วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ระทึก มวลน้ำมหาศาลจ่อถล่ม กทม.





ข้อมูลมากมาย มวลน้ำมากมายเท่าเขื่อนภูมิพลทั้งเขื่อน

ข้อมูลมากมาย มวลน้ำมากมายเท่าเขื่อนภูมิพลทั้งเขื่อน


แก้ที่หนึ่ง ย่อมกระทบไปอีกที่หนึ่ง เลี่ยงไม่ได้

วาระคนกรุงทุกข์ยากจากน้ำท่วม โรคร้ายที่แฝงมาจากปัญหาน้ำท่วมอีก

อพยพซ้ำซาก




 พื้นที่สูงต่ำในเขตกรุงเทพ

 ระบบติดตามน้ำท่วมใน กรุงเทพ
 ระบบติดตามน้ำในคลองต่างๆ

 นายกหญิง เจองานหนัก แค่น้ำท่วมก้ออ่วมแล้ว
การผันน้ำลงทะเลที่ไม่ค่อยได้ผล ปัญหาหนึ่งมาจากผักตบชวา
เมืองกรุงระทึก มวลน้ำมหาศาลจ่อถล่ม กทม.จมมิดเมืองภายใน 24 ชั่วโมง ขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมวัดพระแก้วเร่งสูบน้ำโกลาหล เครื่องสูบน้ำคลองรังสิตพัง-ดอนเมืองคันกั้นน้ำแตกทะลักกทม.ชั้นใน นายกฯปูถึงกับน้ำตาคลอ ลั่นไม่ท้อ ขอสู้เพื่อประชาชน ยอมรับ กทม.อยู่ในช่วงวิกฤติ แต่จะขอย้าย ศปภ.เป็นแห่งสุดท้าย ขณะที่ทหารระดมกำลัง 5 หมื่นนายแก้น้ำท่วมตามแผนกู้วิกฤติ 4 ขั้น ใช้ 8 จังหวัดรองรับผู้อพยพ ขณะที่สั่งปิดการจราจรหลายสายทั้งฝั่งธนฯและฝั่งตะวันออกของ กทม. คนกรุงไม่มั่นใจในความปลอดภัย เริ่มอพยพหาบ้านเช่าไว้พักพิง กปน.เตือนฝั่งธนฯนนทบุรีต้มน้ำประปาก่อนบริโภค ส่วนที่เมืองนนท์พี่น้องถูกไฟช็อตดับ 2 ศพ

“ปู”ลั่นย้ายศปภ.ท้ายสุด
   
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 ต.ค. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่าศปภ.จะเป็นหน่วยงานสุดท้ายที่จะย้ายออกจากสนามบินดอนเมือง โดยจะดูแลผู้อพยพย้ายไปในที่ปลอดภัยให้เรียบร้อยก่อน ส่วนเหตุไฟฟ้าดับถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อมีน้ำทะลักเข้าไปสู่ระบบไฟฟ้าอาจจะช็อตบ้าง และเชื่อว่าเจ้าหน้าที่เตรียมการไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่เนื่องจากศปภ.เป็นศูนย์ขนาดใหญ่อาจทำให้มีปัญหาบ้างเล็กน้อย และหากย้ายผู้อพยพไปแล้วถึงจะต้องพิจารณาดูอีกครั้งว่าจะย้ายศปภ.หรือไม่ และไม่อยากให้ตื่นตระหนกต้องรีบย้าย ศปภ. เนื่องจากได้เซตระบบต่าง ๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว ในส่วนสโมสร ทบ.ถือเป็นสถานที่ที่ดี เพราะอยู่เส้นทางเดียวกับดอนเมือง แต่เป็นห่วงเรื่องคนมาทำงาน จึงต้องดูเส้นทางว่าจุดไหนสะดวก แต่ยืนยันว่าจะไม่ย้ายไป จ.ชลบุรีแน่นอน

ยอมรับกทม.ช่วงวิกฤติ
   
เมื่อถามว่าพื้นที่ กทม.เข้าสู่ขั้นวิกฤติอย่างแท้จริงแล้วใช่หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวยอมรับว่าคงจะเป็นแบบนั้น เนื่องจากมวลน้ำมีขนาดใหญ่มาก และคงไม่มีทางฝืนได้ทั้งหมด จึงทำให้บางจุดเกิดปัญหา แม้ว่าจะพยายามใช้กำลังคนกั้นพื้นที่โดยรอบกทม.เพื่อต่อสู้กับน้ำ และความแข็งแรงของพนังกั้นน้ำ แต่ยังเจอปัญหาของมวลชน จึงอยากจะขอความเห็นใจ เพราะบางครั้งจะให้ใช้กฎหมายกับมวลชนคงไม่ได้ เนื่องจากประชาชนทุกข์ทรมานกับน้ำมามากแล้ว จึงอยากให้ทุกคนสามัคคีกัน และปล่อยให้น้ำไหลไปตามเส้นทางธรรมชาติ และให้ไหลเร็ว น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
   
เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปล่อยให้น้ำไหลไปตามธรรมชาติลงสู่ทะเลโดยไม่ต้องกั้นในจุดใดอีก นายกฯ กล่าวว่า ถ้าปล่อยน้ำให้ไหลไปตามธรรมชาติมากเกินไปน้ำจะทะลักจนทำให้บางพื้นที่เตรียมตัวไม่ทัน จึงต้องกั้นชะลอน้ำให้ไหลไปตามคลอง แต่เนื่องจากปริมาณน้ำมีมาก จึงทำให้บางพื้นที่เกิดปัญหา รวมทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควบคุมไม่ได้ ยอมรับว่า ในพื้นที่ กทม.พนังกั้นน้ำพังหลาย ๆ จุด และมีความหวังว่าระบบการระบายน้ำ ถ้าทำกันอย่างเต็มที่ จะช่วยทำให้น้ำลดลง

จ่ออพยพไปชลฯ-ลพบุรี
   
เมื่อถามว่าได้เตรียมไปอยู่ในที่ปลอดภัยหรือยัง นายกฯ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้เตรียมการสำรองแผนอพยพคนกทม.ชั้นในไปไว้ในพื้นที่ปลอดภัยแล้ว เช่นที่ จ.ลพบุรี จ.ชลบุรี โดยเฉพาะบางพื้นที่ต้องขอความร่วมมือให้ไปอยู่ในศูนย์อพยพต่างจังหวัด เพื่อแบ่งเบาและลดภาระลงหากเกิดกรณีฉุกเฉินใน กทม. โดยจัดเตรียมโรงเรียน และศูนย์ราชการไว้รองรับแล้ว
   
ในส่วนข้อเสนอของนักวิชาการให้ถนนวิภาวดีฯเป็นทางระบายน้ำนั้น นายกฯ กล่าวว่า มีข่าวว่ากทม.หารือกันแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจ ว่าจะช่วยได้จริงหรือไม่ ดังนั้น จึงขอให้นักวิชาการได้ไปวิเคราะห์กันก่อน แต่เท่าที่หารือและมีความเห็นตรงกันคือการระบายน้ำไปยังฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของ กทม. ขณะที่สถานการณ์น้ำในพื้นที่ตอนบนของ กทม. ทั้ง จ.พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี เริ่มลดลงแล้วและจะต้องเร่งฟื้นฟู

กู้วิกฤติสินค้าขาดตลาด
   
เมื่อถามว่าน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่ กทม.จะกินระยะเวลานานเท่าไหร่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า บางพื้นที่อาจจะเป็นเดือน แต่บางพื้นที่อาจจะเร็วกว่านั้นขึ้นอยู่กับระบบการระบายน้ำและเครื่องสูบน้ำ และต้องหารือกับทางกทม.เพื่อเร่งระบายน้ำ ส่วนปัญหาสินค้าขาดแคลนพยายามจะเร่งกู้คืนมาโดยเร็ว เพื่อให้ห้างร้านต่าง ๆ จำหน่ายสินค้าได้ตามปกติ แต่คงเฉพาะแค่สินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ส่วนสินค้าประเภทอื่นอาจจะไม่สะดวกสบาย เพราะบางสต๊อกยังติดอยู่ในน้ำ โดยเฉพาะที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
นายกฯเสียงสั่นน้ำตาคลอ
   
เมื่อถามว่าเกรงหรือไม่ว่าประชาชนจะลุกฮือไม่พอใจการทำงานของ ศปภ. นายกฯ ตอบด้วยน้ำเสียงสั่นเครือว่า ต้องขอความกรุณาให้เห็นใจ เพราะ ศปภ.เป็นศูนย์เดียว เจ้าหน้าที่มีจำกัด และกลายเป็นผู้ประสบภัย รวมทั้งเกิดจากการรวมพลังของทุกคนในเวลาอันรวดเร็วเพียงวันเดียว และต้องดึงความสามารถของทุกกระทรวง ภาคเอกชน และประชาชนมารวมกัน ทำให้การทำงานอาจไม่เรียบร้อย และเกิดความเข้าใจไม่ตรงกันบ้าง อีกทั้งมีภาระหน้าที่ตั้งแต่การป้องกันน้ำ ดูแลประชาชน รวมถึงการฟื้นฟู ทำให้เจ้าหน้าที่เหนื่อยล้ากันมาก แต่ก็พยายามช่วยกันสู้เพื่อขวัญและกำลังใจ จึงต้องขอกำลังใจซึ่งกันและกัน เพราะเจ้าหน้าที่ต่อสู้กับน้ำมาเกือบ 2 เดือนแล้ว ขณะที่ พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ.นอนเพียงวันละ 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น

