ไมโครซีเวิร์ตส์ บนหมวกและเสื้อคลุมของเขา ถือว่าสูงกว่าระดับปกติหลายเท่า แต่ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้ออกจากท่าอากาศยานได้
ลุ้นระทึกคุมอยู่หรือไม่อยู่
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าทางรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค (เทปโก) จะออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่า สังคมยังคงข้องใจกับกับ “ความเป็นจริง” ที่เกิดขึ้นว่า มีอะไรปิดบังซ่อนเร้นเอาไว้หรือไม่
เพราะขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นและเทปโกยืนยันว่า สารกัมมันตรังสีจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน แต่ภาพเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็ทำให้สังคมโลกอดปริวิตกไม่ได้ว่า สถานการณ์ที่ฟูกุชิมะเลวร้ายกว่าที่คิดถึงขั้นที่แกนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์บางส่วนหลอมละลายไปแล้ว
ทั้งนี้ เนื่องจากหลังจากระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าไม่ทำงาน สิ่งที่สังคมโลกได้เห็นก็คือ การฉีดน้ำทะเลเข้าไปในระบบหล่อเย็น รวมกระทั่งถึงการใช้เฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปโปรยน้ำลงไปยังอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพราะถ้าไม่สาหัสหรือวิกฤตจริงๆ วิธีการเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น
แน่นอน ผู้ที่ตั้งคำถามและเป็นประเด็นที่ต้องจับตามากที่สุดก็คือ “นายยูคิกะ อามาโนะ” ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ที่ออกมาระบุอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ต้องการให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะต่อไอเออีเอให้มากกว่านี้”
ตามต่อด้วยนายกุนเธอร์ โอตทิงเจอร์ ประธานกรรมาธิการพลังงานของสหภาพยุโรป(อียู) ถึงกับแถลงต่อกรรมาธิการรัฐสภายุโรปเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอยู่นอกเหนือการควบคุมแล้ว และในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดหายนภัยที่เลวร้ายลงไปอีก
กระทั่งทางเทปโกเองต้องออกมาแถลงยอมรับว่า เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือประมาณ 70% ขณะที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 เสียหายประมาณ 33% และคาดว่า แกนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเตาทั้งสองอาจหลอมละลายไปแล้วบางส่วน ซึ่งหมายความว่าเทปโกยอมรับกลายๆ ถึงอันตรายที่จะทวีความรุนแรงขึ้น
ขณะที่ข้อมูลจากหลายสายก็เริ่มขยายความให้กว้างขวางขึ้นว่า ทางการญี่ปุ่นเคยได้รับคำเตือนจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ "ไอเออีเอ" มานานกว่า 2 ปีแล้วถึงความไม่ปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของตนแต่ทางการญี่ปุ่นกลับเพิกเฉย
ทั้งนี้ เนื่องจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้รับความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ที่ระดับ 7.0 เท่านั้น
ด้าน รศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือเอไอที ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวของไทย ตั้งข้อสังเกตเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผมแปลกใจว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นมันน่าจะทนแผ่นดินไหวได้ดีกว่านี้ แต่อันนนี้ยังไม่รู้รายละเอียดเพราะเราไม่รู้ข้อมูลข้างใน เท่าที่ฟังดูเหมือนกับว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี่สร้างมานานแล้ว 40 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคที่การออกแบบอาจจะไม่ได้รัดกุมมากเท่านี้ ตอนนั้นความรู้ด้านแผ่นดินไหวก็ยังมีน้อยอยู่ จริงๆแล้วประเทศญี่ปุ่นจะมีการเตรียมตัวเรื่องแผ่นดินไหวดีนะ แล้วรู้สึกว่าคราวนี้สึนามิจะมีผลกระทบทำให้ระบบไฟฟ้าเสียหายด้วย แต่ที่จริงแล้วมันควรจะตัดและหยุด shut down ก่อนตั้งแต่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว ไม่รอจนถึงตอนสึนามิเข้า อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามข่าว เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างผิดสังเกตอยู่เหมือนกัน ประชาชนญี่ปุ่นก็ชักจะไม่ไว้ใจรัฐบาลว่าปิดข่าวหรือเปล่า บอกว่ารั่วไหลไม่มาก แต่ทำไมให้อพยพ ตอนหลังถึงมายอมรับกัน อันนี้มันทำให้การตัดสินใจของคนผิดไป การที่ทำให้สถานการณ์ดูดีกว่าเหตุ ทั้งที่มันแย่แล้ว”
ที่สำคัญคือ การรั่วไหลดังกล่าวยังสร้างความสั่นสะเทือนต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นที่เยอรมนีที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า 7 แห่งจากทั้งหมด 17 แห่งเป็นการชั่วคราว 3 เดือน เพื่อทบทวนมาตรการต่ออายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2523 หรือการที่รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งให้ทบทวนแผนการในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์
ขณะเดียวกันก็ส่งผลทำให้การสร้างและพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของญี่ปุ่นและโลก เพราะแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับสภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้รองรับสถานการณ์ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างหรือการปรับปรุงแพงขึ้นไปด้วย โดยหากต้องการสร้างให้สามารถทนแรงแผ่นดินไหวอีก 1 ริกเตอร์ก็ต้องเพิ่มค่าผลิตไปอีก 30 เท่า
…ถึงตรงนี้ คงไม่มีใครทราบได้ว่า วิกฤติกัมมันตรังสีรั่วไหลที่ญี่ปุ่นจะยุติลงเมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือ หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งนี้น่าจะทำให้โลกตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น
*************************************
ไอโอดีน สารซีเซี่ยม สตรอนเดียม
สารกัมมันตรังสีสุดอันตราย
หลังการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ประเทศต่างๆ ได้เฝ้าจับตาสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด เนื่องเพราะเกรงว่า สารกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะถูกพัดพาไปยังประเทศของตัวเอง ดังนั้น หลายประเทศจึงมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการออกคำเตือนสำหรับประชาชนของตนเองที่ต้องการเดินทางไปญี่ปุ่น รวมทั้งการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น แม้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจะยืนยันว่า ไม่มีการแพร่รังสีจากญี่ปุ่นไปยังประเทศอื่นๆ ก็ตาม
ทั้งนี้ เนื่องเพราะทุกคนรับรู้ดีว่า การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายนั้น มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
นายโจเซฟ มานยาโน่ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการสุขอนามัยสาธารณะจากการแผ่รังสี(อาร์พีเอชพี) สหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า การแตกตัวของยูเรเนียมในเตาปฏิกรณ์ นอกจากจะให้ความร้อนที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังก่อให้เกิดสารเคมีใหม่ๆ มากกว่า 100 ชนิดขึ้นในกระบวนการดังกล่าว เมื่อสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายก็จะทะลุทะลวงเซลล์ที่มีสุขภาพดี ทำลายหรือทำให้เซลล์เหล่านั้นสูญเสียความสามารถบางอย่างไป
สารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นและเป็นภัยต่อสุขภาพสูงสุดประกอบด้วยสารไอโอดีน สารซีเซี่ยมและสตรอนเดียม 90 เพราะสารเหล่านี้เป็นสารเคมีพื้นฐานที่มีอยู่ในร่างกายหรือร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากเป็นสารเคมีในกลุ่มเดียวกับไอโอดีนและโพแทสเซียม ซึ่งเซลล์สามารถดูดซับได้ทันที ทำให้มีอันตรายสูงกว่าสารเคมีที่มีกัมมันตภาพรังสีตัวอื่นๆ
ทั้งนี้ โรคที่น่าวิตกที่สุดคือโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เพราะต่อมไทรอยด์ไม่สามารถแยกไอโอดีนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีกับไอโอดีนปกติได้ ดังนั้นการแก้ด้วยการกินไอโอดีนเม็ดเพื่อทำให้ร่างกายมีไอโอดีนเพยงพอ ไม่ต้องดูดซับเข้าไปอีกจึงเป็นหนทางแก้ที่ดี
ด้าน นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ อาจารย์สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอและเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า สารกัมมันตรังสีทำให้เราตายได้ ต่อเมื่อได้รับสารกัมมันตรังสี ปริมาณมากๆ อยู่ใกล้กับแหล่งระเบิดมากๆ จะทำให้เซลล์ของร่างกายหยุดเจริญเติบโต มีแผลตามร่างกาย เม็ดเลือดต่ำทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ร่างกายอ่อนเพลีย และเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน แต่หากปริมาณรังสีที่ได้รับเป็นจำนวนน้อย อยู่ห่างจากแหล่งที่เกิดระเบิด ปริมาณรังสีนั้นอาจไม่มากพอที่จะทำอันตรายโดยตรงกับร่างกายของเรา แต่อาจทำให้เซลล์บางส่วนผิดปกติ และเกิดเป็นมะเร็งขึ้นภายหลัง ซึ่งหนึ่งในเซลล์ของร่างกาย ที่ไวต่อสารกัมมันตรังสีมากที่สุด คือ ไทรอยด์ ดังนั้น หากต่อมไทรอยด์ของร่างกายได้รับสารรังสีเกินขนาด อาจทำให้เกิดมะเร็งขึ้นในอนาคตได้ อาจจะ 10-20 ปีต่อมา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ
นอกจากนี้สารกัมมันตรังสี ที่ตกค้างหลังการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจลอยอยู่ในอากาศ และตกลงมาพร้อมกับฝนได้ ดังนั้นการถูกฝนในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งระเบิดจึงอาจได้รับปริมาณรังสีจากการระเบิดได้ แต่จะเกิดเฉพาะรอบๆ แหล่งระเบิดเท่านั้น แต่ฝนดังกล่าวจะไม่สามารถมาจากญี่ปุ่นถึงไทย
นพ. อดุลย์ กล่าวด้วยว่า น้ำดื่ม ปลา อาหาร ที่อยู่ในบริเวณที่มีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจมีสารกัมมันตรังสีในปริมาณสูง และไอโอดีนเป็นสารที่จับสารกัมมันตรังสีได้เร็วที่สุด ดังนั้นหากรับประทานอาหารจากแหล่งดังกล่าว ต่อมไทรอยด์จะรับสารไอโอดีนที่มีกัมมันตรังสีเข้าไปด้วย จึงเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ หากต่อมไทรอยด์ได้รับไอโอดีนจนอิ่มแล้ว จะไม่รับไอโอดีนเพิ่มเข้าไปอีก ดังนั้นหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มและดูดจับไอโอดีนที่มีสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนกับ อาหารและน้ำได้น้อยลง เราจึงเสี่ยงลดลง การกินไอโอดีนเม็ดจึงจำเป็นสำหรับคนที่อยู่ในบริเวณใกล้กับที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่การกินไอโอดีนเม็ด จะไม่แนะนำในคนปกติ
เพราะหากร่างกายรับไอโอดีนเข้าไปในปริมาณมากเกิน ต่อมไทรอยด์จะหยุดทำงานชั่วคราว เกิดอาการอ่อนเพลีย แต่หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน ต่อมไทรอยด์จะทำให้ไอโอดีนที่กินเข้าไปสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปมากจะทำให้เกิดภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน (hyperthyroid) หรือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายจะอ่อนเพลีย เหนื่อย ผอมลง ดังนั้นคนทั่วไปจึงห้ามกินไอโอดีนเม็ด
อย่างไรก็ตาม ความหวาดกลัวที่อยู่ในจิตใจก็มิอาจขจัดให้หมดไปแล้ว จนกระทั่งเกิดปรากฏการณ์เรื่องการแห่ซื้อไอโอดีนเม็ด โดยสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า วิกฤติการณ์แพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น ได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเม็ดโปแตสเซียมไอโอไดท์ ซึ่งมีการประมูลทางอินเตอร์เน็ตในราคาห่อละ 500 ดอลลาร์ (ประมาณ 15,285 บาท)
ขณะที่เภสัชกรรายหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า "ผู้คนต่างพากันอ่านข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ในญี่ปุ่น แล้วก็พากันซื้อยาเม็ดไอโอไดท์กันขนานใหญ่ แต่ร้านขายยาส่วนใหญ่ไม่ได้สั่งยาชนิดนี้เอาไว้ก่อน"
สำหรับประเทศไทยนั้น ทั้งนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) อธิบายว่า ไอเออีเอได้รายงานถึงสถานการณ์การฟุ้งกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีว่าเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นโอกาสที่ผงฝุ่นกัมมันตภาพรังสีจะมายังประเทศไทยจึงอยู่ในระดับน้อยมาก และไทยมีสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสี 8 สถานี คือที่เชียงใหม่ พะเยา อุบลราชธานี ขอนแก่น ตราด ระยอง สงขลา และกรุงเทพฯ โดยจะทำหน้าที่ติดตาม ตรวจวัด และเฝ้าระวังรังสีในสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากกิจกรรมทางด้านนิวเคลียร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
