วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ย้อนประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย: การเตรียมพร้อมอนาคต

ย้อนประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย: การเตรียมพร้อมอนาคต


หากเราเรียนรู้ธรรมชาติกรณีแผ่นดินไหว และได้รับทราบถึงมาตรการการป้องกันภัย การป้องกันตัวเอง การรู้จักแผ่นดินไหวให้มากขึ้น เราจะไม่แตกตื่นและตกใจเหมือนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งหากเกิดรุนแรงกว่านี้ ผมคิดว่าจะต้องจ้าละหวั่นและต้องเกิดอุบัติเหตุกันมากกว่านี้แน่นอน ซึ่งต้องยอมรับว่าในประเทศญี่ปุ่นถือเป็นต้นตำหรับของการป้องกันภัยด้านแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งในช่วงท้ายผมจะนำข้อมูลการเตรียมตัวเผชิญแผ่นดินไหวมาให้ท่านผู้อ่านครับ

ถึงขณะนี้ ผมขอเสนอว่าต้องจัดเอาภัยแผ่นดินไหว เป็นวาระสำคัญที่ผู้บริหารประเทศ ตลอดจนผู้บริหารเมือง ท้องถิ่นและประชาชนทุกคนต้องให้ความสำคัญ ไม่น้อยกว่าภัยธรรมชาติอื่น ๆ เพราะสัญญาณที่ส่งออกมาในเรื่องความถี่มีสูงขึ้น เมืองใหญ่ ๆ หัวเมืองที่มีตึกสูงมาก ๆ ต้องให้ความสนใจ ใส่ใจมากเป็นพิเศษ ถึงแม้ว่าในข้อมูลทางวิชาการประเทศไทยจะไม่มีแนวการไหวสะเทือนพาดผ่านเหมือนกับประเทศอินโดนีเซียและพม่า ซึ่งมีแนวเลื่อนขนาดใหญ่พาดผ่านตามแนวขอบเพลต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นได้ เนื่องจากมีรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง (Active fault) ที่ยังมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา

ตลอดจนเราไม่สามารถประเมินความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดจากประเทศเพื่อนบ้านแล้วส่งผลกระทบมายังประเทศไทย ซึ่งกรณีเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมาพิสูจน์ได้ดี

อย่างไรก็ตามผมขอนำข้อมูลประวัติศาสตร์การเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมาให้ท่านผู้อ่านทราบเพื่อจะได้เป็นสถิติเปรียบเทียบ และเป็นฐานข้อมูลดูเพราะว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อไร ขนาดความรุนแรงเท่าใด ณ จุดไหนได้ แต่การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อป้องกันและเตรียมการสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นสิ่งที่ทำได้ครับ

สมัยก่อนสุโขทัย (ก่อน พ.ศ.1781)

  • เมืองแถน (เมืองเดียนเบียนฟูในเวียดนามเหนือ)

  • หริภุญไชย (ลำพูน) พ.ศ.500 พระมหาปราสาทโอนไปเป็นหลายที

  • โยนกนคร พ.ศ.480, 481, 510, 515, 1003, 1077

พ.ศ.1003

....สุริยะอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั่งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแล แล้วก็หายไปครึ่งหนึ่ง ครั้นถึงมัชฌิมยามก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงบัวฉิมยาม ก็ซ้ำดังมาเป็นคำรบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งทุกคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่

สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1893)

“.......เมียพญาลิไทตั้งจิตอธิษฐานออกผนวชมีจารึกว่า อธิษฐานดังนี้แล้ว จึงรับสรณาคมต่อพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นแผ่นดินไหวทั่วทุกทิศเมืองสุโขทัย ครั้นทรงผนวชแล้ว เสด็จลงมาจากพระมหาสุวรรณเหมปราสาท ทรงไม้เท้าจรดจรดลด้วยพระบาทสมเด็จพระราชดำเนินไปป่ามะม่วง ขณะประดิษฐานฝ่าพระบาทลงยังพื้นธรณี ปฐพีก็หวั่นไหวทั่วทุกทิศหินสาธาเข้าพรรษาวันนั้นจึงเสด็จออกเสวยพระโชรศ ขณะนั้นไม่ควรเลยสรรพ ไม่เสบยเสพยนานาอากาศดาษ สุริยะเมฆาจันทร์ปรายต์กับดาราฤกษ์ทั้งปวงยิ่งกว่าทุกวันด้วยฉะนั้น จึงเสด็จบรรพชาเป็นภิกษุในระหว่างพัทธสีมานั้น ขณะนั้นนาคราชตนหนึ่งอยู่โดยบุรพทิศเมืองสุโขทัยนั้น ยกพังพานขึ้นสูงพันคน แปรตาไปเฉพาะป่ามะม่วงนั้น เห็นรอยผลุดพลุ่งกลางอากาศลงต่อแผ่นดิน อนึ่งเวลานั้นได้ยินเสียงระฆังดนตรีดุริยางค์ ไพเราะใกล้โสตสของชนเป็นอันมาก จะพรรณานับมิได้ แต่บรรดามหาชนที่มาสโมสรสันนิบาตในสถานที่นั้น ย่อมเห็นการอัศจรรย์ประจักษ์ทุกคน เหตุด้วยเสด็จออกทรงบำเพ็ญพระบารมี เมื่อทำอัษฎางติกศีล เมื่อฤดูคิมหันต์ไม่มีฝน ด้วยอำนาจศีลและความอธิษฐานพระบารมีด้วย ปถวีก็ประวัติกัมปนาทหวาดหวั่นไหว เพทธาราวิรุณหกก็ตกลงมาในฤดูแล้ง แสดงอัศจรรย์สรรเสริญในการสร้างพระบารมี.......”

  • สุโขทัย พ.ศ.1860 สมัยพญาลิไท

  • สุโขทัย พ.ศ.1905, 1909

  • เชียงใหม่ พ.ศ.2025,พ.ศ. 2088 ยอดเจดีย์หลวงสูง 86 เมตร พังลงมาเหลือ 60 เมตร

  • อยุธยา พ.ศ.2048, 2070, 2089, 2127, 2131, 2132, 2228

  • น่าน พ.ศ.2103เจดีย์หลวง สูง 17 วา กว้าง 10 วา หักพังลง

  • ย่างกุ้ง, พม่า พ.ศ.2111, 2172พระเจดีย์เมืองร่างกุ้งเกิดความเสียหาย

  • เชียงใหม่ พ.ศ.2088ยอดเจดีย์หลวงสูง 86 เมตร พังลงมาเหลือ 60 เมตร

สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2311)

  • กำแพงเพชร พ.ศ.2127

  • เชียงแสน พ.ศ.2247, 2258, 2260 พ.ศ.2258 พระเจดีย์วิหารหักพังทลาย 4 ตำบล

  • หงสาวดี, พม่า พ.ศ.2300 ฉัตรยอดพระเจดีย์มุตางหักลงมา

สมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ.2311-2325)

  • กรุงเทพฯ พ.ศ.2311, 2312

  • เชียงใหม่ พ.ศ.2317

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-ปัจจุบัน)

  • สมัยรัชกาลที่1 - หลวงพระบาง พ.ศ.2335 น่าน พ.ศ.2336, 2342, 2344

  • สมัยรัชกาลที่2 - มณฑลยูนาน พ.ศ.2367 ประชาชนชาวจีนเสียชีวิต 2,000 คน ,น่าน พ.ศ.2363 ยอดมหาธาตุเจ้าภูเวียงแช่แห้ง ก็หักลงห้อยอยู่

  • สมัยรัชกาลที่3 กรุงเทพฯ พ.ศ.2375, 2376, 2378 น้ำในแม่น้ำกระฉอกออกมา, พม่า พ.ศ.2382