ไม่ท้อขอทำเพื่อประชาชน
   
เมื่อถามว่าอยากจะฝากอะไรถึงประชาชนหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถึงกับพูดไม่ออกมีน้ำตาไหลออกมาทันที แต่พยายามสะกดไว้ก่อนตอบว่า “กราบเรียนพี่น้องประชาชนว่า เรามีเจตนาดี และมีความตั้งใจ” ผู้สื่อข่าวถาม ต่อว่าทำไมถึงร้องไห้บ่อย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวปฏิเสธทั้งน้ำตาคลอเบ้าว่า “ไม่ได้ร้องเลยค่ะที่เห็นภาพออกมาคงเป็นจังหวะ แต่ยืนยันว่า ไม่ได้ร้องไห้ เพราะเราอยู่ตรงนี้ต้องเข้มแข็งยืนยิ้มรับ และช่วยกันยืนยันว่าไม่ท้อ ส่วนที่บ้านพักของดิฉันในซอยโยธินพัฒนา 3 ไม่  ได้เตรียมทำคันกั้นน้ำแต่อย่างใด ขอทำให้ประชาชนก่อน”

วางแผนเร่งฟื้นฟูเร่งด่วน
   
ขณะที่ในช่วงภาวะวิกฤติจะมีมาตรการพิเศษอะไรออกมาบ้างหรือไม่ นายกฯ กล่าวยอมรับว่ามาตรการการป้องกันทำได้ยาก เพราะเป็นภัยธรรมชาติ จึงยากต่อการควบคุม แต่มาตรการหลังจากนี้ไปคือการเตรียมการฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน โดยต้องมาคำนวณว่าตั้งแต่การใช้เครื่องสูบน้ำจำนวนเท่าไหร่ เช่นกู้นิคมอุตสาหกรรมแห่งเดียวต้องใช้เครื่องสูบน้ำเป็นพัน ๆ ตัว แต่ในประเทศมีไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องนำเข้า อย่างเช่นที่ประเทศจีนค่อนข้างหายาก อย่างไรก็ตามได้สั่งจองให้ผลิตไว้ล่วงหน้าแล้ว

ศปภ.ประชุมกู้น้ำท่วม
   
ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประธานการประชุมร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ผอ.ศปภ. พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายพระนาย สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และรอง ผอ.ศปภ. เพื่อสรุปการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม.

แบ่งงาน 4 กลุ่มรับผิดชอบ
   
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ศปภ.จึงจะต้องประสานการทำงานร่วมกันกับศูนย์บริหารจัดการในต่างจังหวัด เพื่อให้คนต่างจังหวัดมาช่วยคน กทม. เพราะขณะนี้มีชาวบ้านจมน้ำถึงคอกว่า 3 ล้านคน จึงขอให้แบ่งงานกันเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ให้ช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อนใน กทม.โดยเร็ว2. ให้ช่วยชาวบ้านปริมณฑลที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 3. ให้ กทม.ดูเรื่องคูคลองต่าง ๆ และอพยพชาวบ้าน เนื่องจากน้ำทะลักเข้ากทม.แล้ว โดยมี ศปภ.เป็นผู้สนับสนุนการทำงานของ กทม. เพราะ ศปภ.ไม่ใช่เจ้าภาพหลัก และ 4. กลุ่มที่ต้องฟื้นฟูมอบหมายให้ พล.ต.อ.ประชา หาเจ้าภาพเข้ามาดำเนินการ
   
น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีปัญหาเรื่องเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ จึงต้องตัดสินใจสั่งซื้อโดยเร็ว เพราะใช้กับนิคมอุตสาหกรรมมีมากถึง 1,400 เครื่อง จึงต้องให้คนมีความรู้เรื่องระบายน้ำ เป็นมิสเตอร์ระบายน้ำมาดูแล และมีเจ้าภาพหลัก คือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยรัฐมนตรีต้องเข้าประชุมเพื่อจะได้ทราบหลักการทำงานที่ชัดเจน

ห่วงช่วยเหลือไม่ทั่วถึง 
   
รายงานแจ้งด้วยว่า ระหว่างการประชุมหารือแก้ไขปัญหาอุทกภัย นายกฯ มีน้ำเสียงจริงจัง และมีท่าทีเป็นห่วงผู้ประสบภัยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ รวมทั้งการจัดหาเครื่องสูบน้ำเร่งระบายน้ำออกจากกทม.  โดยเฉพาะก่อนจากการประชุมนายกฯได้สอบถามถึงความสมัครใจในการย้ายศปภ. เนื่องจากเห็นว่าการเดินทางมาดอนเมืองค่อนข้างลำบาก แต่ที่ประชุมตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าสมัครใจทำงานอยู่ที่เดิม จึงมอบให้พล.ต.อ.ประชา ประสานหาจุดพักรถและจัดรถรับส่งเจ้าหน้าที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง รวมทั้งจัดเต็นท์ที่พักสำหรับค้างคืนด้วย

มั่นใจป้องเขตพระราชฐาน 
   
ต่อมาเวลา 12.00 น. ที่ ศปภ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหารือเพิ่มเติมเพื่อดูแลเขตพระราชฐาน และรพ.ศิริราช โดยแสดงความเชื่อมั่นว่าจะดูแลสถานที่สำคัญเหล่านี้ไว้ได้
   
ทั้งนี้ นายกฯเน้นย้ำให้ผวจ.ที่ประสบภัยน้ำท่วม ใน 26 จังหวัด เร่งปรับแนวทางการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยเฉพาะการดูแลประชาชนพักอาศัยในบ้านพักถูกน้ำท่วม และต้องการให้ปรับวิถีชีวิตเลี้ยงตัวเองได้ เช่น อาจจัดอุปกรณ์การประกอบอาหาร หรือเครื่องกรองน้ำไปให้แทนการจัดหาน้ำขวด ที่ประสบปัญหาขาดแคลน พร้อมขอให้ผู้ว่าฯ เร่งประสานงานกระทรวงคมนาคมเตรียมฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัย

คุมเข้มคันกั้นน้ำหลักหก
   
ที่กระทรวงกลาโหม พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวก่อนการประชุมสภากลาโหมถึงการรับมือและเตรียมความพร้อมแผนการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่า ใช้กำลังทหารเฝ้าตลอด 24 ชั่วโมง และยังรักษาพนังกั้นน้ำที่หลักหกไว้ได้ เพราะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดที่น้ำจะทะลักเข้ากรุงเทพฯ ส่วนกรณีมีชาวบ้านพยายามพังพนังกั้นน้ำทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ได้ส่งกำลังทหารไปช่วยดูแลแล้ว อย่างไรก็ตาม จะต้องดูในวันที่ 28-29 ต.ค. เพราะน้ำทะเลหนุนสูงสุดกว่าพนังกั้นน้ำ จึงต้องเตรียมเรื่องอพยพไว้ และต้องดูจำนวนน้ำว่าเป็นไปตามที่กรมอุทกศาสตร์   คาดการณ์หรือไม่

กำลังพล 5 หมื่นกู้วิกฤติ
   
ด้าน พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงว่า รมว.กลาโหมหารือกับ ผบ.เหล่าทัพ เพื่อวางแนวทางเตรียมความรับผิดชอบช่วงสภาวะวิกฤติใน 4-5วันที่จะถึงนี้ โดยกำหนดจัดทำแผนดูแลป้องกันสถานที่สำคัญ ช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ตามมติ ครม.ที่ 22/54 ลงวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยกระทรวงกลาโหมจัดทำแผนนี้กำหนดไว้ 4 ขั้นตอน คือ 1.การป้องกัน โดยใช้คนทั้งหมดประมาณ 5 หมื่นคน รถกว่า 1,000 คัน เรือกว่า 1,000 ลำ เพื่อดูแลประชาชน โดยประสานงานกับกทม.และกระทรวงมหาดไทย และในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ
   
2. การดำรงสภาพ หากน้ำเข้าและจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ในพื้นที่ที่กำหนดโดยจะมุ่งเน้นเรื่องระบบประปา ไฟฟ้า การจราจร และการติดต่อสื่อสาร โดยประสานงานกับกทม.และตำรวจในพื้นที่ 3. อพยพประชาชน โดยกระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานสนับสนุนและต้องรับฟังจากนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลัก โดยจัดเตรียมคน เรือ ยานพาหนะ อุปกรณ์ในการช่วยเหลือประชาชน หากน้ำเข้ามาในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ส่วนขั้นที่ 4. คือการฟื้นฟู หากสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ จะขนย้ายประชาชนกลับเข้าที่ตั้งปกติ โดยมอบหมายให้กองบัญชาการกองทัพไทย เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการร่วมกับกทม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

น้ำทะลักหม้อไฟศปภ.เจ๊ง
   
วันเดียวกัน ที่ศปภ. พล.ต.อ.ประชา เป็นประธานการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายจาตุรนต์ ฉายแสง สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ในฐานะที่ปรึกษา ศปภ.ร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยพล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า เมื่อเวลา 07.00 น. มีน้ำไหลเข้าโรงหม้อแปลงไฟฟ้า บริเวณท่าอากาศยานดอนเมือง จนทำให้ระบบไฟฟ้าเกิดมีปัญหากระแสไฟฟ้าดับชั่วคราว โดยเจ้าหน้าที่รายงานจะแก้ไขให้ใช้งานได้ตามปกติภายใน 30 นาที จึงสั่งให้ทำคันกั้นน้ำไว้บริเวณรอบหม้อแปลงเพื่อความปลอดภัย

จัดรมต.นอนค้างศปภ.
   
