ทั้งๆ ที่สภาพภูมิอากาศที่อบอุ่นขึ้นในช่วงฤดูร้อนควรจะช่วยลดความรุนแรงของพายุได้บ้าง ทว่าช่วงรุนแรงที่สุดของฤดูกาลทอร์นาโดจะยังคงจนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม และพายุหมุนรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
สองวันที่เลวร้ายที่สุดในรอบปีนี้ของสหรัฐฯ คือ วันที่ 27 เมษายน ซึ่งพายุหลายสิบลูกซัดถล่ม 5 รัฐตอนใต้ทำให้มีผู้เสียชีวิต 314 ราย และวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งทอร์นาโดขนาดยักษ์คร่าชีวิตผู้คน 138 รายในรัฐมิสซูรี วันนี้เองกลายเป็นวันที่สหรัฐฯ สูญเสียชีวิตประชาชนมากที่สุดจากพายุทอร์นาโดรุนแรงเพียงลูกเดียว นับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติด้วยวิทยาการสมัยใหม่เมื่อปี 1950 ส่งผลให้ปี 2011 เป็นปีที่ชาวอเมริกันประสบปัญหาวาตภัยร้ายแรงเป็นลำดับที่ 5 ในประวัติศาสตร์
ทั้งนี้ สาเหตุแน่ชัดอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก คือ การที่ผู้คนเข้าไปอาศัยในช่องทางทอร์นาโด(Tornado alley) มากยิ่งขึ้น พื้นที่ดังกล่าวครอบคลุมอาณาเขตระหว่างเขตเทือกเขาร็อกกีไปจนถึงเทือกเขาแอปพาเลเชียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอาศัยอยู่ในบ้านรถ และบ้านที่ไม่มีห้องหลบพายุใต้ดิน เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้ประสบภัยเสียชีวิต
ปี 1925 เป็นปีที่พายุทอร์นาโดสร้างความเสียหายมากที่สุด เมื่อมีผู้เสียชีวิต 794 ราย ตามด้วยปี 1936 มีผู้เสียชีวิต 552 ราย, ปี 1917 มีผู้เสียชีวิต 551 ราย, ปี 1927 เสียชีวิต 540 ราย และปี 1986 เสียชีวิต 537 ราย ข้อมูลจากสำนักงานบริการด้านภูมิอากาศแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุ
อนึ่ง ทางการสหรัฐฯ ประเมินว่าต้องใช้งบประมาณหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อบูรณะพื้นที่ภัยพิบัติ และต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าชีวิตประชาชนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
| |
| |
| |
| |
| |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น