  • สมัยรัชกาลที่4 กรุงเทพฯ พ.ศ.2417

  • สมัยรัชกาลที่5 กรุงเทพฯ พ.ศ.2429, 2430 น่าน พ.ศ.2422

  • สมัยรัชกาลที่6 กรุงเทพฯ พ.ศ.2455

  • สมัยรัชกาลที่7 กรุงเทพฯ, อยุธยา, จันทบุรี, พิษณุโลก, ราชบุรี, ปราจีนบุรี พ.ศ.2473ศูนย์กลางอยู่ประมาณเมืองพะโค, พม่า

ตำแหน่งเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย

  • บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสะโตง ตอนกลางของประเทศพม่า

  • บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศพม่า-ลาว-จีน และไทย

  • ทะเลอันดามัน หมู่เกาะอันดามัน-นิโคบาร์

  • พื้นที่ครอบคลุมภาคทะเลอันดามัน เกาะสุมาตรา แผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำหรับ รอยเลื่อนมีพลัง หรือ Active Fault ในปัจจุบันมีดังนี้ครับ

  • รอยเลื่อนเชียงแสน ความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร เริ่มต้นจากแนวร่องน้ำแม่จันไปทางทิศตะวันออก ผ่านอำเภอแม่จัน แล้วตัดข้ามด้านใต้ของอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวลำน้ำเงิน ทางด้านเหนือของอำเภอเชียงของ

  • รอยเลื่อนแม่จัน ยาวประมาณ 130 กม. ตั้งแต่ปี 2521 ขนาด >3 ริคเตอร์ เกิดตามแนวรอยเลื่อนนี้ 10 ครั้ง / 3 ครั้งมีขนาด >4.5 ริคเตอร์ โดยเฉพาะวันที่ 1 กันยายน 2521 มีขนาด >4.9 ริคเตอร์

  • รอยเลื่อนแพร่ เริ่มต้นจากด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเด่นชัย ผ่านไปทางด้านตะวันออกของอำเภอสูงเม่น และจังหวัดแพร่ ไปจนถึงด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอร้องกวาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 115 กิโลเมตร รอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขนาด 3.4 ริคเตอร์ มากกว่า 20 ครั้ง ล่าสุด ขนาด 3 ริคเตอร์ เมื่อ 10 กันยายน 2533

  • รอยเลื่อนแม่ทา เป็นรูปโค้งตามแนวลำน้ำแม่วัง และแนวลำน้ำแม่ทาในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 55 กิโลเมตร การศึกษาอย่างละเอียดเฉพาะ ในปี 2521 มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่หลายครั้ง

  • รอยเลื่อนเถิน อยู่ทางทิศตะวันตกของรอยเลื่อนแพร่ ตั้งต้นจากด้านตะวันตกของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอเถินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ขนานกับรอยเลื่อนแพร่ไปทางด้านเหนือของอำเภอวังชิ้น และอำเภอลอง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 90 กิโลเมตร 23 ธันวาคม 2521 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 3.7 ริคเตอร์

  • รอยเลื่อนเมย-อุทัยธานี ตั้งต้นจากลำน้ำเมยชายเขตแดนพม่ามาต่อกับห้วยแม่ท้อและลำน้ำปิงใต้จังหวัดตาก ต่อลงมาผ่านจังหวัดกำแพงเพชร และนครสวรรค์ จนถึงเขตจังหวัดอุทัยธานี รวมความยาวกว่า 250 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2476 ไม่ทราบขนาด 23 กุมภาพันธ์ 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์

  • รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ อยู่ในลำน้ำแควน้อยตลอดสาย และต่อไปจนถึงรอยเลื่อนสะแกง (Sakaing Fault) ในประเทศพม่า ความยาวของรอยเลื่อนในประเทศไทยกว่า 250 กิโลเมตร ตามลำน้ำแควน้อย และต่อเข้าไปเป็นรอยเลื่อนสะแกง ในประเทศพม่า เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็ก หลายพันครั้ง

  • รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ อยู่ทางด้านตะวันตกของรอยเลื่อนเมย - อุทัยธานีในร่องน้ำแม่กลองและแควใหญ่ ตลอดขึ้นไปจนถึงเขตแดนพม่า รวมความยาวทั้งหมดกว่า 500 กิโลเมตร รอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีแผ่นดินไหวขนาดเล็กเกิดขึ้นหลายร้อยครั้ง ขนาดใหญ่ที่สุด 5.9 ริคเตอร์ เมื่อ 22 เมษายน 2526

  • รอยเลื่อนระนอง ตามแนวร่องน้ำของแม่น้ำกระบุรี ความยาวทั้งสิ้นประมาณ 270 กิโลเมตร 30 กันยายน 2521 มีขนาด 5.6 ริคเตอร์

  • รอยเลื่อนคลองมะลุ่ย รอยเลื่อนคลองมะรุย ตัดผ่านด้านตะวันออกของเกาะภูเก็ต เข้าไปในอ่าวพังงา ตามแนวคลองมะรุย คลองชะอุน และคลองพุมดวงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งไปออกอ่าวบ้านดอน ระหว่างอำเภอพุนพินกับอำเภอท่าฉาง รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 150กิโลเมตรมีรายงานเกิดแผ่นดินไหว 16 พฤษภาคม 2476- 7 เมษายน 2519 - 17 สิงหาคม 2542 -29 สิงหาคม 2542

ส่วนสถิติแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจวัดโดย กรมอุตุนิยมวิทยา มีขนาดอยู่ในระดับเล็กถึงปานกลาง (ไม่เกิน 6.0 ริคเตอร์) หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่พอก็จะส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่อสิ่งก่อสร้างใกล้ศูนย์กลาง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 17 ก.พ. 2518 ขนาด 5.6 ริคเตอร์บริเวณ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 15 เม.ย. 2526 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เม.ย. 2526 ขนาด 5.9 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 22 เม.ย. 2526 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 11 ก.ย. 2537 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พาน จ.เชียงราย

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 9 ธ.ค. 2538 ขนาด 5.1 ริคเตอร์ บริเวณ อ.ร้องกวาง จ.แพร่

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 21 ธ.ค. 2538 ขนาด 5.2 ริคเตอร์ บริเวณ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

  • แผ่นดินไหวเมื่อ 22 ธ.ค. 2539 ขนาด 5.5 ริคเตอร์ บริเวณพรมแดนไทย-ลาว

  • เหตุการณ์แผ่นดินไหวรู้สึกได้ในประเทศไทย (2542 - สิงหาคม 2543)

  • 31 ส.ค. 2542 ใกล้พรมแดนไทย - ลาว ขนาด 4.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.น่าน

  • 3 เม.ย. 2542 ใกล้พรมแดนไทย - พม่า ขนาด 3.2 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อ.เชียงแสน จ. เชียงราย

  • 29 มิ.ย. 2542 ในประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงราย

  • 15 ส.ค. 2542 ตอนใต้ของประเทศพม่าขนาด 5.6 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.เชียงใหม่

  • 17 ส.ค.2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา

  • 29 ส.ค. 2542 บริเวณทะเลอันดามันขนาด 2.1 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.ภูเก็ตและพังงา

  • 20 ม.ค. 2543 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ขนาด 5.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่
    จ.น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย มีความเสียหายที่ จ.น่านและแพร่

  • 14 เม.ย. 2543 ที่พรมแดนลาว - เวียดนาม ขนาด 4.9 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ จ.สกลนคร

  • 29 พ.ค. 2543 บริเวณอ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ขนาด 3.8 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่ อำเภอเมือง อ.สันกำแพง และ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