พล.ต.อ.ประชา  กล่าวต่อว่า สำหรับการจัดรถรับส่งเจ้าหน้าที่เพื่อเดินทางเข้า-ออกศปภ.ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้ขอให้กองทัพไทยเป็นเจ้าภาพ โดยนำรถขนาดใหญ่มารับส่งบริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (หมอชิต) ในเวลา 07.30 น. และเวลา 09.30 น. ส่วนช่วงเย็นจากดอนเมืองตั้งแต่เวลา 18.30 น. และ 20.30 น. อีกทั้งจะจัดเวรรัฐมนตรีค้างคืนที่ศปภ. เพื่อติดตามสถานการณ์และคอยประสานสั่งการคืนละ 2 คน นอกจากนั้นมีเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรมมาช่วยดูแลความปลอดภัยด้วย ขณะที่ปัญหาเรื่องเครื่องสูบน้ำมีไม่เพียงพอนั้น มอบให้นายพระนาย ระดมหาให้ได้จำนวน 4,600  เครื่อง และให้สามารถทำงานได้ภายในวันนี้ เพื่อระบายน้ำออกจากกทม.ให้เร็วที่สุด นอกจากนี้ต้องการเรือเข้ามาช่วยอพยพคนและการขนส่ง จึงประสานกรมเจ้าท่าประกาศหาเรือพร้อมคนขับเรือโดยเร็วมาช่วยเหลือ

ยันคนกรุงไม่อดอาหาร
   
พล.ต.อ. ประชา กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้มอบหมายให้นายพระนาย จัดหาจังหวัดคู่แฝดมาช่วยกทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีหน้าที่สอบถามข้อมูลจังหวัดประสบอุทกภัย พร้อมทั้งจัดส่งอาหารและสถานที่พักพิงให้ผู้ประสบอุทกภัย แต่ถ้าจังหวัดคู่แฝดไม่สามารถจัดการได้ให้แจ้งที่ศปภ. เพื่อประสานงานจัดส่งอาหารให้ถึงมือ นอกจากนั้นให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูเรื่องแหล่งอาหารอีกทางหนึ่ง รวมทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมฯรับผิดชอบจัดคลังอาหารสำหรับดูแลคนกรุงเทพฯ ยืนยันว่าคนกทม.จะไม่อดตาย เพราะมีการประสานภาคเอกชน และนำอาหารจาก จ.เชียงใหม่ เข้ามาเพิ่มเติม แต่ยังมีปัญหาเรื่องการขนส่ง จึงขอให้ทางกองทัพไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) ช่วยดูแลเส้นทางการจราจรเพื่อความสะดวกด้วย

อนุสาวรีย์ชัยฯมีสิทธิจมน้ำ
   
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีโอกาสน้ำจะท่วมถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิหรือไม่ พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ธรรมชาติของน้ำไหลลงพื้นที่ต่ำและคงจะไม่เว้นพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง จึงพยายามทำคันกั้นน้ำชะลอในหลาย ๆ จุด และถ้าไม่มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำคงบริหารจัดการน้ำได้รวดเร็วกว่านี้ แต่เนื่องจากคนอยู่ข้างล่างและข้างบนเดือดร้อน การจะปล่อยจากข้างบนลงข้างล่าง คนข้างล่างก็ไม่เห็นด้วย จึงมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำ เมื่อถามว่าหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลายในสัปดาห์นี้รัฐบาลมีแนวโน้มขยายช่วงเวลาวันหยุดหรือไม่ พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า ต้องปรึกษานายกรัฐมนตรีก่อน

ป้องกันน้ำท่วมกรุงเต็มที่
   
เมื่อถามว่าดูเหมือนรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับฝั่งธนบุรีน้อยกว่าฝั่งพระนคร ผอ.ศปภ. กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญเท่ากันทุกจังหวัดเต็มกำลังความสามารถ สำหรับฝั่งธนบุรีคันกั้นน้ำไม่มี ทำให้น้ำไหลเข้ามาเต็ม ๆอย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่ารัฐบาลไม่ห่วงใย แต่จะพยายามให้ได้รับผลกระทบให้น้อยที่สุด เมื่อถามว่าขณะนี้บอกได้ชัดเจนหรือยังว่า ศปภ. ไม่สามารถป้องกันพื้นที่ กทม. พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า จะบอกว่าไม่สามารถป้องกันได้ คงจะไม่ใช่ เพราะพยายามทุกวิถีทางแล้ว แต่น้ำมาตามท่อไหลไปทุกซอกทุกมุมจะไปกั้นอย่างไร แต่พยายามชะลอทุกวิถีทางแล้ว แต่บางครั้งก็สุดวิสัย อย่างไรก็ดี มวลน้ำก้อนใหญ่ยังมาไม่ถึงกทม. 

ใช้ 8 จังหวัดรับผู้อพยพ
   
เมื่อถามว่านอกจากการป้องกันได้มีการเตรียมการเรื่องการอพยพอย่างไร ผอ.ศปภ. กล่าวว่า เตรียมแผนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยจะเคลื่อนย้ายไปที่พักพิงชั่วคราว ในพื้นที่ 8 จังหวัด เช่น ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง นครราชสีมา กาญจนบุรี เพชรบุรี นครปฐมบางส่วน เป็นต้น โดยสามารถรองรับได้ประมาณ 1-2 แสนคน ส่วนจะเคลื่อนย้ายเมื่อไหร่จะแจ้งเตือนอีกครั้ง 

กทม.ปัดอพยพ 50 เขต
   
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่าขณะนี้มีปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ถนนสิรินธร พหลโยธิน แจ้งวัฒนะ วิภาวดีฯ จรัญสนิทวงศ์ ส่วนเขตได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเขตบางพลัด ดอนเมือง สายไหม และทวีวัฒนา พร้อมประกาศให้เขตดอนเมืองและบางพลัดอพยพไปยังศูนย์พักพิง ส่วนเขตสายไหมมีน้ำท่วมเกือบเต็มพื้นที่แล้ว จึงขอประกาศให้อพยพไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย ขณะที่คันกั้นน้ำริมคลองทวีวัฒนาเกิดพังอีกหลายจุด โดยมีเจ้าหน้าที่เร่งเข้าไปดำเนินการซ่อมแซมแล้ว ส่วนจะต้องถึงขั้นอพยพทั้ง 50 เขตทั่วพื้นที่กรุงเทพฯหรือไม่นั้น คิดว่าคงไม่ถึงขั้นนั้น

สธ.ยันยาไม่ขาดแคลน
   
ด้าน นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงผลกระทบด้านสุขภาพจิตของประชาชนจากปัญหาน้ำท่วมว่า มีผู้ประสบภัยมีภาวะทางสุขภาพจิตสูงถึง 107,000 คน แยกเป็นซึมเศร้า 6,200 คน มีความเครียดสูง 5,200 คน เสี่ยงฆ่าตัวตาย 878 คน และต้องติดตามดำเนินผลอย่างใกล้ชิดอีก 1,356 คน ส่วนการดูแลสุขอนามัยในศูนย์อพยพ มอบหมายให้กรมอนามัยเข้าไดำเนินโครงการอนามัยคลายทุกข์ ดูแลสุขอนามัยและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อตัดตอนการแพร่กระจายของโรคระบาดและใช้ยุทธศาสตร์ “อึด-ฮึด-สู้ เดี๋ยวก็ผ่านไป” สำหรับเสบียงยาและเวชภัณฑ์ยืนยัน
ว่ามีเพียงพอให้บริการนาน 2 เดือน

เตือนฝั่งธนฯต้มน้ำก่อนใช้ 
   
ทางด้านฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศปภ. แจ้งว่า การประปานครหลวง (กปน.) ระบุว่า ขณะนี้คุณภาพน้ำดิบไหลท่วมเข้ามาในคลองประปาฝั่งตะวันตก ที่ส่งเข้าโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ มีคุณภาพต่ำลงมาก จนไม่สามารถผลิตเป็นน้ำประปาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก เนื่องจากมีสีและความขุ่นเกินมาตรฐาน แต่เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้เป็นปกติ จึงจำเป็นต้องจ่ายน้ำประปาในคุณภาพนี้ไปก่อน และพยายามเร่งปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ ในพื้นที่ จ.นนทบุรี ปากเกร็ดฝั่งตะวันตก บางบัวทอง บางใหญ่ ไทรน้อย และบางกรวย จ.สมุทรปราการ ใน อ.พระประแดง และพระสมุทรเจดีย์ฝั่งตะวันตก ส่วนพื้นที่ฝั่งธนบุรี เขตธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ทวีวัฒนา บางพลัด หนองแขม ภาษีเจริญ ตากสิน บางบอน ทุ่งครุ จอมทอง ราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน และตลิ่งชัน ควรต้มน้ำก่อนบริโภค เพื่อความปลอดภัย และหากสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ทอ.ยันไม่ย้ายหนีน้ำท่วม
    
 พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำบางส่วนเริ่มไหลซึมเข้าภายในกองทัพอากาศ แต่พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผบ.ทอ. ไม่มีนโยบายย้ายศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ (ศปก.ทอ.) เพราะยังคงทำงานได้ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนการช่วยเหลือประชาชน กองทัพอากาศนำรถบรรทุกกว่า 20 คัน ไว้คอยรับรับ-ส่งประชาชนตั้งแต่สะพานใหม่จนถึงกม.25 นอกจากนี้มีเรือยางติดเครื่องยนต์ 5 ลำคอยรับช่วงต่ออพยพประชาชนจากซอย แยกต่าง ๆ ที่รถไม่สามารถเข้าถึง อาทิ สนามกีฬาธูปะเตมีย์ ชุมชนแยกลำลูกกา เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไปสถานที่อื่นต่อได้

ศปภ. ลั่นไม่ยอมจำนนน้ำ 
   
ขณะที่ นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่โฆษก ศปภ. กล่าวว่า ศปภ.พยายามปรับแผนการทำงาน โดยเฉพาะเส้นทางเข้าออก ศปภ. จะใช้เส้นทางโทลล์เวย์เป็นหลัก แต่ถ้าสถานการณ์เลวร้ายขึ้น พล.ต.อ.ประชา จะพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความรอบคอบ อย่างไรก็ดี ได้เคลื่อนย้ายผู้อพยพจากอาคารผู้โดยสาร 2 ไปบ้างแล้ว รวมทั้งเคลื่อนย้ายของอุปโภคบริโภคไปยังสนามศุภชลาสัย ขณะนี้เหลือเพียงส่วนอำนวยการเท่านั้น หากไม่ถูกคุกคามจากน้ำมากนัก คงจะทำงานอยู่ที่นี่ เพราะการขนย้ายอุปกรณ์ค่อนข้างลำบาก
   
นายธงทอง กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีการเสนอพื้นที่สำรองไว้เป็นจำนวนมาก แต่ละพื้นที่มีข้อดีและข้อเสียต่างกัน เช่น ทำเนียบรัฐบาล สนามม้านางเลิ้ง สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีฯแต่ยังไม่มีข้อยุติ และสั่งการให้เตรียมพื้นที่ใดสำรองไว้ ขอยืนยันว่า ศปภ. ไม่ยอมจำนนต่อสถานการณ์และจะพยายามระบายน้ำออกจากทุ่งตะวันออกให้ได้มากที่สุด เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนในช่วง 2-3 วันข้างหน้า เพื่อทำให้น้ำในพื้นที่ กทม.ลดลง

แจงธงทองนั่งโฆษกศปภ. 
   
ด้าน นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงกรณีศปภ.มอบหมายให้นายธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา ทำหน้าที่โฆษกศปภ. เพื่อแถลงเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาอุทกภัย แทนนายวิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกศปภ.ว่า เพื่อให้การสื่อสารข้อมูลไปถึงประชาชนมีความชัดเจน และเหมาะสมสถานการณ์มากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนอีกคนอาจจะเหมาะสมมากกว่า ส่วนตัวเข้าใจคนทำงาน เพราะเป็นมืออาชีพต้องเข้าใจว่าผู้บริหารจะเลือกบุคลากรส่วนใด

น้ำเข้าถล่มกรุงใน 24 ชม.
   
มีรายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ว่าที่ประชุม ศปภ.ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เป็นประธาน พบว่าปัญหาการระบายน้ำลงทะเลทำได้น้อยมากโดยเฉพาะทุ่งฝั่งตะวันออกของ กทม.ที่ต้องการใช้เป็นทางผ่านน้ำ หรือฟลัดส์เวย์ โดยใช้วิธีสูบและดึงน้ำออกจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์มาเป็นเกือบสัปดาห์ แต่ปริมาณการระบายทำได้เพียงวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ปริมาณน้ำไหลมารวมที่ทุ่งรังสิตใต้ จนเอ่อล้นถนนวิภาวดีรังสิตและถนนพหลโยธิน
   
นอกจากนี้คันน้ำตลอดแนวคลองรังสิต คลองหกวาสายล่างใกล้พังเสียหายเกือบทั้งหมด ทำให้การสูบน้ำที่ประตูจุฬาลงกรณ์ และประตูคลอง 2 ออกแม่น้ำเจ้าพระยา เกินขีดความสามารถ ทำให้ขณะนี้เครื่องสูบน้ำเสียไปแล้วหลายเครื่อง จนการระบายน้ำไม่ทันกับปริมาณน้ำเหนือที่ไหลบ่าเข้ามาจากทุ่งวังน้อย ทำให้คลองรังสิตต้องรับปริมาณน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีก 3,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจากเดิม 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร จนเป็นมวลน้ำทัพหน้าเข้าโจมตีกรุงเทพฯชั้นในภายใน 24 ชม.นี้

ปรับแผนดันลงตะวันตก
   
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่าที่ประชุมจึงเปลี่ยนแผนการระบายน้ำลงทะเลทางด้านฝั่งตะวันตกให้มากขึ้นเพิ่มให้ได้ 124 ล้านลูกบาศก์เมตร และไปตัดยอดน้ำให้เข้าสู่แม่เจ้าพระยาน้อยลงในช่วงน้ำทะเลหนุนสูง โดยเริ่มปิดการระบายน้ำในแม่น้ำป่าสัก และปิดประตูเขื่อนพระรามหก ปิดประตูน้ำพระนารายณ์ ไม่ให้น้ำเหนือเข้าเพิ่มปัญหาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะส่งผลให้ระดับน้ำที่จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา เพิ่มระดับขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร
   
ขณะที่เครื่องสูบน้ำตลอดคลองรังสิตใต้ ทำงานเกินขีดความสามารถมาตลอด เพราะปริมาณน้ำมีมากและไหลมาอย่างรวดเร็ว จนคลองรังสิตใกล้รับน้ำไม่ไหว จึงต้องตัดปริมาณน้ำจากข้างบนเพื่อชะลอน้ำเหนือไหลเข้าสู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะปริมาณน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ปทุมธานี นนทบุรี ยังมีน้ำในทุ่งจำนวนมหาศาลและไหลบ่าเข้าพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในและออกไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มเอ่อล้นแล้ว

เร่งสูบน้ำออกวัดพระแก้ว
   
ส่วนสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เวลา 06.00 น. พบว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อล้นเข้าท่วมบริเวณท่าพระจันทร์และท่าช้าง ถนนมหาราช ถนนพระจันทร์ สูงประมาณเกือบ 1 เมตร ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้แผงเหล็กปิดการจราจร นอกจากนี้น้ำทะลักถึงถนนหน้าพระธาตุ ตั้งแต่บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัดมหาธาตุ ไปจนถึงมหาวิทยาลัยศิลปากร และบริเวณหน้าวัดพระแก้ว ถนนพระลาน โดยระดับน้ำเท่ากับขอบทางเท้า แต่ยังไม่เอ่อล้นเข้าท่วมสนามหลวง แต่อย่างไรก็ตามมีน้ำบางส่วนไหลท่วมบริเวณประตูทางเข้าวัดพระแก้ว ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเร่งใช้เครื่องสูบน้ำออกมาจนแห้งตามเดิม ขณะที่ร้านค้าบริเวณท่าพระจันทร์ส่วนใหญ่ปิดให้บริการ

ป้องน้ำท่วมรพ.ศิริราช
   
ที่ รพ.ศิริราช พบว่ายังไม่มีจุดใดระดับน้ำท่วมขัง เนื่องจากเจ้าหน้าที่นำเครื่องสูบน้ำดันน้ำจากท่อระบายน้ำในโรงพยาบาลออกมาด้านนอก พร้อมให้การไฟฟ้านครหลวง นำรถของการไฟฟ้ามาเตรียมพร้อมรับมือในกรณีฉุกเฉิน ส่วนทหารจากกองทัพบก นำกระสอบทรายมาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ได้ขนย้ายผู้ป่วยหนัก และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไปไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว
   
ขณะที่ตลาดวังหลังจุดค้าขายสำคัญบนท่าน้ำศิริราช พบว่าบรรดาร้านค้าหยุดกิจการเกือบทั้งหมดแล้ว และจากการสอบถามผู้ค้าส่วนใหญ่บอกว่าเตรียมรับมือน้ำท่วม โดยขนของขึ้นที่สูงแล้ว ส่วนจะหยุดกี่วันต้องดูระดับน้ำและการประกาศของกทม.อีกครั้ง ส่วนบริเวณชุมชนวัดกัลยาณมิตรติดริมน้ำนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเช่นกัน และภายในชุมชนส่วนใหญ่น้ำจะมีสีเหลือง ทำให้เจ้าหน้าที่การประปาต้องนำรถน้ำดื่มมาเพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชน

ดอนเมืองวุ่นคันกั้นแตก 
   
น.อ.กันต์พัฒน์ มังคละศิริ ผอ.ท่าอากาศยานดอนเมือง เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 04.00น. คันกระสอบทรายทางด้านทิศเหนือของสนามบินดอนเมือง ถูกแรงอัดของน้ำจนพังทลายลง ทำให้ปริมาณน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่ลานจอดอากาศยานกินพื้นที่แล้วประมาณ 85% ระดับน้ำท่วมสูงถึง 50 ซม. จึงเร่งประสานกทม.ให้เข้ามาซ่อมแซมคันกระสอบทราย ก่อนจะลุกลามขยายวงกว้างมากกว่านี้  และเพื่อรองรับมวลน้ำขนาดใหญ่ กำลังประสานกรมทางหลวงให้นำแบริเออร์คอนกรีต เข้ามาวางสกัดกั้นน้ำ เพื่อบังคับทิศทางน้ำให้ไหลออกไปทางด้านถนนวิภาวดีรังสิต
   