"ล่าสุดผลการตรวจวัดระดับรังสีแกมมาในอากาศ อยู่ในระดับปกติเท่ากับที่เคยวัดได้ก่อนการเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเมืองไทยรังสีแกมม่าวิ่งอยู่ระหว่าง 40-60 นาโนซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งถ้าเกิดในปริมาณที่มากกว่า 200 นาโนซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ทางสำนักงานปรมาณูต้องลงไปตรวจสอบ ซึ่งทางไทยก็มีทีมงานที่ซ้อมแผนรับมือไว้อยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะรายงานให้คนไทยได้ทราบหากคาดว่าจะเกิดอันตรายขึ้นต่อประชาชน"
นอกจากนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ยังได้อธิบายถึงอันตรายของกัมมันตรังสีที่หากมนุษย์รับเข้าไปจะมีผลอย่างไรว่า สำหรับร่างกายมนุษย์สามารถรับสารปนเปื้อน หรือจากสารกัมมันตรังสี 1-3 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี แต่สำหรับคนที่ทำงานในโรงปฏิกรณ์จะให้ได้ 20 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี
ส่วนเรื่องการกินไอโอดีนเม็ดนั้น เลขาฯ ชัยวัฒน์อธิบายว่า เนื่องจากว่า ไอโอดีน-131 ที่กระจายออกมาก็เป็นกัมมันตรังสีเช่นกัน ทางญี่ปุ่นจึงจ่ายโอโอดีนเม็ดให้กับกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายหรือเข้าสู่ร่างกายได้น้อยที่สุด เนื่องจากรับเข้าร่างกายจากการกินเข้าไปก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามการบริโภคต้องอยู่ในการควบคุมที่ถูกต้องเช่นกัน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นก็คงจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ ส่วนอันตรายของการสะสมของกัมมันตรังสี ไอโอดีน-131 หากเข้าไปสะสมมากจะสะสมจนเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์
แต่สิ่งที่สังคมต้องไม่ลืมก็คือ สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมาไม่ได้มีแค่ไอโอดีน 131 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียงแค่ 8 วัน หากยังมีสารซีเซียม-137 ที่มีอายุขัยครึ่งชีวิตถึง 30 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว
**************************************
โศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก
- 28 มีนาคม 1979 : สหรัฐฯ สั่งอพยพประชาชนราว 140,000 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย หลังเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ รัฐเพนซิลเวเนีย สาเหตุอุบัติภัยครั้งนั้นเกิดจากแกนเตาปฏิกรณ์ถูกหลอมละลาย ทำให้เกิดการปนเปื้อนรังสี แต่โชคดีที่สารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายเฉพาะพื้นที่ภายในโรงงานเท่านั้น ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ความร้ายแรงของเหตุการ์ดังกล่าวอยู่ในระดับ 5 จาก 7 อันดับความร้ายแรงทางนิวเคลียร์ ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ
- สิงหาคม 1979 : เกิดการรั่วไหลของยูเรเนียมในโรงงานนิวเคลียร์ลับ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเออร์วิน รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ มีพลเรือนปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีไปกว่า 1,000 คน
- มกราคม-มีนาคม 1981 : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สึรุกะของญี่ปุ่นเกิดเหตุรั่วไหลของรังสี 4 ครั้งติดต่อกัน ข้อมูลจากรัฐบาลกรุงโตเกียวในขณะนั้นระบุ ว่า มีผู้ปนเปื้อนสารพิษ 278 คน
- 26 สิงหาคม 1986 : อุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกอุบัติขึ้น เมื่อเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด หลังการทดลองผิดพลาด มีผู้ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงราว 200 คน ในจำนวนนี้มี 32 คนเสียชีวิตภายใน 3 เดือน เรื่องราวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา หลังมีกลุ่มเมฆกัมมันตรังสีขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือน่านฟ้าแถบยุโรปเหนือ
หลังเกิดเหตุ มีการบันทึกได้ว่า เกิดฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ (fall-out) ปริมาณมากกว่า การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ถล่มฮิโรชิมาเมื่อปี 1945 ผู้คนนับแสนต้องอพยพหนีตาย จากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศระบุว่า เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้อยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
- เมษายน 1993 : โรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงลับใน เขตตอมสค์-7 ทางตะวันตกของไซบีเรียได้ปล่อยกลุ่มก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งประกอบไปด้วยยูเรเนียม-235 พลูโตเนียม-237 และวัสดุฟิสไซล์ หรือวัสดุธาตุนิวเคลียร์ออกมา ทว่า ไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนผู้บาดเจ็บ ล้มตาย
- พฤศจิกายน 1995 : มีการรายงานเหตุปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงในเมืองเชอร์โนบิลอีกครั้ง ระหว่างการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ตัวหนึ่ง แม้มีความพยายามปกปิดเรื่องดังกล่าว แต่ในที่สุดก็ข่าวก็แดงออกมา
- 11 มีนาคม 1997 : การทดลองในโรงงานนิวเคลียร์ เมืองโทไกมูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ต้องหยุดชะงัดชั่วคราว เมื่อเกิดเหตุระเบิด และเพลิงไหม้ ซึ่งมีผู้เคราะห์ร้ายปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี 37 คน
- 30 กันยายน 1999 : มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากอุบัติเหตุในโรงงานผลิตยูเรเนียม เมืองโทไกมูระ ญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่อุบัติภัยเชอร์โนบิล สาเหตุครั้งนี้เกิดจากเจ้าหน้าที่เติมยูเรเนียมลงในถังตกตะกอนมากเกินไป จากความมักง่าย เพื่อต้องการประหยัดเวลา