  • 7 ส.ค. 2543 บริเวณพรมแดนไทย - พม่าขนาด 3.0 ริคเตอร์ รู้สึกได้ที่บริเวณอำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน

สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ

1. เกิดจากธรรมชาติ (NATURAL EARTHQUAKE)

2. เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY)

แผ่นดินไหวที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (INDUCED SEISMICITY)

- การเก็บกักน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่

- การทดลองระเบิดปรมาณู/ระเบิดนิวเคลียร์

- การระเบิดจากการทำเหมืองแร่

- การสูบน้ำใต้ดินมาใช้มากเกินไป

- การผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

- การเก็บขยะนิวเคลียร์ใต้ดิน

ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย

ข้อมูลทางธรณีวิทยารายงานว่า สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย เกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่มีแหล่งกำเนิดจากภายนอกประเทศ ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย โดยมีแหล่งกำเนิดบริเวณตอนใต้ของประเทศจีน พม่า ลาว ทะเลอันดามัน ตอนเหนือของเกาะสุมาตรา โดยบริเวณที่จะรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้แก่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพฯ

โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยแผ่นดินไหวสูงในประเทศไทย ได้แก่

1. บริเวณอยู่ใกล้แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ตามแนวรอยเลื่อนทั้งภายในและภายนอกประเทศ ส่วนใหญ่อยู่บริเวณภาคเหนือและตะวันตก

2. บริเวณที่เคยมีประวัติหรือสถิติแผ่นดินไหวในอดีตและมีความเสียหายเกิดขึ้น จากนั้นเว้นช่วงการเกิดแผ่นดินไหวเป็นระยะเวลานานๆ จะมีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหว ที่มีขนาดใกล้เคียงกับสถิติเดิมได้อีก

3. บริเวณที่เป็นดินอ่อนซึ่งสามารถขยายการสั่นสะเทือนได้ดี เช่น บริเวณที่มีดินเหนียวอยู่ใต้พื้นดินเป็นชั้นหนา บริเวณที่ลุ่มหรืออยู่ใกล้ปากแม่น้ำ เป็นต้น โดยเฉพาะแถบจังหวัดนนทบุรี อยุธยา ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา เนื่องจากชั้นดินมีความอ่อนตัวมากกว่าแถบอื่น

สมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ชี้ให้เห็นว่า ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่แนวตะเข็บของเปลือกโลกที่เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีโอกาสที่จะขยับตัวได้ แต่ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวเมื่อไร และจากการสำรวจทำแผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในปี 2548 ของกรมทรัพยากรธรณี พบว่ามี 4 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยมากที่สุด คือ กาญจนบุรี ตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงราย โดยมีความเสี่ยงที่ 7-8 เมอร์คัลลี่ เพราะเป็นพื้นที่ใกล้รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ที่สำคัญ ผลกระทบอาจทำให้อาคารที่มั่นคงตามปกติเสียหายได้

ส่วนจังหวัดรองลงมา ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือและภาคใต้ อาทิ สุราษฎร์ธานี พังงา กระบี่ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ลำปาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร โดยจะมีความเสี่ยงที่ 5-7 เมอร์คัลลี่ ซึ่งจะทำให้อาคารที่สร้างอย่างมั่นคงตามปกติเสียหายเล็กน้อย ส่วนที่ปลอดภัยมากที่สุด คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ขนาดของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา (Magnitude)มาตราริคเตอร์

ขนาด ความสั่นสะเทือน

1 - 2.9 สั่นไหวเล็กน้อย

3 - 3.9 ผู้คนในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

4 - 4.9 สั่นไหวปานกลาง ผู้คนทั้งในและนอก

อาคารรู้สึก วัตถุห้อยแขวนแกว่งไกว

5 - 5.9 สั่นไหวรุนแรง เครื่องเรือน วัตถุมีการเคลื่อนที่

6 - 6.9 สั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มพังเสียหาย

7.0 ขึ้นไป สั่นไหวร้ายแรง อาคารพังเสียหายมาก

แผ่นดินแยก วัตถุถูกเหวี่ยงกระเด็น

ขนาดตามมาตราริคเตอร์ ถ้าค่าต่างกัน 1 ระดับจะมีพลังงานต่างกัน 31 เท่า กล่าวคือ ระดับ 4 จะมีระดับความสั่นสะเทือนเสียหายมากกว่าระดับ 3 ถึง 31 เท่า แผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยวัดได้ คือ ขนาด 9 ริคเตอร์

ลักษณะการเกิดแผ่นดินไหว

การเกิดแผ่นดินไหวจะประกอบด้วยการสั่นสะเทือนที่มีขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Mainshocks หนึ่งครั้ง ติดตามด้วยการสั่นสะเทือนเล็กๆ อีกหลายครั้งที่เรียกว่า Aftershocks

ในบางครั้งอาจมีการสั่นสะเทือนเล็กๆ เกิดขึ้นก่อนหน้า เรียกว่า Foreshocksการสั่นสะเทือนเป็นระลอกดังกล่าว อาจเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่กี่วินาที จนถึงหลายวันได้ คลื่นแผ่นดินไหว (Seismic wave)แบ่งเป็น 3 ประเภท

(1.) P-waves หรือ Primary waves (คลื่นปฐมภูมิ)

(2.) S-waves หรือ Secondary waves (คลื่นทุติยภูมิ)

(3.) Surface waves (คลื่นพื้นผิว)

การป้องกันและการปฏิบัติตน

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

  • ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน

  • ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

  • ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น

  • ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า

  • อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้

  • ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

  • ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง

  • สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว

ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

  • อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน

  • ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง

  • หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้

  • ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง

  • อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

  • ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด

  • ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว

  • หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว

  • ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

  • ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

  • ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง

  • ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

  • ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน

  • ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง

  • เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ

  • สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้

  • อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง

  • อย่าแพร่ข่าวลือ

    แหล่งอ้างอิง

    1. http://earthquake.usgs.gov

    2. http://www.tmd.go.th/knowledge/know_earthquake01.html

    3. http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/EQthaiHAZARD.htm

    4. พิษณุพงศ์ กาญจนพยนต์ภาควิชาธรณีวิทยาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    5. วัฒนา คำคม กลุ่มงานวิชาการวิศวกรรมธรณีส่วนวิศวกรรมธรณี สำนักสำรวจด้านวิศวกรรมและธรณีวิทยา

    6. โครงการสร้างเสริมความรู้เพื่อบรรเทาภัยแผ่นดินไหวภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ****************

โดย อาคม

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รอยเลื่อน บางพระ ชลบุรี

ผอ.สำนักธรณีวิทยาเตือนว่า

ในเมืองไทยพื้นที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยง เกิดแผ่นดินยุบตัว
หลังเกิดแผ่นดินไหว มีมากถึง 49 จังหวัด
จังหวัดที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินยุบสูงมี 23 จังหวัด ได้แก่
กาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สระแก้ว
ขอนแก่น นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน
สุโขทัย ฉะเชิงเทรา น่าน ระนอง สุราษฎร์ธานี ชัยนาท
ปราจีนบุรี ราชบุรี อุดรธานี ชุมพร
พะเยา ลำปาง อุทัยธานี เชียงใหม่ พัทลุง และ เลย


รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย วิศวกรโครงสร้าง ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว
จากคณะวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที)
หัวหน้าคณะวิจัยในโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของประเทศไทย
(ระยะที่ 1) บอกว่า