เวลา 15.30 น. ระดับน้ำจากถนนวิภาวดีไหลทะลักเข้ามายังแนวหินคลุกที่บริเวณประตู 5 อาคารผู้โดยสารขาออก ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่ใช้เป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย จนเกิดพังทลายลงมาและมีน้ำจำนวนมากไหลเข้ามาภายในสนามบิน สร้างความแตกตื่นให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ผู้ประสบภัย และสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก โดยมีเจ้าหน้าที่พยายามใช้กระสอบทรายสกัดกั้นน้ำไว้ แต่เนื่องจากกระแสน้ำแรง ทำให้กระสอบทรายไม่สามารถกั้นน้ำไว้ได้ จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีนำแผงเหล็กกั้นจราจรมาวางแล้วนำหินคลุกมาเททับทำคันกั้นใหม่ และใช้กระสอบทรายเข้าไปช่วยเสริมอีกชั้น จึงสามารถทำคันกั้นน้ำได้สำเร็จ แต่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ต่อไป รวมถึงในส่วนของประตูอื่น ๆ ด้วย

ถนนวิภาวดีฯเป็นอัมพาต 
   
สำหรับบริเวณถนนวิภาวดีรังสิต เบื้องต้นพบว่าทางเจ้าหน้าที่ทหารให้รถใช้ถนนวิภาวดีรังสิตขาออกไปกลับรถบริเวณหน้าห้างไอทีสแควร์และปิดการจราจรที่มุ่งหน้าไปทางสนามบินดอนเมืองอย่างถาวร โดยให้ขึ้นทางด่วนโทลล์เวย์ด้านหลักสี่ขาออกแทน เนื่องจากน้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น การจราจรในถนนวิภาวดีฯตั้งแต่แยกหลักสี่ขึ้นไปไม่สามารถใช้การได้ 
   
ขณะที่น้ำไหลออกมาตามท่อของบังเกอร์ถนนวิภาวดีรังสิตเรื่อย ๆ โดยเฉพาะที่บริเวณถนนหน้าร้านเจ้เล้ง มีน้ำไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และมีชาวบ้านออกมาจับปลาบนถนนวิภาวดีรังสิตอีกด้วย รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ โดยเฉพาะถนนวิภาวดีรังสิตขาออกน้ำไหลเข้าท่วมมีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนมีสภาพไม่ต่างจากคลอง ขณะที่วัดหลักสี่เกิดสภาพน้ำท่วมสูง อย่างรวดเร็วเช่นกัน จนเจ้าหน้าที่วัดต้องรีบย้ายโลงศพหนีจ้าละหวั่น

ท่วมถนนพหลโยธินยาว
   
เวลา 11.00 น. ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปตรวจสอบบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สะพานใหม่ มีปริมาณน้ำเอ่อล้นท่วมถนนพหลโยธินอย่างต่อเนื่อง ทางห้างฯจึงนำกระสอบทรายมาขวางกั้น พร้อมกับนำแผงไม้มาวางบนป้ายรถเมล์ เพื่อให้ประชาชนใช้ยืนรอรถเมล์ป้องกันเปียกน้ำ และห้างฯยังคงเปิดบริการปกติ
   
ขณะที่ฝั่งถนนพหลโยธินขาออกรถวิ่งได้ถึงสามแยกสายไหม ทำให้รถต้องยูเทิร์น กลับทางเดิม เพื่อไปใช้เส้นทางรามอินทราแทน ทั้งนี้ปริมาณน้ำจากพหลโยธินขาเข้ายังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและกำลังมุ่งหน้าไปทางอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญบางเขนอีกด้วย

น้ำทะลัก รพ.ภูมิพล
   
ส่วนที่ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กทม.  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าปริมาณน้ำเอ่อท่วมบริเวณถนนพหลโยธินด้านหน้ารพ. สูงประมาณ 80 ซม. จนรถขนาดเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ทำให้ต้องเร่งเคลื่อนย้ายผู้ป่วยขั้นวิกฤติ 60 ราย เพื่อไปที่จ.นครราชสีมา แต่ในเบื้องต้นสามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้เพียง 4 รายเท่านั้น เนื่องจากรถพยาบาลไม่สามารถขับฝ่าปริมาณน้ำที่สูงได้ จึงต้องประสานขอรถยูนิม็อกของทบ. เพื่อเข้ามาเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไป บน.6  แทน โดยมีผู้ป่วยตกค้างอีก 200 คน และเคลื่อนย้ายไปที่สูงแล้ว
   
ในส่วนของห้องฉุกเฉินประกาศปิดรับผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว ขณะที่ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำมันดีเซลจำนวนมาก เพื่อสำรองใช้กับเครื่องปั่นไฟ ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าหลักมีปัญหา รวมไปถึงน้ำดื่มและอาหารมีจำนวนจำกัด เพราะน้ำท่วมในส่วนฝ่ายผลิตอาหารบางส่วน ประกอบกับวัตถุดิบจัดซื้อหาได้ยาก จึงอยากขอความช่วยเหลือด้วย

ถนนจรัญฯจมน้ำเร่งอพยพ
   
ขณะที่สถานการณ์ในซอยจรัญสนิทวงศ์ 74 (ชุมชนบางอ้อ) แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กำแพงกั้นน้ำเกิดพังทลายลง ส่งผลให้มวลน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้ามาในซอยอย่างรวดเร็ว ทำให้ถนนในซอยจรัญสนิทวงศ์ 76,78, 80 ถูกน้ำท่วม และไหลเอ่อเข้าไปยังปากซอยฝั่งตรงข้าม ระดับน้ำสูงประมาณ 80 ซม. รถเล็กไม่สามารถสัญจรผ่านได้เป็นวันที่ 4 แล้ว ล่าสุดปริมาณน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นไหลผ่านหน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขาบางพลัดมาแล้ว จนต้องประกาศให้ประชาชนชนในบริเวณดังกล่าวเร่งอพยพออกจากบ้านพัก เพื่อความปลอดภัย ส่วนการสัญจรจากแยกบางพลัดขาเข้าวิ่งได้ถึงวัดภาณุรังสี ส่วนถ้ามาจากทางด้านสะพานพระราม 7 ใช้เส้นทางได้แค่บริเวณดับเพลิงบางอ้อเท่านั้น

เปิดรถบรรทุกใช้ทางด่วน
   
นายมณเฑียร กุลธำรง รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้ได้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ในภาคกลางหลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร จึงผ่อนผันให้รถบรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อ และ 10 ล้อขึ้นไปและรถพ่วงทุกชนิดสามารถเดินรถในทางพิเศษทุกสายทางได้ตลอดเวลา โดยน้ำหนักรถและสิ่งของที่บรรทุก ยังคงเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกประการ ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ กทพ. ยังขอสงวนเส้นทางบนทางพิเศษทุกสาย เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุง วัสดุ อุปกรณ์ ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จึงห้ามจอดรถทุกชนิดในทางพิเศษ ตรวจสอบจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หากพบมีรถฝ่าฝืนจะดำเนินการเคลื่อนย้ายออกจากทางพิเศษ

ศูนย์ราชการไม่รับเพิ่ม
   
ว่าที่ ร.ต.ศรัณย์ สมาพันธ์ รองผอ.สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (สท.)  กล่าวว่า ศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัย ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะรับผู้อพยพเต็มที่ 2,540 คนแล้ว ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. และจะไม่รับเพิ่ม ทั้งนี้หากจัดพื้นที่นอนแออัดเกินไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพการอยู่อาศัยโดยรวม  หากมีประชาชนมาที่ศูนย์ฯจะประสานศูนย์พักพิงอื่นที่ว่างเพื่อจัดรถไปส่ง  โดยที่ศูนย์ฯมีแพทย์จากรพ.รามาธิบดีเป็นแพทย์ประจำรพ.สนามดูแลโรคทั่วไปและโรคเฉพาะ ส่วนการรับมือน้ำท่วมเข้าศูนย์ฯ มีระบบป้องกันไฟฟ้า พร้อมรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน และสำรองน้ำมันใช้นาน 3 เดือน  หากน้ำเข้าจะย้ายผู้อพยพและจุดอำนวยความสะดวกที่ชั้น 1 ไปอยู่ชั้นบน  ยังไม่มีแนวคิดปิดศูนย์ เชื่อว่ายังดูแลสถานการณ์ได้

ย้ายนักโทษคลองเปรมอีก
   
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับการเคลื่อนย้ายนักโทษในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพฯ และนนทบุรีนั้น ในวันเดียวกันกรมราชทัณฑ์ได้ย้ายนักโทษเด็ดขาดที่เรือนจำกลางคลองเปรม 328 คน ไปคุมขังในเรือนจำกลางคลองไผ่ จ.นครราชสีมา หลังสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดย พ.ต.อ.สุชาติวงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า เรือนจำกลางคลองเปรมมีนักโทษรวม 6,554 ราย ซึ่งการเคลื่อนย้ายนักโทษวันนี้จะย้ายนักโทษในแดนความมั่นคงสูงที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตก่อนจำนวน 328 ราย ส่วนที่เรือนจำกลางบางขวางได้ย้ายเพิ่มเติมจากวานนี้(26 ต.ค.) อีก 500 ราย และที่ทัณฑสถานหญิงกลาง 270 ราย  ซึ่งนักโทษทั้งหมดจะถูกย้ายไปจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จะคลี่คลาย