ทั้งนี้ มีการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า มีผู้ปนเปื้อนสารพิษมากกว่า 600 คน รัฐบาลสั่งให้ประชาชนอีกกว่า 320,000 คนห้ามออกจากบ้านมากกว่า 1 วัน เจ้าหน้าที่ 2 คน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาเสียชีวิตอย่างน่าอเนจอนาถที่โรงพยาบาลในอีก 3 เดือน และ 6 เดือนให้หลัง
- 9 สิงหาคม 2004 : คนงาน 4 คนเสียชีวิต และอีก 7 คนถูกเพลิงไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการรั่วไหลไอน้ำที่ไร้สารกัมมันตภาพรังสี ในโรงงานนิวเคลียร์มิฮามะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว 350 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งในสามตัวของโรงงานหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น ก่อนที่ความร้อนสูงจะรั่วไหลจนอาจทำให้แกนกลางหลอมละลาย อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นภัยนิวเคลียร์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของญี่ปุ่น
ทั้งนี้ เนื่องจากจะส่งผลทำให้เกิด “สารกัมมันตรังสี” รั่วไหลออกมาจากอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ของประเทศ พร้อมมีคำสั่งให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่มากกว่า 200,000 คน
และไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีครั้งนี้ยังสร้างความตื่นตระหนกให้กับโลกทั้งโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นที่เยอรมนีที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า 7 แห่งจากทั้งหมด 17 แห่งเป็นการชั่วคราว 3 เดือน เพื่อทบทวนมาตรการต่ออายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2523 หรือการที่รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งให้ทบทวนแผนการในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์
เช่นเดียวกับรัฐบาลหลายประเทศซึ่งรวมถึงอังกฤษ, อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ที่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าญี่ปุ่น หรืออีกหลายประเทศที่มีคำสั่งให้คุมเข้มอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นเนื่องจากเกรงการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี
ที่ร้ายกว่านั้นคือเกิดกระแสข่าวลือในโซเชียลเน็ตเวิร์คเกี่ยวกับการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี จนเกิดความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการกินไอโอดีนเม็ดและการใช้เบตาดีนทาคอเพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสี
แน่นอน จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีคำถามและปริศนาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะมีอยู่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็นทำไมประเทศญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าและมีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านแผ่นดินไหว สึนามิและนิวเคลียร์ถึงไม่สามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพราะทำท่าว่า ต้นเหตุการณ์รั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจะเป็นผลมาจากความผิดพลาดของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ
ไม่ว่าจะเป็นความสนใจใคร่รู้ถึงภยันตรายของสารกัมมันตรังสีว่า มีความรุนแรงมากน้อยอย่างไร และจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่น่าสะพรึงกลัวเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่
ฟูกุชิมะบึ้มรุนแรงอันดับ 2
หนักกว่าฮิโรชิมา นางาซากิ
การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะที่มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 6 เตา เริ่มต้นขึ้นจากอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ตามต่อด้วยอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เมื่อวันที่ 14 มี.ค. อาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ตามลำดับ ขณะที่อาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งเดียวกันก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีสิทธิ์เกิดเหตุซ้ำรอยอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์ 4 เตาก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ การระเบิดดังกล่าว เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ที่ทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หยุดทำงานอย่างรวดเร็ว และพร้อมๆ กันนั้นก็ได้ตัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมและปั๊มน้ำ อีกทั้งยังทำให้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสำรองไม่ทำงาน โดยผลที่เกิดขึ้นก็คือแท่งเชื้อเพลิงในแกนเตาปฏิกรณ์มีความร้อนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากขาดน้ำเพื่อใช้หล่อเย็น จนถึงขั้นต้องใช้น้ำทะเลในการระบายความร้อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดการสั่งสมของก๊าซไฮโดรเจนที่เพิ่มมากขึ้นจนทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนจนเกิดการระเบิดในที่สุด
และผลของการระเบิดดังกล่าวก็ส่งผลทำให้มีสารกัมมันตรังสีรั่วออกมาจากบริเวณโรงไฟฟ้าและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยนายคันไซ นากาโน่ ประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะ แถลงว่า นับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ป่วย 96 คน ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงงานนิวเคลียร์
นายยูกิโอะ เอดาโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า หลังการวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในพื้นที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะพบเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,000 มิลลิซีเวิร์ตส์ ก่อนที่จะลดระดับลงมาอยู่ที่ 800-600 มิลลิซีเวิร์ตส์
ขณะที่ในจังหวัดคานางาวะบริเวณชานกรุงโตเกียว สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า พบปริมาณกัมมันตภาพรังสีสูงกว่ามาตรฐานถึง 8 เท่า