ผลของแผ่นดินไหวของจีน ซึ่งมีแรงสั่นสะเทือนไปทั่วแผ่นดิน
อาจก่อให้เกิดแผ่นดินถล่มในบริเวณที่มีความลาดชัน
ส่งผลให้มวลดินหรือแผ่นหินเลื่อนไถลลงมายังพื้นที่ราบ
หรืออาจเกิดภาวะแผ่นดินยุบ ซึ่งคนไทยมักเรียกกันว่าธรณีสูบขึ้นได้

ในเมืองไทยโอกาสที่จะเกิด "แผ่นดินยุบ" เป็นหลุมกว้าง
หลังเกิดแผ่นดินไหว ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของเพดานโพรงหินปูน
ซึ่งอยู่ใต้ผิวดินแต่ละบริเวณ

ส่วนโอกาสที่จะเกิด "แผ่นดินถล่ม" ในเมืองไทย
ดร.เป็นหนึ่งบอกว่า ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก 2 อย่าง คือ
ชั้นดินซึ่งอยู่ใต้บริเวณนั้นอ่อนไหว
และพื้นที่บริเวณนั้นมีความลาดเอียง เช่น บริเวณที่ราบสูงต่างๆ
ทั้ง 2 กรณี อาจทำให้ก้อนธรณีหรือมวลดินมหึมาทรุดตัวลงมา
ยิ่งถ้าเกิดขึ้นบริเวณริมถนนหรือชุมชน ซึ่งมีสิ่งปลูกสร้างหนาแน่น
ถือว่าอันตราย

เขาบอกว่า กรณีแผ่นดินถล่มในบ้านเรา มีความเสี่ยงพอสมควร
แต่ยังไม่มีใครกล้าออกมาชี้ชัดได้ว่า บริเวณไหนบ้างมีความเสี่ยง
เพราะยังไม่มีใครศึกษาปัญหานี้จริงจัง

แต่ปัญหาเฉพาะหน้าที่น่าเป็นห่วงกว่าและหลายคนมองข้าม
ก็คือผลของแผ่นดินไหวที่มีต่ออาคารซึ่งถูกต่อเติมหรือก่อสร้างผิดแบบ

"เรามักจะย่ามใจกันว่า
ดูจากประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในเมืองไทย ที่ผ่านมามักจะไม่รุนแรง
และมักเกิดตามรอยเลื่อนที่สำคัญ เช่น ในภาคเหนือ เคยมีแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ริกเตอร์ เกิดขึ้น 8 ครั้ง ในรอบ 30 ปีมานี้"

"แต่หารู้ไม่ว่า แผ่นดินไหวขนาดกลางเพียง 5 ริกเตอร์กว่าๆ
ซึ่งคิดกันว่าไม่น่าอันตราย เป็นความเข้าใจผิดมหันต์
เพราะหากศูนย์กลางการเกิด อยู่ที่ภาคเหนือ หรือแถวกาญจนบุรี
ซึ่งยังมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่ จะก่อความเสียหายอย่างมโหฬาร
เพราะมีรัศมีการทำลายที่อาจแผ่กว้างไปไกลถึง 20 กิโลเมตร"

ดร.เป็นหนึ่งบอกว่า
เรามักสนใจแต่เพียงว่ารอยเลื่อนหรือรอยแตกของแผ่นเปลือกโลก
ซึ่งมีการเคลื่อนตัวได้และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว
มีอยู่ 2 แบบหลักๆ

แบบแรก รอยเลื่อนที่ตายแล้ว (ไม่มีพลัง)
ส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสาน และภาคใต้ของไทย

อีกแบบ รอยเลื่อนที่ยังไ ม่ตาย (มีพลัง)
อยู่ในภาคเหนือ และภาคตะวันตก


"เราคิดว่ารอยเลื่อนพวกนั้นอยู่ไกลตัว และในรัศมีใกล้ กทม.
ไม่มีแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว แต่หารู้ไม่ว่า ยังมีความเสี่ยง จ่อคอหอย
เพราะระยะห่างจาก กทม.โดยรอบ 200-400 กม. มีรอยเลื่อนใหญ่อันดามัน
ซึ่งอาจเกิดแผ่นดินไหวได้รุนแรงถึง 8 ริกเตอร์
และรอยเลื่อนย่อยที่กาญจนบุรี
มีโอกาสเกิดได้เกิน 7 ริกเตอร์"



"คุณรู้มั้ย ถ้าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 7 ริกเตอร์กว่า
ที่เมืองกาญจน์ อาคารสูง ที่มีโครงสร้างอ่อนแอในกรุงเทพฯ
มีโอกาสโยกไหวรุนแรง
ดร.เป็นหนึ่งบอกว่า แม้ "แผ่นดินยุบ" และ "แผ่นดินถล่ม"
สร้างความน่าสะพรึงให้แก่ผู้อยู่ในบริเวณที่ล่อแหลม
แต่เมื่อเทียบระดับความน่าสะพรึงกันแล้ว
ทั้งรอยเลื่อนใหญ่ในทะเลอันดามัน
และรอยเลื่อนแขนงที่ จ.กาญจนบุรี
เปรียบเสมือนระเบิดเวลากลางเมืองกรุงที่น่าสะพรึงกว่า

สามรอยเลื่อนใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวโดยจากการสำรวจแนวรอยเลื่อนในไทย พบว่า
มีรอยเลื่อนที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว
ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่มากที่สุด คือ

หนึ่ง รอยเลื่อนมูลาว พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว
และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร

สอง รอยเลื่อนดอยหมอก พาดผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้
มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร

และสามรอยเลื่อนแม่งัด พาดผ่านอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32กิโลเมตร

สิ่งที่เราน่าติดตามและเฝ้าระวังก็คือ รอยเลื่อนแขนงต่างๆ ที่อยู่ในระนาบเดียวกัน ตั้งแต่ชวา เกาะสุมาตรา อันดามัน ไปจนถึงพม่า ซึ่งล่าสุดแรงสั่นสะเทือนนั้นได้พาดผ่านตามแนวมุดยาวขึ้นมาทางเหนือ


เป็นไปได้ว่า หากแนวมุดเกิดขยับขึ้นไปเชื่อมกับรอยเลื่อนสะแกงในพม่า
ก็จะมีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 8 ริคเตอร์
ซึ่งมีพลังมหาศาลเทียบเท่าปรมาณูเป็นพันๆ ลูก

และในอนาคต อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทย
ตั้งแต่ฝั่งทะเลอันดามันทางตะวันตก
ยาวไปจนถึงภาคเหนืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขณะนี้นักธรณีวิทยาหลายคนกังวลว่า
นอกจากกลุ่มรอยเลื่อน 6 กลุ่มที่ต้องเร่งศึกษาความเสี่ยงแล้ว
ยังพบว่าพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เองก็มีความเสี่ยง


เนื่องจากผลการศึกษาระยะที่ 1 โดยใช้ข้อมูลธรณีฟิสิกส์ทางอากาศ
พบว่ามีรอยแขนงที่แตกออกจากรอยเลื่อนด่านเจดีย์สามองค์
พาดผ่านเข้ามาทางพื้นที่ตอนใต้ของ กทม.
คือบริเวณ จ.สมุทรปราการ และวกเข้าไปใน จ.ชลบุรี


น่าเป็นห่วงว่าหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่หรือแม้แต่ระดับปานกลาง
จะกระทบกับพื้นที่กทม.อย่างมาก เพราะเป็นดินอ่อน
ที่สามารถขยายคลื่นความสั่นสะเทือนให้แรงเหมือนกับการหมุนวิทยุ
ให้เสียงดังขึ้น ทำให้เพิ่มความแรงได้มหาศาล

"รอยเลื่อนที่น่าจะเป็นส่วนต่อของรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ยังไม่มีการศึกษาอย่างละเอียด มีเพียงบางท่อนที่ยังมีพลังอยู่ใกล้กับพื้นที่ไทรโยค
ศรีสวัสดิ์ และทางตอนใต้ของเขื่อนเขาแหลม มีแนวโน้มการมีพลังสูงมาก