ปูขอศึกษาเจาะถนนผันน้ำ  
   
ที่ ศปภ.ดอนเมือง เวลา 20.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวถึงข้อเสนอให้เจาะถนน 5 สายใช้เป็นทางระบายน้ำ ว่า จะให้คณะทำงานลงไปดู และถ้าหากทำได้จะทำ แต่ไม่ใช่อยู่ ๆ ไปเจาะถนน เพราะเกิดน้ำทะลักลงที่อื่นจะอันตรายขึ้นไปอีก จึงต้องดูจุดที่เสี่ยงต่ำที่สุดก่อน และหากไม่มีปัญหาสามารถขยายผลได้ และในวันที่ 28 ต.ค. จะขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปตรวจสถานการณ์น้ำ และการระบายน้ำ ทั้งทางฝั่งตะวันออก และตะวันตก อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ายังไม่คิดย้ายศปภ.จากดอนเมืองไปไหน โดยได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ทหารช่วยจัดรถมาบริหารรับส่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน รวมทั้งประสานตำรวจจัดเส้นทางจราจรบนทางด่วนโทลล์เวย์ให้สามารถกลับรถได้

ผบ.ตร.ตรวจสัมพันธวงศ์
   
ขณะที่พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร. พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบก.น.6 พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 พร้อมด้วยนายชัชกูล รัตนวิบูลย์ ผอ.สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ ได้เดินทางมาตรวจดูสภาพน้ำท่วมและความเดือดร้อนของประชาชนบริเวณถนนเจริญกรุง และถนนทรงวาด โดยเฉพาะภายในซอยเจริญกรุง 22 นั้นมีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 40-80 ซม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ฟันหลอไม่สามารถดำเนินการสร้างคันกั้นน้ำได้เพราะติดปัญหาเป็นพื้นที่ของเอกชน ทั้งนี้ทาง พล.ต.ต.สุวัฒน์ กับนายชัชกูล พร้อมเจ้าหน้าที่ของกทม.กำลังอยู่ระหว่างเจรจากับทางเจ้าของพื้นที่ เพราะหากไม่สามารถปิดกั้นน้ำตรงบริเวณนี้ได้ก็จะทำให้เป็นปัญหาน้ำทะลักเข้าท่วมสูงขึ้น แต่หากเจรจาไม่ได้ก็อาจจะต้องดำเนินการทางด้านกฎหมายต่อไป

คนแห่ทิ้งกรุงหาบ้านเช่า
   
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตอนนี้ปัญหาการจราจรในเส้นทางหลักที่จะเดินทางออกจากกรุงเทพฯ การจราจรติดขัดเป็นอย่างมากเพราะถนนปิ่นเกล้า-นครไชยศรีปิดการจราจรเพราะน้ำท่วมสูงรวมทั้งถนน ธนบุรี-ปากท่อการจราจรติดขัดอย่างหนักเช่นกัน และเส้นทางไปภาคเหนือที่ต้องเลี่ยงใช้ถนนวงแหวนรอบนอกก็ติดไม่แพ้กัน และเริ่มมีประชาชนที่หนีภัยน้ำท่วมออกจากกรุงเทพฯต่างขนครอบครัว ขับรถออกตระเวนหาบ้านเช่า-ห้องเช่า และอพาร์ตเมนต์ ในจังหวัดใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ เช่น ชลบุรี, สมุทรสาคร, กาญจนบุรี, ราชบุรี  ที่น้ำยังไม่ท่วมเพื่อหนีภัยแล้ว

ขาเข้าปิ่นเกล้างดใช้แล้ว
   
ขณะเดียวกันข้อมูลจากศูนย์บริหารงานอุบัติภัย กรมทางหลวง รายงานข้อมูลเส้นทางการจราจรในจังหวัดที่มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 20 จังหวัด 93 เส้นทางวันที่ 27 ต.ค. รวม 106 แห่ง รถผ่านได้ 30 แห่ง, ผ่านไม่ได้ 76 แห่ง สำหรับเส้นทางในกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าเส้นทางที่ไม่สามารถผ่านได้ อาทิ สะพานกรุงธน-ต่างระดับสิรินธร ท้องที่เขตบางพลัด ที่กม. 2-3 ระดับน้ำสูง 60-80 ซม. ใช้ใด้เฉพาะขาออกปิ่นเกล้า-นครชัยศรี, จ.นครปฐม เส้นทางลาดหลุมแก้ว-บางเลน ท้องที่อำเภอบางเลนที่ กม. 44-49 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40-60 ซม. ไม่มีสายทางทดแทน
   
ส่วนจ.นนทบุรีพบว่าเส้นทางที่ไม่สามารถสัญจรได้ ประกอบด้วย เส้นทางบางบัวทอง (หน้าหมู่บ้านสมบัติบุรี)-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอบางบัวทองที่กม. 45-50 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40-60 ซม. ให้ใช้วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9  บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-สาย 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-สาย 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้เส้นทางสาย 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ

แนะเส้นทางเลี่ยงรถติด         
   
ที่ บก.จร. กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) แจ้งเตือนประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทางขาเข้าและขาออก ถนนบรมราชชนนี ถนนสิรินธร ถนนปิ่นเกล้า-สนามหลวง-อรุณอมรินทร์ เนื่องจากปริมาณน้ำท่วมขังผิวการจราจรมีปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับรถขาเข้า กทม. ให้ใช้ทางคู่ขนานลอยฟ้า มีจุดทางลงเชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งพระนครเพียงจุดเดียว ส่วนรถขาออกมุ่งหน้าตลิ่งชัน สายใต้ใหม่ พุทธมณฑล ศาลายา นครปฐม ให้ใช้เส้นทางสะพานพระราม 8 คู่ขนานลอยฟ้าขาออกเส้นทางเดียวเช่นเดียวกัน สำหรับผู้ใช้ถนนจรัญสนิทวงศ์ ไม่ควรใช้สะพานกรุงธนมีน้ำท่วมสูง และแนะนำให้ใช้สะพานพระราม 8 พร้อมประกาศเตือนเจ้าของรถนำรถไปจอดหนีน้ำบนสะพานและบนทางด่วน ให้หมั่นตรวจตราดูแลรถของตัวเอง เพราะมีแก๊งมิจฉาชีพออกอาละวาดแล้ว

นครบาลแบ่งงานดูน้ำท่วม
   
ที่ บช.น. พล.ต.ต.วินัย ทองสอง รักษาราชการแทน ผบช.น. เรียกประชุมนายตำรวจระดับรองผบช.น. และมอบหมายแบ่งงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้รับผิดชอบ โดยเน่นย้ำเป็นงานหลักและเร่งด่วนใน  4 งานหลัก คือ  1. งานด้านการป้องกันปราบปรามตลอดจนดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. งานด้านควบคุมจัดการจราจร 3. งานด้านการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน 4. เปิดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนจากน้ำท่วมขัง โดยจัดกำลังตำรวจจากทุกสถานี สถานีละ 10 นาย เป็นชุดเคลื่อนที่เร็วช่วยเหลือน้ำท่วม และเชื่อว่าจะสามารถดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างเต็มที่

ปทุมฯถนนจมทั้งจังหวัด
    
ทางด้านเส้นทางบางบัวทอง-ลาดบัวหลวง อ.บางบัวทอง กม. 25-31 มีน้ำท่วมขังเป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 30-100 ซม. ให้ใช้วงแหวนตะวันตกหมายเลข 9 บางบัวทอง-ตลิ่งชัน-สาย 338 ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี-สาย 4 นครชัยศรี-นครปฐม แล้วใช้เส้นทางสาย 321 นครปฐม-กำแพงแสน เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่องภาคเหนือ สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 2-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 80-100 ซม. ใช้ทางของเทศบาล เส้นทางลาดหลุมแก้ว-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอลาดหลุมแก้ว ที่กม. 20-29 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 80-100 ซม. ไม่มีเส้นทางทดแทน
   
ส่วนจ.ปทุมธานี พบว่า เส้นทางเกือบทั้งหมดไม่สามารถใช้สัญจรได้เลย ทั้งเส้นทางลาดหลุมแก้ว-วงแหวนตะวันตก, รังสิต-นครนายก, สะพานคลองบ้านใหม่-บางพูน, สามแยกบางพูน-แยกเข้าปทุมธานี, ลาดหลุมแก้ว-ระแหง, ปทุมธานี-อยุธยา, ปทุมธานี-บ้านใหม่, ปทุมธานี-สามโคก, บ้านพร้าว-คลองหลวง, ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-บางไทร-สามโคก, ถนนชุมชนเลียบทางรถไฟสายเหนือ ท้องที่ อ.เมือง พบว่าเส้นทางเหล่านี้ไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน อย่างไรก็ตามประชาชนที่จะเดินทางไปเส้นทางต่าง ๆ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่คอลเซ็นเตอร์กรมทางหลวง โทร. 1586 หรือโทร.0-2354-6668-76 ต่อ 2014