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการป้องกันอันตรายจากรังสีระหว่างประเทศ(ICRP) กำหนดให้ประชาชนทั่วไปรับรังสีได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในปริมาณไม่เกิน 5 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีรับได้ไม่เกิน 50มิลลิซีเวิร์ตส์
หรือหมายความว่า เป็นระดับการแพร่รังสีที่มีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หลายเท่าตัวทีเดียว
วิกฤตนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นทำให้ “นายนาโอโตะคัง” นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถึงกับต้องอ่านแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์โดยยอมรับว่า “ปริมาณรังสีถือว่าอยู่ในระดับสูงและเสี่ยงต่อการรั่วไหลเพิ่มขึ้นอีก ขอให้ประชาชนในระยะห่างจากโรงไฟฟ้า 30 กิโลเมตรอยู่แต่ในอาคารบ้านเรือน ถือเป็นเหตุวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดยิ่งกว่าเหตุทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2”
ตามต่อด้วยการที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเขตห้ามบินในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะ เพราะเกรงว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสี
เช่นเดียวกับ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ที่มีพระราชดำรัสแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะซึ่งยังไม่อาจคาดเดาได้ โดยทรงระบุว่า “ข้าพเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก” ขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยคุ้มครองประชาชนชาวญี่ปุ่นให้ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เช่นเดียวกับ นายอังเดร โคลด ลาคอสต์ หัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ที่ระบุว่า วิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะของญี่ปุ่นร้ายแรงกว่าอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หมู่เกาะทรีไมล์ในรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ในปี 2552 ซึ่งถูกจัดให้เป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงอันดับ 2 ของโลกรองจากอุบัติเหตุที่เมืองเชอร์โนบิลในยูเครนปี 2529
อันตรายของสารกัมมันตรังสีที่ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของคนญี่ปุ่นจากกรณีสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำให้การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีครั้งนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย เมืองหลายเมืองไม่สนคำเตือนของรัฐบาล เช่นที่เมืองโซมะที่อยู่ห่างจากฟูกุชิมะไปทางตอนเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร ชาวบ้านต่างพากันอพยพออกจากตัวเมืองอย่างรีบเร่งจนเมืองมีสภาพไม่ต่างกับเมืองร้าง
ประชาชนในจังหวัดอิบารากิและบางพื้นที่ในโตเกียว ประชาชนต่างแห่ไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากักตุนไว้ ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่สำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ไฟฉาย แบตเตอรี่ ถุงนอน รวมถึงแกลลอนใส่เชื้อเพลิง เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีรั่วไหล
ขณะที่กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นก็แทบกลายเป็นเมืองร้าง เนื่องเพราะประชาชนพากันหลบอยู่แต่ภายในอาคารบ้านเรือน
นอกจากนี้กระแสข่าวลือเรื่องสารกัมมันตรังสีรั่วไหลยังได้ถูกปล่อยผ่านทางสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คจนทำให้เกิดความหวั่นวิตกไปทั่ว เช่นที่ฟิลิปปินส์ที่ประชาชนแห่กักตุนอาหาร และแห่ซื้อไอโอดีนชนิดเม็ด จนทางการฟิลิปปินส์ต้องออกประกาศยืนยันถึงความปลอดภัยของกัมมันตภาพรังสีดังกล่าว รวมทั้งองค์การอนามัยโลก(WHO) ต้องออกโรงเตือนถึงข่าวลือเรื่องสารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปทั่วเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ว่า ไม่เป็นความจริง
กระนั้นก็ดีดูเหมือนว่า คำยืนยันของ WHO จะไม่เป็นผลเท่าใดนัก เพราะเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา สภาพลังงานปรมาณูของไต้หวันออกมาเปิดเผยว่า หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสารกัมมันตรังสีที่ท่าอากาศยานหลัก 3 แห่งได้ 1 วัน ผลการตรวจมากกว่า 4,400 คน ที่เดินทางมาจากญี่ปุ่นพบว่า 25 คน มีอนุภาคกัมมันตรังสีปนเปื้อนตามเสื้อผ้าและรองเท้า จึงให้เปลี่ยน หรือใช้น้ำสะอาดล้าง ก่อนอนุญาตให้ออกจากท่าอากาศยาน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ที่ตรวจพบสารกัมมันตรังสีในระดับสูงผิดปกติกับผู้โดยสาร 3 คน ที่โดยสารเครื่องบินมาจากญี่ปุ่น โดยผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นวัยกว่า 50 ปี เชื่อว่าอาศัยอยู่ที่จังหวัดฟูกุชิมะ สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดปัญหา ตรวจพบสารกัมมันตรังสีเกิน 1 ไมโครซีเวิร์ตส์ บนหมวกและเสื้อคลุมของเขา ถือว่าสูงกว่าระดับปกติหลายเท่า แต่ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้ออกจากท่าอากาศยานได้
ลุ้นระทึกคุมอยู่หรือไม่อยู่
จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าทางรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค (เทปโก) จะออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่า สังคมยังคงข้องใจกับกับ “ความเป็นจริง” ที่เกิดขึ้นว่า มีอะไรปิดบังซ่อนเร้นเอาไว้หรือไม่
เพราะขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นและเทปโกยืนยันว่า สารกัมมันตรังสีจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน แต่ภาพเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็ทำให้สังคมโลกอดปริวิตกไม่ได้ว่า สถานการณ์ที่ฟูกุชิมะเลวร้ายกว่าที่คิดถึงขั้นที่แกนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์บางส่วนหลอมละลายไปแล้ว
ทั้งนี้ เนื่องจากหลังจากระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าไม่ทำงาน สิ่งที่สังคมโลกได้เห็นก็คือ การฉีดน้ำทะเลเข้าไปในระบบหล่อเย็น รวมกระทั่งถึงการใช้เฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปโปรยน้ำลงไปยังอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพราะถ้าไม่สาหัสหรือวิกฤตจริงๆ วิธีการเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น