รอยเลื่อนนี้ที่พาดผ่านจากชายแดนพม่า แขนงของมันจะต่อเลยจากด่านเจดีย์เข้ามาถึงทางใต้ของ กทม.
คือ บริเวณ จ.สมุทรปราการ ห่างจาก กทม.ประมาณ 25 กิโลเมตร
และอีกแขนงไปยัง อ.องครักษ์ จ.นครนายก
อีกแขนงไปยังบริเวณแม่น้ำท่าจีน จังหวัด นครปฐม



ในส่วนประเทศไทยมีถึง 13 รอยเลื่อน
ที่อันตรายที่สุดก็มี 2 จุดที่น่าเป็นห่วง
ที่แรกคือตรงรอยเลื่อนเจดีย์ 3 องค์ กับอีกที่คือรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
เพราะทั้งสองจุดนี้ยังมีพลังอยู่และอยู่ใกล้เขื่อนศรีนครินทร์
และเขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเราเป็นห่วง

แต่ปัญหาคือการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่ออกมาประกาศว่า
เขื่อนศรีนครินทร์แข็งแรงมาก สามารถทนแรงแผ่นดินไหวได้ 7 ริกเตอร์

แต่การยืนยันเช่นนั้นมันแสดงให้เห็นว่า การก่อสร้างไม่ได้ทำเผื่อแผ่นดินไหวที่รุนแรงมากกว่านี้ เพราะอย่าประมาทว่าเมืองไทยจะแผ่นดินไหวแค่ 7 ริกเตอร์ หากมันเกิดรุนแรงกว่านั้น เขื่อนก็อาจจะแตก เพราะระหว่าง 8 ริกเตอร์กับ 7 ริกเตอร์ ความรุนแรงมันมากกว่ากันถึง 33 เท่า

ฉะนั้นถ้าการไฟฟ้าออกมาบอกโดยไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์มันไม่ได้
เพราะรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์กับรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
เป็นแขนงหนึ่งของรอยเลื่อนสแกงซึ่งอยู่ในพม่า
แล้วรอยเลื่อนสแกงเคยเกิดแผ่นดินไหวถึง 8 ริกเตอร์ เมื่อ 74 ปีที่แล้ว

การสร้างเขื่อนนั้นหมายถึงการสร้างสิ่งก่อสร้างที่ขวางทางน้ำ
ซึ่งตั้งสมมติฐานได้เลยว่า เส้นทางน้ำนั้นก็คือเป็นแนวที่วิ่งสอดคล้องกับรอยเลื่อนแผ่นดินไหวทางเดียวกันมาก่อน


ลำห้วยลำน้ำนั้น เกิดจากการเคลื่อนที่เป็นร่องเป็นหุบเขามาก่อน
ที่จะเกิดลำน้ำ และเขื่อนนั้นมาทีหลัง

ดังนั้น ทุกฝ่ายต้องมาคุยกัน ต้องเอาข้อมูลบนพื้นฐานความจริง
มาวางแผนร่วมกัน โดยควรมีการเร่งตรวจสอบโครงสร้างของเขื่อน
ว่ามีมาตรฐานแข็งแรงหรือไม่

และควรมีการติดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่บริเวณที่มีเขื่อนที่อยู่ในรอยเลื่อนทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่เขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี และการเฝ้าระวังจะต้องมีอย่างต่อเนื่อง

เพราะแผ่นดินไหวนั้นมีการเคลื่อนตัวเป็นพลวัตรต่อเนื่องอยู่แล้ว
สุดท้าย ที่สำคัญที่สุด จะต้องมีการวางมาตรการวางแผนเตรียมตัวอพยพประชาชนที่เสี่ยงภัยออกจากพื้นที่ให้ทัน หากเขื่อนร้าวหรือแตก


กทม. ก็น่าห่วงตึกทรุดหากเกิดแผ่นดินไหว เหตุชั้นดินอ่อน
นอกจากพื้นที่ที่อยู่ในเขตรอยเลื่อนพาดผ่านทางภาคใต้ ฝั่งตะวันตก
ขึ้นไปถึงพม่า จะเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวแล้ว


กรุงเทพฯ เป็นจุดที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เนื่องจากรอยเลื่อนดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อการขยายแรงสั่นสะเทือนของฐานรากซึ่งเป็นดินอ่อน
ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะทำให้โครงสร้างอาคาร ตึกสูงทรุดตัวลงได้


หากดูจากสถิติที่ผ่านมา จะรู้เลยว่า การเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละครั้ง แม้จะอยู่ห่างไกลจากกรุงเทพฯ แต่ส่งผลกระทบรับรู้ได้ อย่างเช่น กรณีล่าสุด
ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง โดยมีศูนย์กลางอยู่ในประเทศจีน


ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศว่าแผ่นดินไหวครั้งนั้น
รู้สึกสั่นสะเทือนได้ในอาคารสูงบางแห่งของกรุงเทพฯ

ทุกวันนี้อาคารสูงส่วนใหญ่ใน กทม.
ไม่มีการออกแบบเพื่อ ต้านทานแผ่นดินไหว
ส่วนในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวในภาคเหนือ
แม้ปัจจุบันมีกฎหมายบังคับให้ออกแบบอาคารสูง รองรับแผ่นดินไหว
แต่ในความเป็นจริงไม่มีใครสนใจปฏิบัติ


ทางออกที่ดีในการล้อมคอก
ก่อนเกิดปัญหาไม่คาดคิด สำหรับอาคารสูงในกรุงเทพฯ
หรือบางจังหวัดในภาคเหนือตอนบน ที่จะสร้างขึ้นใหม่
ควรนำกฎหมายมาบังคับใช้อย่างเข้มงวด
ให้มีการออกแบบโครงสร้างเผื่อรองรับกรณีแผ่นดินไหว


ส่วนอาคารสูงสำคัญหรือมีผู้ใช้งานมาก ที่สร้างขึ้นมาแล้ว
แต่ยังไม่มีระบบรองรับแผ่นดินไหว
แก้ไขได้โดยออกมาตรการบังคับให้เจ้าของอาคาร
เสริมตัวโครงสร้างทั้งคานและเสา โดยใส่เฟรมเหล็กเพิ่มเข้าไป
หรือปรับปรุงเสาและคานบางจุดให้แข็งแรงขึ้น
ไม่ก็ทำเป็นกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก
(คสล.) เข้าช่วยในบางจุด เพื่อลดความอ่อนแอของตัวอาคาร

"
ถ้าคิดจะป้องกันแก้ไขจริงจังตอนนี้ ยังไม่สายเกินไป
แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลย วันหน้าอาจสายเกินแก้
และต้องเสียใจกว่าเหตุการณ์สึนามิ"

เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ มีข่าวว่ามีฝูงคางคกจำนวนมากออกมาที่บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และได้มีผู้พบเห็นไปโพสลงไว้ในเว็บบอร์ดกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งเวลาผ่านไปไม่นาน ผู้ดูแลได้ลบกระทู้ดังกล่าวไป ทำให้เกิดความสงสัยในสมาชิกเว็บกรมอุตุฯเป็นอย่างมากว่าเพราะเหตุใด ผู้ดูแลถึงได้ลบกระทู้ดังกล่าวไป

กระทู้ที่โดนลบ http://www2.tmd.go.th/webboard/show.php?Category=meteorology&No=7823&PHPSESSID=77f2e01c626bea667cdc4ce1c3915570

กระทู้ที่สมาชิกเว็บสอบถามถึงสาเหตุที่ผู้ดูแลลบกระทู้ http://www2.tmd.go.th/webboard/show.php?Category=meteorology&No=7825