เผยภาพมวลน้ำล้อมกรุง
   
ที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เผยแพร่ ภาพถ่ายดาวเทียมเรดาร์แซท-2 บันทึกภาพวันที่ 27 ต.ค. บริเวณ จังหวัดกรุงเทพฯกำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ลพบุรี สมุทรปราการ สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี   ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ยังมีมวลน้ำขนาดใหญ่อยู่เต็มพื้นที่ภาคกลาง และกำลังเข้าโอบล้อม กรุงเทพฯ โดย สทอภ. ได้ทำการวิเคราะห์พื้นที่น้ำท่วม บริเวณกรุงเทพฯ จากภาพดาวเทียม พบว่า มีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ เขตหนองจอก คลองสามวา ลาดกระบัง สายไหม มีนบุรี บางเขน ดอนเมือง คันนายาว สะพานสูง หลักสี่ ทวีวัฒนา ปทุมวัน ห้วยขวาง บางกะปิ ดุสิต จตุจักร พญาไท สวนหลวง และพระนคร

พระราชทานถุงยังชีพ
   
วันเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินวิทยาลัยการอาชีพมหาราช ต.บ้านขวาง อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา พระราชทานถุงยังชีพให้แก่ราษฎรประสบอุทกภัยน้ำท่วม 500 ชุด และทรงเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานมูลนิธิ พอ.สว.พร้อมพระราชทานของเล่นแก่เด็ก จากนั้นทรงเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา อ.มหาราช พระราชทานถุงยังชีพให้แก่ราษฎร 500 ชุด จากนั้นประทับเรือพระที่นั่งเสด็จทอดพระเนตรพื้นที่ ต.บ้านนา และชุมชนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ พร้อมพระราชทานถุงยังชีพให้แก่เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ประสิทธิ์

ประทานอาหารสุนัข
    
ขณะเดียวกัน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ เสด็จไปยังศาลากลาง จ.พระนครศรีอยุธยา ทรงเยี่ยมประชาชนผู้ประสบภัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวศูนย์ราชการจังหวัดฯ พร้อมเสด็จเยี่ยมประชาชนผู้ประสบภัย ที่วัดมงคลบพิตร พร้อมประทานถุงยังชีพผู้ประสบภัย 50 ครอบครัว ประทานอาหารสำเร็จรูปให้สุนัข 50 ตัว จากนั้นเสด็จที่วัดพระนอนเยี่ยมประชาชนผู้ประสบภัย 20 ครอบครัว พร้อมประทานอาหารสำเร็จรูปให้สุนัข 20 ตัว

สลดพี่น้องถูกไฟดูดตาย
      
เวลา 12.45 น. ร.ต.ท.ณัฐพงษ์ ตันศิริวิวัฒนกุล พนักงานสอบสวน สภ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี รีบแจ้งเหตุคนถูกไฟดูดเสียชีวิต 2 ราย ภายในซอยเทศบาล 5 (อัศวิน 2) ต.บางรักพัฒนา จึงนำกำลังไปตรวจสอบพบศพนายสกล เทิดฉิม อายุ 40 ปี และนายพนิพัด เทิดฉิม อายุ 41 ปี พี่ชายนอนเสียชีวิตอยู่ข้างรถขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา โดยมีถุงยังชีพอยู่ข้างศพ สอบสวนนางบุปผา รุ่งโรจน์วานิช อายุ 55 ปี อาผู้เสียชีวิตทั้ง 2 คน ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุหลานชายลุยน้ำออกจากบ้านไปรับถุงยังชีพ แต่พอขากลับมาถึงจุดเกิดเหตุ นายสกล ใช้มือไปจับรถขายก๋วยเตี๋ยวถูกไฟดูดร้องส่งเสียงดังก่อนจะล้มแน่นิ่ง ขณะที่นายพนิพัด เห็นเหตุการณ์ จึงรีบตรงเข้าไปช่วยเหลือดึงน้องชายออกมา ทำให้ถูกไฟดูดตายไปด้วยอีกราย

กรุงเก่าดีขึ้นเร่งกู้นิคมฯ
   
ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมใน จ.พระนครศรีอยุธยา พบว่าระดับน้ำลดลงเฉลี่ยประมาณ  5 ซม. โดยเฉพาะที่ตลาดบ้านแพน อ.เสนา พบว่าน้ำจากแม่น้ำน้อยไหลเข้าท่วมตลาดพื้นที่เศรษฐกิจลดลงประมาณ 5 ซม. แต่การสัญจรยังยากลำบาก โดยพ่อค้าแม่ค้ายังคงใช้เรือพายนำสินค้าออกมาขาย ส่วนถนนหลายสายที่ถูกน้ำท่วมสูง พบว่ารถกระบะสามารถวิ่งผ่านได้บางช่วง แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง
   
ด้าน นายประยูร ติ่งทอง อุตสาหกรรม จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่ายังมีน้ำท่วมสูงมากกว่า 1 เมตร คณะกรรมการฟื้นฟูอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งรัดกู้นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และเขตประกอบการ ใน ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อให้ทุกพื้นที่สามารถเปิดดำเนินการได้เร็วที่สุด

แก้วิกฤติหาผัก-ปลาขาย 
   
ขณะที่ชาวบ้านหลายตำบลใน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือน และไร่นาเสียหายอย่างหนัก พลิกวิกฤติเป็นโอกาส รวมตัวกันเก็บผักบุ้ง ผักกระเฉด สายบัว และหาปลาหลุดออกจากบ่อเลี้ยง และปลาตามแหล่งน้ำธรรมชาติ นำไปวางขายหารายได้บนถนนราษฎร์เจริญ เขตเทศบาลเมืองสองพี่น้อง รวมทั้งนำปลามาแปรรูปขาย สร้างรายได้ไว้ใช้จ่ายในยามทุกข์ยาก

วัดสระเกศชวนบริจาค
   
ด้าน พระวิจิตรธรรมาภรณ์ ผู้ช่วยเลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ กรุงเทพฯ แจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และเจ้าอาวาสวัดสระเกศ มีความห่วงใยพระภิกษุ สามเณรที่ประสบภัยน้ำท่วม จึงขอเชิญชวนบริจาคสิ่งของยังชีพ อาทิ อาหาร และน้ำดื่ม เพื่อนำไปช่วยเหลือตามจังหวัดต่าง ๆ โดยสามารถบริจาคได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือ วัดสระเกศ โทรศัพท์ 0-2621-2280 หรือ www.jariatam.com

อคส.ผลิตข้าว 20 ล้านถุง 
   
ขณะที่ นายสมศักดิ์ วงศ์วัฒนศานต์ ผู้ช่วย ผอ.องค์การคลังสินค้า (อคส.) กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีมติให้อคส. นำข้าวในสต๊อกรัฐบาล 1 แสนตันผลิตเป็นข้าวถุงเพื่อจำหน่ายให้ประชาชนบรรเทาความวิตกกังวลในช่วงน้ำท่วม และป้องกันไม่ให้เกิดการขาดแคลนข้าว โดยผลิต 20 ล้านถุง ๆ ละ 5 กก. ขณะนี้ อคส.เปิดให้เอกชนยื่นซองประกวดราคาแล้ว โดยจะเปิดซองประกวดราคาในวันที่ 28 ต.ค.นี้ แม้ว่า ครม. จะประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ แต่เนื่องจากเป็นห่วงว่าข้าวถุงจะขาดแคลน เพราะปัจจุบันมีประชาชนซื้อกักตุนเป็นจำนวนมาก
   
วันเดียวกัน นางศุลีมาศ สุทธิสัมพัทน์ ประธานบริษัท ยูไนเต็ด ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) และผู้บริหารได้จัดเตรียมข้าวกล้องและอาหารแจกมอบช่วยเหลือผู้ประสบภัยและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ วันละ 1,000 ชุดด้วย.

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บริหารจัดการน้ำ ผิดพลาดจนน้ำทะลักท่วม - ชาวเขื่อน

ผมได้อ่าน บทความนี้ จึงหาข้อมูลมาบ่นบอกความจริงว่า อะไรทำไม นักการเมืองไทยชอบ ทะลึ่งรู้ดี ไปปิดเปิดสวิทช์ เรื่องน้ำ ปีที่แล้ว ก้อน้ำท่วมหนัก เพราะรัฐบาลอภิสิทธิ์ ไปแย่งถือกุญแจ เพราะกลัวภัยแล้งปี 54 ที่นักวิชาการไทยบอกว่า จะแล้งสุดๆ นั่น ปีนี้ก้อเอาอีก

ตามอ่าน และผมก้อยังเชื่อแบบนั้น ....

