วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ เสียหายหนัก เร่งอพยพปชช. (เกิดที่เดิมเมื่อ 6 เดือนก่อน)

เกิดที่เดิมห่างกันไม่ถึง 6 เดือน ... ตำราสะสมพลังงานของรอยแยก ที่นักวิชาการไทยยังเข้าใจผิดๆ ... ภัยจากธรรมชาติ คือสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญต่อสู้ ... ก่อนมีเผ่าพันธ์มนุษย์ โลกผ่านการเปลี่ยนแปลงมานับครั้งไม่ถ้วน ทวีปแยกออกจากัน ลูกอุกาบาตขนาดมหึมาถล่มใส่ น้ำท่วมโลกกับเรือโนอา ... คนใต้ตื่นกลัวภัยสึนามิ ... แต่วันนี้ คนมาบตาพุด ยังเฉย กับ อุสาหภัย ที่เป็นภัยจากความมักง่ายประมาท ของภาคอุตสาหกรรม !!!

เกิดที่เดิมห่างกันไม่ถึง 6 เดือน ... ตำราสะสมพลังงานของรอยแยกที่นักวิชาการไทยยังเข้าใจผิดๆ ... เรื่องแผ่นดินไหว / จนมีนักวิชาการที่เป็นวิศวกร ระดับคณบดี อยู่ใน กรรมการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ให้ข้อเสนอแนะว่า โรงงาน ไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม ถ้าอยู่นอกพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว จึงเป็นที่มาว่า ทำไม ปตท.จึงสร้างโรงงานจำนวนมากในมาบตาพุด โดยไม่ตอกเสาเข็ม เพราะอายุใช้งานเพียง 25-30 ปี แต่แผ่นดินไหว เกิดห่างกัน 500 ปี ในที่เดียวกัน ... !!! อ่านหนังสือเก่าแล้วเอาความรู้ความคิดเก่าๆ มาขีดเขี่ย จนสร้างความเสี่ยงมหาศาล ... แก่ผู้คนประชาชน รอบโรงงานเสี่ยง และเสี่ยงกับประเทศชาติ


เมื่อเวลา12.51น.ตามเวลาท้องถิ่น (06.51 น. ตามเวลาในไทย) เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริคเตอร์ในไครสต์เชิร์ช เมืองใหญ่อันดับสองของนิวซีแลนด์ ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว สร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก

ภาพทางโทรทัศน์แสดงความตื่นตระหนกของผู้ที่กำลังทำงานอยู่ตามอาคารต่าง ๆ หลังจากเกิดแผ่นดินไหว อาคารบางส่วนที่กำลังพังลงมา ทางเท้าและถนนแยกออกเป็นรอยกว้าง โดยตำรวจกล่าวว่า พบความเสียหายเป็นวงกว้างในหลายพื้นที่ของเมือง

ท่าอากาศยานเมืองไครสต์เชิร์ชถูกปิด และตำรวจกำลังอพยพประชาชนออกจากศูนย์กลางเมือง มีรายงานว่า ด้านหน้าของอาคารที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งที่แล้วได้พังถล่มลงมาบนถนน มีผู้เห็นว่ามีคนถูกทับติดอยู่ภายในด้วย แต่ยังไม่มีรายงานที่ยืนยันการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

ศูนย์ธรณีวิทยาสหรัฐ แถลงว่า เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวสามารถวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.3 ริคเตอร์ ใกล้โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างจากเมืองไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์เพียง 5 กิโลเมตร และลึกลงไปใต้ดินเพียง 4 กิโลเมตรเท่านั้น

เมืองไครสต์เชิร์ชเคยประสบกับเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ริกเตอร์และอัฟเตอร์ช็อคหลายครั้งเมื่อวันที่ 4 ก.ย.ปีที่ผ่านมา ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงว้างเช่นกัน เป็นมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์นิวซีแลนด์ (ประมาณ 94,000 ล้านบาท)แต่ไม่พบรายงานผู้เสียชีวิต

นิวซีแลนด์ตั้งอยู่บน”วงแหวนแห่งไฟ” ซึ่งเป็นเขตที่มีความเสี่ยงในการเกิดเหตุแผ่นดินไหวสูง โดยทอดยาวตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค นับตั้งแต่ประเทศชิลี, รัฐอลาสก้าของสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และเขตแปซิฟิคใต้ มีรายงานเหตุแผ่นดินไหวถึงประมาณ 14,000 ครั้งต่อปี

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายจอห์น คีย์ นายกรัฐมนตรีของนิวซีแลนด์ เปิดเผยว่า ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตแล้ว 65 ราย จากเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในเมืองไครสต์เชิร์ชและคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มสูงอีก ขณะที่ยังมีผู้เคราะห์ร้ายอีกนับสิบคน ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังของอาคาร นอกจากนี้ แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวยังก่อให้เกิดความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง กระแสไฟฟ้าถูกตัดขาดและเครือข่ายโทรศัพท์ไม่สามารถใช้การได้

ด้านผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายมากกว่าเหตุแผ่นดินไหวในเมืองไครสต์เชิร์ชเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว แม้ว่ามีรุนแรงน้อยกว่า เนื่องจากอยู่ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวมากกว่า



Read more: แผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ไครสต์เชิร์ช นิวซีแลนด์ เสียหายหนัก เร่งอพยพปชช. | บล็อกความรู้ | WiseKnow | Knowledge Blog

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น