จากการค้นคว้าพบว่าบริเวณอ่างเก็บน้ำบางพระ มีน้ำพุร้อนอยู่จำนวน 3 บ่อ ซึ่งทางกรมชลประธารได้ทำประภาคารครอบไว้ ข้อมูลที่พบมีดังนี้

ที่ตั้ง

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ เลขที่ 46/2 หมู่ที่ 5 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ลักษณะธรณีวิทยา

หินดินดาน หินฟิลไลต์ หินทราย อายุไซลูเรียน-ดีโวเนียน

ลักษณะทางกายภาพ

มีจำนวน 3 บ่อ อยู่ใต้อ่างเก็บน้ำบางพระ บ่ออยู่ห่างจากริมขอบของฝั่งออกไปประมาณ 40-50 เมตร ในช่วงที่มีการก่อ สร้างอ่างเก็บน้ำบางพระ ทางกรมชลประทานได้ทำประภาคาร สร้างครอบตัวบ่อไว้

ลักษณะทางเคมี

ไม่มีข้อมูลเนื่องจากไม่สามารถสำรวจได้

และจากรายการนาทีฉุกเฉิน ทาง ททบ.5 ที่พูดถึงเรื่องภัยพิบัติว่า ตอนนี้ภัยพิบัติแรงๆ เริ่มมาแล้ว ถี่ขึ้นมาก แล้วมีการ simulate ตามระดับความแรงของแผ่นดินไหวที่มีต่อ กทม.ยังบอกอีกว่า มีรอยเลื่อน จากกาญจน์ พาดผ่าน กทม ลงมาชลบุรี มาจบลงที่บางพระ (น้ำพุร้อน บางพระ ชลบุรี) จึงเป็นที่มาของสาระน่ารู้ที่นำมาเสนอในครั้งนี้ ซึ่งจริงเท็จประการใด .. โปรดใช้วิจารณญาญในการรับรู้ข้อมูลด้วยตัวท่านเอง



วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เถ้าเขาไฟชิลีเปลี่ยนทิศ! กีวีตื่นดินไหว 5.0 ริกเตอร์


ภูเขาไฟในชิลี ยังคงปะทุรุนแรงปานกลาง ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 แต่กระแสลมเปลี่ยนทิศกลับเข้าสู่ชิลี หวั่นส่งผลกระทบต่อเกษตรกร ขณะ นิวซีแลนด์ระทึกอีก แผ่นดินไหวต่อเนื่องรุนแรง 5.0 ริกเตอร์...

ความคืบหน้าสถานการณ์ในประเทศชิลีหลังภูเขาไฟพูเยเวในเทือกเขาโคลล์ คอร์ดอน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงซันติอาโกไปทางตอนใต้ประมาณ 870 กิโลเมตร เกิดการปะทุเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. พ่นเขม่าควันและขี้เถ้าออกมาเป็นจำนวนมากขึ้นไปในอากาศสูงกว่า 10 กิโลเมตร และส่งผลให้ทางการสั่งอพยพชาวบ้านกว่า 3,500 คน ขณะที่ในประเทศอาร์เจนตินา มีการประกาศภาวะฉุกเฉินที่เมืองพักตากอากาศบาริลอช รวมถึงสั่งปิดสนามบินเป็นการชั่วคราวนั้น

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. อ้างการเปิดเผยของสำนักงานเหตุฉุกเฉินแห่งชาติชิลี ระบุว่าภูเขาไฟพูเยเวยังคงปะทุรุนแรงปานกลาง ต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 อย่างไรก็ตาม กระแสลมในบริเวณได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เขม่าควันเบนทิศจากประเทศอาร์เจนตินากลับเข้าสู่ประเทศชิลี ซึ่งนายซานติอาโก โรซาส นายกเทศมนตรีเมืองลาโก รันโค ประเมินว่ากรณีนี้อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนและเกษตรกรรายย่อยเป็นอย่างมาก ส่วนนายฮวน แอนเดรส วาราส ผู้ว่าการท้องถิ่นของชิลี เผยว่า ถึงทางการจะสั่งอพยพไปแล้วแต่ชาวบ้านบางส่วนยังคงปักหลักอยู่ในพื้นที่เสี่ยง กระนั้นทางการก็เคารพการตัดสินใจของประชาชน

ขณะเดียวกัน แม้การที่กระแสลมเปลี่ยนทิศอาจทำให้ประเทศอาร์เจนตินาได้รับผลกระทบจากขี้เถ้าภูเขาไฟน้อยลง แต่ทางรัฐบาลก็ยังไม่ยกเลิกคำสั่งภาวะฉุกเฉินในเมืองพักตากอากาศบาริลอช คำสั่งปิดสนามบิน รวมถึงคำสั่งปิดพรมแดน ทั้งนี้ รายงานของรัฐบาลชิลีระบุด้วยว่า ในประเทศชิลีมีภูเขาไฟกว่า 3,000 ลูก ซึ่งจำนวนนี้มีประมาณ 500 ลูกที่ยังไม่สงบ


วันเดียวกัน เกิดเหตุแผ่นดินไหวต่อเนื่องรุนแรง 5.0 ริกเตอร์ ห่างจากเมืองไครสต์เชิร์ชประเทศนิวซีแลนด์ไปทางตะวันตก 22 กิโลเมตร ลึกลงไปใต้ดิน 3 กิโลเมตร ในเวลาราว 09.09 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีรายงานข้าวของภายในบ้านเรือนและซุปเปอร์มาร์เกตตกจากชั้นวางแต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ ก่อนหน้านี้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นิวซีแลนด์คาดคะเนว่า ในช่วง 12 เดือนจากนี้ มีโอกาสถึง 1 ใน 4 ที่จะเกิดแผ่นดินไหวระดับรุนแรง 6.0-7.0 ริกเตอร์ ใกล้เมืองไครสต์เชิร์ช

ส่วนที่รัฐอริโซนา ประเทศสหรัฐฯ เหตุไฟป่าที่เผาผลาญพื้นที่กว่า 583 ตารางกิโลเมตรตั้งแต่วันที่ 29 พ.ค. ยังคงลุกลามเป็นวงกว้าง แต่ยังไม่เข้าใกล้พื้นที่ชุมชน ซึ่งนายแจน บรูเวอร์ ผู้ว่าการรัฐอริโซนาเผยในเวลาต่อมาว่า หากไฟเข้าใกล้รัศมี 3 กิโลเมตร ห่างจากชุมชน ก็จะสั่งอพยพทันที อนึ่ง เขม่าควันไฟป่าดังกล่าวยังถูกกระแสลมหอบไปไกลถึงรัฐใกล้เคียงได้แก่ นิวเม็กซิโกและโคโลราโด.

ไทยรัฐออนไลน์

* โดย ทีมข่าวต่างประเทศ

* 7 มิถุนายน 2554, 05:15 น.