แน่นอน ผู้ที่ตั้งคำถามและเป็นประเด็นที่ต้องจับตามากที่สุดก็คือ “นายยูคิกะ อามาโนะ” ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ที่ออกมาระบุอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ต้องการให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะต่อไอเออีเอให้มากกว่านี้”
ตามต่อด้วยนายกุนเธอร์ โอตทิงเจอร์ ประธานกรรมาธิการพลังงานของสหภาพยุโรป(อียู) ถึงกับแถลงต่อกรรมาธิการรัฐสภายุโรปเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอยู่นอกเหนือการควบคุมแล้ว และในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดหายนภัยที่เลวร้ายลงไปอีก
กระทั่งทางเทปโกเองต้องออกมาแถลงยอมรับว่า เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือประมาณ 70% ขณะที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 เสียหายประมาณ 33% และคาดว่า แกนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเตาทั้งสองอาจหลอมละลายไปแล้วบางส่วน ซึ่งหมายความว่าเทปโกยอมรับกลายๆ ถึงอันตรายที่จะทวีความรุนแรงขึ้น
ขณะที่ข้อมูลจากหลายสายก็เริ่มขยายความให้กว้างขวางขึ้นว่า ทางการญี่ปุ่นเคยได้รับคำเตือนจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ "ไอเออีเอ" มานานกว่า 2 ปีแล้วถึงความไม่ปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของตนแต่ทางการญี่ปุ่นกลับเพิกเฉย
ทั้งนี้ เนื่องจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้รับความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ที่ระดับ 7.0 เท่านั้น
ด้าน รศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือเอไอที ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวของไทย ตั้งข้อสังเกตเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผมแปลกใจว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นมันน่าจะทนแผ่นดินไหวได้ดีกว่านี้ แต่อันนนี้ยังไม่รู้รายละเอียดเพราะเราไม่รู้ข้อมูลข้างใน เท่าที่ฟังดูเหมือนกับว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี่สร้างมานานแล้ว 40 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคที่การออกแบบอาจจะไม่ได้รัดกุมมากเท่านี้ ตอนนั้นความรู้ด้านแผ่นดินไหวก็ยังมีน้อยอยู่ จริงๆแล้วประเทศญี่ปุ่นจะมีการเตรียมตัวเรื่องแผ่นดินไหวดีนะ แล้วรู้สึกว่าคราวนี้สึนามิจะมีผลกระทบทำให้ระบบไฟฟ้าเสียหายด้วย แต่ที่จริงแล้วมันควรจะตัดและหยุด shut down ก่อนตั้งแต่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว ไม่รอจนถึงตอนสึนามิเข้า อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามข่าว เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างผิดสังเกตอยู่เหมือนกัน ประชาชนญี่ปุ่นก็ชักจะไม่ไว้ใจรัฐบาลว่าปิดข่าวหรือเปล่า บอกว่ารั่วไหลไม่มาก แต่ทำไมให้อพยพ ตอนหลังถึงมายอมรับกัน อันนี้มันทำให้การตัดสินใจของคนผิดไป การที่ทำให้สถานการณ์ดูดีกว่าเหตุ ทั้งที่มันแย่แล้ว”
ที่สำคัญคือ การรั่วไหลดังกล่าวยังสร้างความสั่นสะเทือนต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นที่เยอรมนีที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า 7 แห่งจากทั้งหมด 17 แห่งเป็นการชั่วคราว 3 เดือน เพื่อทบทวนมาตรการต่ออายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2523 หรือการที่รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งให้ทบทวนแผนการในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์
ขณะเดียวกันก็ส่งผลทำให้การสร้างและพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของญี่ปุ่นและโลก เพราะแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับสภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้รองรับสถานการณ์ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างหรือการปรับปรุงแพงขึ้นไปด้วย โดยหากต้องการสร้างให้สามารถทนแรงแผ่นดินไหวอีก 1 ริกเตอร์ก็ต้องเพิ่มค่าผลิตไปอีก 30 เท่า
…ถึงตรงนี้ คงไม่มีใครทราบได้ว่า วิกฤติกัมมันตรังสีรั่วไหลที่ญี่ปุ่นจะยุติลงเมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือ หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งนี้น่าจะทำให้โลกตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น
*************************************
ไอโอดีน สารซีเซี่ยม สตรอนเดียม
สารกัมมันตรังสีสุดอันตราย
หลังการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ประเทศต่างๆ ได้เฝ้าจับตาสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด เนื่องเพราะเกรงว่า สารกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะถูกพัดพาไปยังประเทศของตัวเอง ดังนั้น หลายประเทศจึงมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการออกคำเตือนสำหรับประชาชนของตนเองที่ต้องการเดินทางไปญี่ปุ่น รวมทั้งการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น แม้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจะยืนยันว่า ไม่มีการแพร่รังสีจากญี่ปุ่นไปยังประเทศอื่นๆ ก็ตาม
ทั้งนี้ เนื่องเพราะทุกคนรับรู้ดีว่า การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายนั้น มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน
นายโจเซฟ มานยาโน่ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการสุขอนามัยสาธารณะจากการแผ่รังสี(อาร์พีเอชพี) สหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า การแตกตัวของยูเรเนียมในเตาปฏิกรณ์ นอกจากจะให้ความร้อนที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังก่อให้เกิดสารเคมีใหม่ๆ มากกว่า 100 ชนิดขึ้นในกระบวนการดังกล่าว เมื่อสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายก็จะทะลุทะลวงเซลล์ที่มีสุขภาพดี ทำลายหรือทำให้เซลล์เหล่านั้นสูญเสียความสามารถบางอย่างไป
สารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นและเป็นภัยต่อสุขภาพสูงสุดประกอบด้วยสารไอโอดีน สารซีเซี่ยมและสตรอนเดียม 90 เพราะสารเหล่านี้เป็นสารเคมีพื้นฐานที่มีอยู่ในร่างกายหรือร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากเป็นสารเคมีในกลุ่มเดียวกับไอโอดีนและโพแทสเซียม ซึ่งเซลล์สามารถดูดซับได้ทันที ทำให้มีอันตรายสูงกว่าสารเคมีที่มีกัมมันตภาพรังสีตัวอื่นๆ
ทั้งนี้ โรคที่น่าวิตกที่สุดคือโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เพราะต่อมไทรอยด์ไม่สามารถแยกไอโอดีนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีกับไอโอดีนปกติได้ ดังนั้นการแก้ด้วยการกินไอโอดีนเม็ดเพื่อทำให้ร่างกายมีไอโอดีนเพยงพอ ไม่ต้องดูดซับเข้าไปอีกจึงเป็นหนทางแก้ที่ดี
ด้าน นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ อาจารย์สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอและเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า สารกัมมันตรังสีทำให้เราตายได้ ต่อเมื่อได้รับสารกัมมันตรังสี ปริมาณมากๆ อยู่ใกล้กับแหล่งระเบิดมากๆ จะทำให้เซลล์ของร่างกายหยุดเจริญเติบโต มีแผลตามร่างกาย เม็ดเลือดต่ำทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ร่างกายอ่อนเพลีย และเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน แต่หากปริมาณรังสีที่ได้รับเป็นจำนวนน้อย อยู่ห่างจากแหล่งที่เกิดระเบิด ปริมาณรังสีนั้นอาจไม่มากพอที่จะทำอันตรายโดยตรงกับร่างกายของเรา แต่อาจทำให้เซลล์บางส่วนผิดปกติ และเกิดเป็นมะเร็งขึ้นภายหลัง ซึ่งหนึ่งในเซลล์ของร่างกาย ที่ไวต่อสารกัมมันตรังสีมากที่สุด คือ ไทรอยด์ ดังนั้น หากต่อมไทรอยด์ของร่างกายได้รับสารรังสีเกินขนาด อาจทำให้เกิดมะเร็งขึ้นในอนาคตได้ อาจจะ 10-20 ปีต่อมา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ
นอกจากนี้สารกัมมันตรังสี ที่ตกค้างหลังการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจลอยอยู่ในอากาศ และตกลงมาพร้อมกับฝนได้ ดังนั้นการถูกฝนในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งระเบิดจึงอาจได้รับปริมาณรังสีจากการระเบิดได้ แต่จะเกิดเฉพาะรอบๆ แหล่งระเบิดเท่านั้น แต่ฝนดังกล่าวจะไม่สามารถมาจากญี่ปุ่นถึงไทย
นพ. อดุลย์ กล่าวด้วยว่า น้ำดื่ม ปลา อาหาร ที่อยู่ในบริเวณที่มีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจมีสารกัมมันตรังสีในปริมาณสูง และไอโอดีนเป็นสารที่จับสารกัมมันตรังสีได้เร็วที่สุด ดังนั้นหากรับประทานอาหารจากแหล่งดังกล่าว ต่อมไทรอยด์จะรับสารไอโอดีนที่มีกัมมันตรังสีเข้าไปด้วย จึงเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ หากต่อมไทรอยด์ได้รับไอโอดีนจนอิ่มแล้ว จะไม่รับไอโอดีนเพิ่มเข้าไปอีก ดังนั้นหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มและดูดจับไอโอดีนที่มีสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนกับ อาหารและน้ำได้น้อยลง เราจึงเสี่ยงลดลง การกินไอโอดีนเม็ดจึงจำเป็นสำหรับคนที่อยู่ในบริเวณใกล้กับที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่การกินไอโอดีนเม็ด จะไม่แนะนำในคนปกติ
เพราะหากร่างกายรับไอโอดีนเข้าไปในปริมาณมากเกิน ต่อมไทรอยด์จะหยุดทำงานชั่วคราว เกิดอาการอ่อนเพลีย แต่หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน ต่อมไทรอยด์จะทำให้ไอโอดีนที่กินเข้าไปสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปมากจะทำให้เกิดภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน (hyperthyroid) หรือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายจะอ่อนเพลีย เหนื่อย ผอมลง ดังนั้นคนทั่วไปจึงห้ามกินไอโอดีนเม็ด
อย่างไรก็ตาม ความหวาดกลัวที่อยู่ในจิตใจก็มิอาจขจัดให้หมดไปแล้ว จนกระทั่งเกิดปรากฏการณ์เรื่องการแห่ซื้อไอโอดีนเม็ด โดยสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า วิกฤติการณ์แพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น ได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเม็ดโปแตสเซียมไอโอไดท์ ซึ่งมีการประมูลทางอินเตอร์เน็ตในราคาห่อละ 500 ดอลลาร์ (ประมาณ 15,285 บาท)
ขณะที่เภสัชกรรายหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า "ผู้คนต่างพากันอ่านข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ในญี่ปุ่น แล้วก็พากันซื้อยาเม็ดไอโอไดท์กันขนานใหญ่ แต่ร้านขายยาส่วนใหญ่ไม่ได้สั่งยาชนิดนี้เอาไว้ก่อน"
สำหรับประเทศไทยนั้น ทั้งนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) อธิบายว่า ไอเออีเอได้รายงานถึงสถานการณ์การฟุ้งกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีว่าเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นโอกาสที่ผงฝุ่นกัมมันตภาพรังสีจะมายังประเทศไทยจึงอยู่ในระดับน้อยมาก และไทยมีสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสี 8 สถานี คือที่เชียงใหม่ พะเยา อุบลราชธานี ขอนแก่น ตราด ระยอง สงขลา และกรุงเทพฯ โดยจะทำหน้าที่ติดตาม ตรวจวัด และเฝ้าระวังรังสีในสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากกิจกรรมทางด้านนิวเคลียร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
"ล่าสุดผลการตรวจวัดระดับรังสีแกมมาในอากาศ อยู่ในระดับปกติเท่ากับที่เคยวัดได้ก่อนการเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเมืองไทยรังสีแกมม่าวิ่งอยู่ระหว่าง 40-60 นาโนซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งถ้าเกิดในปริมาณที่มากกว่า 200 นาโนซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ทางสำนักงานปรมาณูต้องลงไปตรวจสอบ ซึ่งทางไทยก็มีทีมงานที่ซ้อมแผนรับมือไว้อยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะรายงานให้คนไทยได้ทราบหากคาดว่าจะเกิดอันตรายขึ้นต่อประชาชน"
นอกจากนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ยังได้อธิบายถึงอันตรายของกัมมันตรังสีที่หากมนุษย์รับเข้าไปจะมีผลอย่างไรว่า สำหรับร่างกายมนุษย์สามารถรับสารปนเปื้อน หรือจากสารกัมมันตรังสี 1-3 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี แต่สำหรับคนที่ทำงานในโรงปฏิกรณ์จะให้ได้ 20 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี
ส่วนเรื่องการกินไอโอดีนเม็ดนั้น เลขาฯ ชัยวัฒน์อธิบายว่า เนื่องจากว่า ไอโอดีน-131 ที่กระจายออกมาก็เป็นกัมมันตรังสีเช่นกัน ทางญี่ปุ่นจึงจ่ายโอโอดีนเม็ดให้กับกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายหรือเข้าสู่ร่างกายได้น้อยที่สุด เนื่องจากรับเข้าร่างกายจากการกินเข้าไปก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามการบริโภคต้องอยู่ในการควบคุมที่ถูกต้องเช่นกัน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นก็คงจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ ส่วนอันตรายของการสะสมของกัมมันตรังสี ไอโอดีน-131 หากเข้าไปสะสมมากจะสะสมจนเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์
แต่สิ่งที่สังคมต้องไม่ลืมก็คือ สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมาไม่ได้มีแค่ไอโอดีน 131 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียงแค่ 8 วัน หากยังมีสารซีเซียม-137 ที่มีอายุขัยครึ่งชีวิตถึง 30 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว
**************************************
โศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก
- 28 มีนาคม 1979 : สหรัฐฯ สั่งอพยพประชาชนราว 140,000 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย หลังเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ รัฐเพนซิลเวเนีย สาเหตุอุบัติภัยครั้งนั้นเกิดจากแกนเตาปฏิกรณ์ถูกหลอมละลาย ทำให้เกิดการปนเปื้อนรังสี แต่โชคดีที่สารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายเฉพาะพื้นที่ภายในโรงงานเท่านั้น ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ความร้ายแรงของเหตุการ์ดังกล่าวอยู่ในระดับ 5 จาก 7 อันดับความร้ายแรงทางนิวเคลียร์ ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ
- สิงหาคม 1979 : เกิดการรั่วไหลของยูเรเนียมในโรงงานนิวเคลียร์ลับ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเออร์วิน รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ มีพลเรือนปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีไปกว่า 1,000 คน
- มกราคม-มีนาคม 1981 : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สึรุกะของญี่ปุ่นเกิดเหตุรั่วไหลของรังสี 4 ครั้งติดต่อกัน ข้อมูลจากรัฐบาลกรุงโตเกียวในขณะนั้นระบุ ว่า มีผู้ปนเปื้อนสารพิษ 278 คน
- 26 สิงหาคม 1986 : อุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกอุบัติขึ้น เมื่อเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด หลังการทดลองผิดพลาด มีผู้ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงราว 200 คน ในจำนวนนี้มี 32 คนเสียชีวิตภายใน 3 เดือน เรื่องราวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา หลังมีกลุ่มเมฆกัมมันตรังสีขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือน่านฟ้าแถบยุโรปเหนือ
หลังเกิดเหตุ มีการบันทึกได้ว่า เกิดฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ (fall-out) ปริมาณมากกว่า การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ถล่มฮิโรชิมาเมื่อปี 1945 ผู้คนนับแสนต้องอพยพหนีตาย จากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศระบุว่า เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้อยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
- เมษายน 1993 : โรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงลับใน เขตตอมสค์-7 ทางตะวันตกของไซบีเรียได้ปล่อยกลุ่มก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งประกอบไปด้วยยูเรเนียม-235 พลูโตเนียม-237 และวัสดุฟิสไซล์ หรือวัสดุธาตุนิวเคลียร์ออกมา ทว่า ไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนผู้บาดเจ็บ ล้มตาย
- พฤศจิกายน 1995 : มีการรายงานเหตุปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงในเมืองเชอร์โนบิลอีกครั้ง ระหว่างการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ตัวหนึ่ง แม้มีความพยายามปกปิดเรื่องดังกล่าว แต่ในที่สุดก็ข่าวก็แดงออกมา
- 11 มีนาคม 1997 : การทดลองในโรงงานนิวเคลียร์ เมืองโทไกมูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ต้องหยุดชะงัดชั่วคราว เมื่อเกิดเหตุระเบิด และเพลิงไหม้ ซึ่งมีผู้เคราะห์ร้ายปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี 37 คน
- 30 กันยายน 1999 : มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากอุบัติเหตุในโรงงานผลิตยูเรเนียม เมืองโทไกมูระ ญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่อุบัติภัยเชอร์โนบิล สาเหตุครั้งนี้เกิดจากเจ้าหน้าที่เติมยูเรเนียมลงในถังตกตะกอนมากเกินไป จากความมักง่าย เพื่อต้องการประหยัดเวลา
ทั้งนี้ มีการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า มีผู้ปนเปื้อนสารพิษมากกว่า 600 คน รัฐบาลสั่งให้ประชาชนอีกกว่า 320,000 คนห้ามออกจากบ้านมากกว่า 1 วัน เจ้าหน้าที่ 2 คน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาเสียชีวิตอย่างน่าอเนจอนาถที่โรงพยาบาลในอีก 3 เดือน และ 6 เดือนให้หลัง
- 9 สิงหาคม 2004 : คนงาน 4 คนเสียชีวิต และอีก 7 คนถูกเพลิงไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการรั่วไหลไอน้ำที่ไร้สารกัมมันตภาพรังสี ในโรงงานนิวเคลียร์มิฮามะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว 350 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งในสามตัวของโรงงานหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น ก่อนที่ความร้อนสูงจะรั่วไหลจนอาจทำให้แกนกลางหลอมละลาย อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นภัยนิวเคลียร์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของญี่ปุ่น
วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554
เตือนไทยสุดเสี่ยง หลังสึนามิถล่มญี่ปุ่นโลกเข้าสู่ภัยพิบัติ หาดพัทยา - อันดามันจม!!
|
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)