'แผ่นดินไหว พายุใหญ่ เชื้ออี.โคไล ถึง ปฏิทินมายัน...' สัญญาณ 'วันสิ้นโลก'


June 6, 2011, 7:23pm

'แผ่นดินไหว พายุใหญ่ เชื้ออี.โคไล ถึง ปฏิทินมายัน...' สัญญาณ 'วันสิ้นโลก'

ยิ่งใกล้วันยิ่งโกลาหลกับปฏิทินวันสิ้นโลกของชนเผ่ามายา ที่ระบุชัดว่า วันที่ “21 ธันวาคม ค.ศ.2012” ที่ถือเป็น วันสุดท้ายตามปฏิทิน 5,125 ปี (Mesoamerican Long Count calendar) ของชนเผ่ามายา ผู้เลื่องชื่อด้านอารยธรรมแห่งอเมริกากลาง

นอกจากนี้ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 พ.ค. ตามสองข้างทางถนนสายต่างๆ เขต อ.เมือง จ.กำแพงเพชร มีป้ายติดอยู่บนยอดไม้เนื้อความระบุว่า “21 พฤษภาคมนี้ แผ่นดินไหวทั่วโลก วันพระเจ้า พิพากษามนุษย์ทุกชาติ คัมภีร์ใบเบิลรับรองเกิดขึ้นแน่นอน

ล่าสุดเครือข่ายวิทยุคริสเตียนในสหรัฐฯ ป่าวประกาศตามคำทำนายของชายชาวอเมริกัน วันที่ 21 พ.ค. เป็นวันสิ้นโลก จนคนแห่บริจาคเงินที่เก็บมาจนสิ้นเนื้อประดาตัว

ตัวอย่างวันโลกแตกข้างต้น แม้จะไม่เกิดเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นจริงๆ แต่ก็สร้างความตื่นหนกให้กับประชาชนอย่างมากมาย และยิ่งไปกว่านั้น ไม่กี่วันมานี่มีข่าวว่ามีโรคสายพันธ์ใหม่ ชื่ออี-โคไล ที่มาปนเปื้อนมาจากผักและผลไม้ ที่ยังถกเถียงกันอยู่ว่าประเทศไหนเป็นตัวแพร่เชื้อ ส่งผลให้คนตายไปอย่างมากมาย สภาวะดินฟ้าอากาศที่ไม่เคยเกิดก็เกิดถี่ขึ้น โรคที่แปลกๆ ก็เริ่มเผยโฉมหน้ามามากมาย

คำถามก็คือ โลกกำลังจะส่งสัญญาณอะไร หรือเรื่องที่หลายคนวิตกว่าโลกำลังจะแตกเป็นเรื่องจริง...?

แนวคิดเรื่องวันสิ้นโลก


เว็บไซต์เกี่ยวกับการทำนายวันสิ้นโลกชื่อดัง อย่าง www.endoftheworld2012.net , www.endworld2012.com และ www.december2012endofworld.com อธิบายว่าในความเป็นจริงแล้วความเชื่อเรื่องวันสิ้นโลกมีอยู่มากมายหลายร้อยหลายพันแนวคิดแตกต่างกันออกไปตามแต่ละเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรม

ทั้งนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่า แนวคิดเรื่องวันสิ้นโลกที่ถูกกล่าวขวัญถึงกันมากที่สุดในช่วงหลายปีมานี้ คงหนีไม่พ้นความเชื่อที่ระบุว่า โลกและมวลมนุษยชาติจะต้องถึงกาลอวสานในวันที่ “21 ธันวาคม ค.ศ.2012” ที่ถือเป็น วันสุดท้ายตามปฏิทิน 5,125 ปี (Mesoamerican Long Count calendar) ของชนเผ่ามายาผู้เลื่องชื่อด้านอารยธรรมแห่งอเมริกากลาง

จนถึงขณะนี้จะยังไม่มีผู้ใดสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ว่า เพราะเหตุใดชนเผ่ามายาจึงต้องกำหนดวันดังกล่าวให้เป็นวันสุดท้ายในปฏิทินของตน

แม้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกพยายามออกมายืนยันผลการศึกษามากมายว่า โลกที่เราอาศัยอยู่ใบนี้จะไม่มีทางดับสูญหรือต้องเผชิญกับหายนะครั้งใหญ่ในปี 2012 อย่างแน่นอน

ขณะที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านอารยธรรมมายาต่างๆ ที่เขียนบทความในอินเตอร์เน็ต ออกมายืนยันว่าไม่เคยมีคำทำนายใดๆเกี่ยวกับวันสิ้นโลก ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่านี้แต่อย่างใดพร้อมย้ำว่า มีความพยายามนำเอาเรื่องจุดสิ้นสุดของปฏิทินมายาไปโยงกับเรื่องเหนือธรรมชาติต่างๆ อย่างไร้เหตุผล

เหตุของการสิ้นโลก

สาเหตุที่อาจนำไปสู่วันสิ้นโลกไม่ว่าปฏิทินของชนเผ่ามายาจะเกี่ยวข้องกับวันสิ้นโลกหรือไม่แต่ความเชื่อเรื่องวันแห่งหายนะนี้ก็ไม่เคยจางหายไป จนถึงขั้นที่มีผู้เชี่ยวชาญ

ตามเว็บไซต์ชื่อดัง (www.endoftheworld2012.net / www.endworld2012.com / และ www.december2012endofworld.com ) ออกมาแบ่งสาเหตุของการเกิดวันสิ้นโลกเอาไว้เป็น 2 ประเภท คือ การเกิดวันสิ้นโลกจากสาเหตุทางธรรมชาติและการเกิดวันสิ้นโลกเพราะน้ำมือของมนุษย์

เท่าที่เคยมีการรวบรวมข้อมูลกันมาหายนะครั้งใหญ่จากสาเหตุทางธรรมชาติที่อาจนำไปสู่วันสิ้นโลกได้นั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น

· -การเปลี่ยนแปลงด้านฟิสิกส์อย่างรวดเร็วฉับพลันของจักรวาล

· -การเคลื่อนตัวของหลุมดำ (black hole ) เข้าใกล้ระบบสุริยจักรวาล

· -การระเบิดของรังสีแกมมาครั้งใหญ่นอกโลก

· -การลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของพลังงานในดวงอาทิตย์

· -การสลับขั้วอย่างฉับพลันของแกนโลกและขั้วแม่เหล็กโลกจากเหนือเป็นใต้-จากใต้เป็นเหนือ

· -การเคลื่อนที่ของระบบสุริยะผ่าน "ฝุ่นผงคอสมิก" ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรุนแรงบนโลก

· -การที่โลกถูกพุ่งชนอย่างรุนแรงจากอุกกาบาตหรือวัตถุอื่นๆในอวกาศ

· -การเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ภูเขาไฟระเบิดครั้งใหญ่ สึนามิครั้งใหญ่

ไม่เว้นแม้แต่ สาเหตุที่ดูไม่ค่อยน่าเชื่อมากนักอย่างการถูกจู่โจมโดย สิ่งมีชีวิตนอกโลกหรือ มนุษย์ต่างดาวนอกจากนี้ สาเหตุหลังของวันโลกแตกอาจจะมาจากน้ำมือของมนุษย์ที่อาจนำไปสู่วันสิ้นโลกได้นั้น มีข้อมูลระบุว่าอาจเป็นการเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่จากพฤติกรรมการกินอยู่หลับนอนแบบเกินพอดีของมนุษย์ การเกิดสงครามนิวเคลียร์ รวมถึง การที่มนุษย์สูญเสียศักยภาพในการควบคุมเครื่องจักรกลและคอมพิวเตอร์จนสิ่งเหล่านี้หันมาลงมือทำร้ายมนุษย์เสียเอง ฯลฯ

แพลเน็ต เอ็กซ์ หรือ นิบิรู

อีกแนวคิดหนึ่งที่พยายามอธิบายถึงวันสิ้นโลกในเดือนธันวาคมปี 2012 นั้น คือ แนวคิดเรื่องดาว "แพลเน็ต เอ็กซ์" หรือ "นิบิรู" พุ่งชนโลก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดหายนะ

ครั้งใหญ่จนมนุษย์ต้องประสบชะตากรรมเดียวกับที่ไดโนเสาร์ต้องสูญพันธุ์มาแล้ว เพราะการพุ่งชนโลกของอุกกาบาตครั้งใหญ่เมื่อยุคอดีต

หลังการค้นพบดาวพลูโต เมื่อปี ค.ศ 1930 หลายฝ่ายเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจมีดาวเคราะห์ดวงอื่นๆที่อยู่ถัดจากดาวพลูโตออกไป ดาวดวงดังกล่าวถูกขนานนามว่า "แพลเน็ต เอ็กซ์" ซึ่งมีผู้เชื่อว่าอาจโคจรเคลื่อนตัวผ่านโลกของเราในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งนับจากนี้จนถึงปี 2012 โดยการเคลื่อนตัวผ่านโลกของ "แพลเน็ต เอ็กซ์" นี้เองที่เชื่อกันว่าจะผลักดันให้เกิดหายนะครั้งใหญ่ขึ้นบนโลก ทั้งการหลอมละลายอย่างฉับพลันของธารน้ำแข็งต่างๆ ทั้งที่ขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ อันจะทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นจนท่วมผืนแผ่นดินของประเทศต่างๆ รวมไปถึงทำให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟทุกแห่งตามแนววงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire) โดยพร้อมเพรียงกัน แทนที่จะเป็นการระเบิดเป็นครั้งคราวตามปกติ

เรื่องข้างต้นก็ยังทิ้งเป็นปริศนาเพราะยังไม่มีใครให้คำตอบได้อย่างชัดเจน...?


สรุปการเคลื่อนตัวของดวงดาวในปี 2011

เมื่อย้อนข้อมูลย้อนไปแล้ว สิ่งที่น่าสนใจก็คือ การเคลื่อนตัวของดวงดาวในปี 2011ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจเพราะมันสอดคล้องกับเหตุการณ์ความวุ่นวาย

เช่น เมื่อเดือนม.ค. และ ก.พ. ดาวอังคารโคจรตกที่ราศีมังกร กุมภ์ และมีน (เช่นต้นปี 2009 และ ต้นปี 2007) โลกจะเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เคยพานพบมาก่อน ทั้งความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอย ปัญหาความขัดแย้งบนคาบสมุทรเกาหลี กระทั่งวันที่ 20 ม.ค. ที่ผ่านมา เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก และเกิดความมึนตึงระหว่างเกาหลีเหนือและใต้ (อนึ่ง สงครามมีแนวโน้มเกิดขึ้นเมื่อดาวอังคารโคจรบรรจบกับราศีมังกร) เดือน.มี.ค.พลังงานเริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยวันที่ 10 มี.ค.ดาวพุธ เคลื่อนที่ตรงกับดาวมฤตยู ในราศีเมษ และตรงข้ามกับดาวเสาร์ ในราศีตุลย์ ดวงอาทิตย์โคจรรอบเส้นศูนย์สูตร ทำให้เวลากลางคืนกับกลางวันยาวนานเท่ากัน

คาดเดาว่าอาจเกิดการแตกแยกของคน 2 กลุ่มใหญ่ และอาจทำให้อุตสาหกรรมการบินประสบปัญหา (ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดพายุหิมะ และปลายเดือนเม.ย.ภูเขาไฟในประเทศไอซ์แลนด์ปะทุพ่นเถ้าถ่านจำนวนมหาศาล)

สำหรับเดือน เมษายนค่อนข้างคล้ายกันทั้งด้านอารมณ์เหตุการ์สำคัญและความรุนแรงคุณลักษณะข้างต้นดูเหมือนเป็นการก่อกำเนิดความขัดแย้งรุนแรงในคาบสมุทรเกาหลี หรืออิหร่าน รวมถึงความไม่สงบภายในกลุ่มชาติตะวันตก มากกว่าเดือนที่ผ่านๆ มา

ทั้งนี้ เดือน มีนาคมและเมษายนมีความแตกต่างกันตรงที่ ดาวพฤหัส ตรงข้ามกับ ดาวเสาร์ ช่วงกลางราศีเมษ ซึ่งอาจส่งผลรุนแรงกับชาติมหาอำนาจ อาทิ สหรัฐฯ เยอรมนี สหราชอาณาจักร จีน วิกิลีกส์แสดงความกังวลหนักต่อปัญหาเศรษฐกิจ ความวุ่นวายทางการทูต ส่วนวันที่ 2-4 เมษายน ดาวอังคาร รวมตัวกับดาวมฤตยู ในราศีเมษ และพระจันทร์เต็มดวง

ขณะที่วันที่ 18-22 เมษายน ดาวอังคารและดาวพุธ รวมตัวกับดาวพฤหัสและตรงข้ามกับดาวเสาร์ อาจบ่งชี้ได้ว่า สถานการณ์ความรุนแรงที่สุดในรอบปี 2011 อาจเกิดขึ้นระหว่างกลางเดือนมีนาคมและปลายเมษายน

เดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์และดาวอังคาร โคจรออกจากราศีเมษ และเข้าสู่ราศีพฤษก อาจหวังได้ว่าโลกเริ่มกลับคืนสู่เสถียรภาพมากขึ้น และมีแนวโน้มเกิดวิวัฒนาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงการค้นพบใหม่ ๆ และอาจเกิดเรื่องใหญ่ ๆ ในช่วงฤดูร้อนนี้ เช่นเดียวกับปี 1968-1969 และ 1989-1990 คาดว่าอาจเป็นกรณีสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ความวุ่นวายทางสังคม การนัดหยุดงาน การประท้วง จลาจล ก่อการร้าย และความรุนแรงอื่น ๆ เป็นต้น และหลังจากดวงอาทิตย์โคจรห่างเส้นศูนย์สูตรมากที่สุด คือช่วงที่ดาวอังคาร เคลื่อนสู่ราศีเมถุน อาจเห็นการปฏวัติ หรือการก่อจลาจล คลื่นมวลชนรวมตัวกันประท้วง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรในช่วงปี 2020

เดือนกรกฎาคมช่วงเวลาแห่งการประท้วงจากการที่ดาวมฤตยูและดาวพระเกตุ ทำมุมฉากครั้งแรก อาจเกิดความสงบสุข แต่ทั้งนี้ ดาวมฤตยูในราศีเมษ อาจส่งผลให้ความตึงเครียดทั้งปวงปะทุขึ้น


วันสำคัญที่น่าจับตาคือวันที่ 17-21 มิถุนายนดวงอาทิตย์ห่างจากเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดดาวพุธทำฉากกับดาวมฤตยู และดาวอังคาร เคลื่อนสู่ราศีเมถุน วันที่ 3-11 สิงหาคม ดาวอังคารเข้าสู่ราศีกรกฎ และเยื้องกับฉากของดาวมฤตยู และดาวกระเกตุวันที่ 25 ส.ค.ดาวอังคารทำมุมฉากกับดาวเสาร์ ดวงอาทิตย์ตรงข้ามกับดาวพระเกตุ ซึ่งอาจเป็นจุดไคลแมกซ์สำคัญครั้งที่ 2 ของปี หรือเกิดเหตุปลายกรกฎาคม หรือต้นสิงหาคม สำหรับเหตุการณ์ที่คาดว่าอาจเป็นไปได้นั้น อาทิ ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด เผชิญายุเฮอร์ริเคน เป็นต้น

ส่วนระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน ตรงกับศารทวิษุวัต หรือช่วงเปลี่ยนฤดู ดาวพุธตรงข้ามกับดาวมฤตยู และ 24 ธันวาคม พระจัทร์เต็มดวง ตรงข้ามกับดาวพระเกตุ และทำมุมฉากกับดาวมฤตยู

และนี่คือปริศนาของวันโลกแตกที่ไม่เพียงรอวันให้มันเกิดขึ้น เพราะมนุษย์อย่างเราๆ ท่านๆ ยังต้องหาคำตอบและแก้ไข...?

twitter : raydo_thairath

ไทยรัฐออนไลน์