ขอประณาม รัฐบาลชุดนี้ที่ขาดประสบการณ์ในการบริหาร ลองอ่านข้อความข้อล่างดู
ไม่รู้จะระบายที่ไหน อัดอั้นใจมานาน

.....รู้มั้ยว่าทำไมน้ำถึงท่วมเป็นวงกว้างขนาดนี้.......
สาเหตู.....การจัดการบริหารน้ำผิดพลาด
ใครผิดพลาด.....
ทำไมถึงเป็นนายคนนี้ เพราะตอนน้ำท่วมช่วงแรกๆ นายคนนี้เป็นคนสั่งให้เขื่อนทุกเขื่อนกักน้ำให้ไว้ให้มากที่สุด แทนที่จะปล่อยให้ระบายน้ำออกจากเขื่อนตามหลักการที่เคยทำมา เพื่อที่จะทำให้ระดับน้ำที่ท่วมในช่วงนั้นลดลง
โดยไม่สนใจคำคัดค้านจาก ผอ.เขื่อนต่างๆ โดยเฉพาะเขื่อภูมิพล ที่พยายามโต้เถี่ยงคัดค้านมาโดยตลอด จนนายคนนี้ไม่สามารถโต้เถี่ยงจึงกล่าวออกมาว่า นี่คือคำสั่ง ผมสั่ง...คุณต้องทำ
แล้วเป็นไง....น้ำเหนือที่ยังไม่หมดช่วงมรสุมตะวันออกลงมาที่เขื่อนต่างๆเป็นจำนวนมาก จะค่อยๆระบายก็ไม่ได้ ต้องกัก...นี่เป็นคำสั่ง จนส่งผลดังปัจุบันที่เป็นอยู่.....
แล้วเราจะประนามใคร.........
ช่วยกระจายเรื่องหน่อยเถอะครับ ชาวไทยจะได้ตาสว่าง

*** ชาวเขื่อน ***










รายงานสรุปสถานการณ์น้ำในฤดูฝน ปี  2553 วันที่ 16 สิงหาคม 2553

1

สภาพภูมิอากาศ จากกรมอุตุฯ

                  มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 23 องศา สูงสุด 33 องศา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

2.

สภาพน้ำฝน และ น้ำท่าในลุ่มน้ำน่านและลุ่มน้ำยม

               จังหวัดอุตรดิตถ์  อ่างเก็บน้ำคลองตรอน 2.5 ม.ม. อ.ลับแล เล็กน้อย อ.ตรอน เล็กน้อย อ.ท่าปลา เล็กน้อย                  อ.บ้านโคก เล็กน้อย อ.ทองแสนขัน 3.5 ม.ม.
จังหวัดพิษณุโลก  อ.บางระกำ 1.0 ม.ม. อ.พรหมพิราม 0.5 ม.ม. อ.ชาติตระการ 25.0 ม.ม.
จังหวัดพิจิตร อ.วังจันทร์ 3.3 ม.ม. อ.วังสำโรง 5.9 ม.ม. โครงการฯ ท่าบัว 31.0 ม.ม.
จังหวัดนครสวรรค์  อ.ท่าตะโก 3.9 ม.ม. อ.บรรพตพิสัย 1.0 ม.ม. อ.ชุมแสง 27.4 ม.ม. อ.หนองบัว 2.7 ม.ม.                อ.แม่วงศ์ 5.0 ม.ม. อ.แม่เปิน 35.4 ม.ม.
                           น้ำท่าลุ่มน้ำน่าน และน้ำยม  คลิ๊กที่นี่

3

สภาพน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ

ปริมาณน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ ณ วันที่   (15 สิงหาคม 2553 )
เขื่อน / อ่าง
ความจุ
(ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่าง
ปริมาณน้ำใช้การได้ (ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำไหล (ล้านลบ.ม.)
ล้าน ลบ.ม.
คิดเป็น %
เต็มความจุ
ปัจจุบัน
คิดเป็น %
ไหลลงอ่างฯ
ระบายออก
เขื่อนภูมิพล 
13,462
4,278
31.78
9,662
478
4.95
48.46
3.01
เขื่อนสิริกิติ์ 
9,510
4,386
46.12
6,660
1,536
23.06
62.94
5.49
รวม 2 อ่าง
22,972
8,664
37.72
16,322
2,014
12.34
111.40
8.50
 เขื่อนฯแควน้อย
769
243.35
31.64
733
207.35
28.29
5.89
0.43
อ่างฯคลองตรอน
59
24.541
41.59
53
18.541
34.98
0.315
0.000
    ปริมาณน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำ ปีที่แล้ว  (15 สิงหาคม 2552)
ความจุ
(ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่าง
ปริมาณน้ำใช้การได้ (ล้าน ลบ.ม.)
ปริมาณน้ำไหล (ล้านลบ.ม.)
ล้าน ลบ.ม.
คิดเป็น %
เต็มความจุ
ปัจจุบัน
คิดเป็น %
ไหลลงอ่างฯ
ระบายออก
เขื่อนภูมิพล
13,462
6,164
45.79
9,662
2,364
24.47
12.95
20.61
เขื่อนสิริกิติ์
9,510
5,151
54.16
6,660
2,301
34.55
39.27
19.57
รวม 2 อ่าง
22,972
11,315
49.26
16,322
4,665
28.58
52.22
40.18
อ่างฯคลองตรอน
59
22.340
37.86
53
16.340
30.83
0.000
0.000

4

สภาพทั่วไปและการให้ความช่วยเหลือ

             4.1จังหวัดอุตรดิตถ์ -
                4.2 จังหวัดพิษณุโลก  -
          4.3 จังหวัดพิจิตร   -
                 4.4   จังหวัดนครสวรรค์     -
                                    โครงการชลประทานจังหวัด โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา ได้ให้ความช่วยเหลือเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ     เข้าช่วยเหลือเพื่อการเพาะปลูก และการอุปโภค-บริโภค ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน ดังนี้
จังหวัด
การให้ความช่วยเหลือด้วยเครื่องสูบน้ำ
การให้ความช่วยเหลือด้วยรถบรรทุกน้ำ
จำนวนทั้งหมด
(เครื่อง)
จำนวนที่ให้ความช่วยเหลือ
(เครื่อง)
พื้นที่
(ไร่)
จำนวนทั้งหมด
(คัน)
จำนวน
เที่ยว/คัน
ปริมาณน้ำ
(ลิตร)
ช่วยเหลือ
ช่วงวันที่
ปริมาณน้ำสะสมตั้งแต่
2 พ.ย.52
(ลิตร/เที่ยว)
สถานที่
ช่วยเหลือ
ในเขตโครงการ
20
-
-
-
-
-
-
-
ส่วนเครื่องกล
-
-
-
-
-
-
-
-
อุตรดิตถ์
7
4
1,311
-
-
-
-
192,000/32
โครงการฯ อุตรดิตถ์
พิษณุโลก
17
6
  600
2
-
-
-
      -
พิจิตร
26
-
-
2
-
-
-
180,000/30
    โครงการฯ ท่าบัว 
นครสวรรค์
28
5
-
1
-
-
-
396,000/66
ก่อสร้าง 2
98
7
1,911
5
-
-
-
768,000/128
          ที่มา : รายงานการช่วยเหลือด้วยเครื่องสูบน้ำของศูนย์ปฏิบัติการเครื่องจักรกลที่ 2   ณ วันที่ 16 .ค. 2553
                         รายงานการช่วยเหลือด้วยรถบรรทุกน้ำของโครงการฯ ณ วันที่ 16 .ค. 2553

5.

การใช้น้ำของโครงการชลประทาน

5.1 สรุปแผนและผลการใช้น้ำฤดูฝน ปี 2553   โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก
โครงการ
แผนการใช้น้ำตลอดฤดูกาล
จาก 26 ก.ค.53        ถึง  21 พ.ย.53
การใช้น้ำถึงปัจจุบัน (ล้าน ลบ.ม.)
แผน     
จาก 26 ก.ค.53
ถึง  21 พ.ย.53
ใช้จริง
จาก 26 ก.ค.53
ถึง 21 พ.ย.53
คิดเป็น %
 เทียบกับแผน
 คลองส่งน้ำสายใหญ่ ฝั่งซ้าย PL.0, PL.1
50.80
50.80
 
 
 - โครงการฯ เขื่อนนเรศวร
50.80
50.80
 
คลองส่งน้ำสายใหญ่ ฝั่งขวา (PR.)
355.02
355.02
 
 
 -  โครงการฯ พลายชุมพล
130.64
130.64
 
 -   โครงการฯ ดงเศรษฐี
121.56
121.56
 
 
102.82
102.82
 
 
405.82
405.82
 
 
 5.2  สรุปแผนและผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2553  โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก
 โครงการ
พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)
พื้นที่
ชลประทาน
(ไร่)
  ปลูกจริง
สะสม
26 ก.ค.53
ถึง 21 พ.ย.53
คิดเป็น % เทียบกับพื้นที่
1 โครงการฯ เขื่อนนเรศวร
91,000
 
 
2 โครงการฯ พลายชุมพล
211,476
 
 
3 โครงการฯ ดงเศรษฐี
186,000
 
 
4 โครงการฯ ท่าบัว
168,540
 
 
รวม
657,016
 
 

6.

พื้นที่เพาะปลูกข้าว ปี 2553

จำแนกตามอายุข้าว ถึงปัจจุบัน  (ข้อมูล ณ 16 .ค.53)
6.1 การเพาะปลูกข้าว  2553    
6.1.1 โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก 
โครงการ
พื้นที่เพาะปลูกตามอายุข้าว (ไร่)
เตรียมแปลง
ต่ำกว่า 1 เดือน
1 - 2 เดือน
2 - 3 เดือน
3 - 4 เดือน
รวม
เก็บเกี่ยว
เสียหาย
รวมทั้งสิ้น
เขื่อนนเรศวร
-
21,900
-
950
-
  22,850
     4,100
-
   26,950
พลายชุมพล
-
23,263
4,345
2,481
-
30,089
19,319
-
49,408
ดงเศรษฐี
-
10,125
296
2,725
1,422
14,568
21,928
-
36,496
ท่าบัว
-
5,489
-
-
-
5,489
96,101
-
101,590
น้ำริด
-
37,726
-
-
-
37,726
-
-
37,726
รวม
-
98,503
4,641
6,156
1,422
110,722
141,448
-
252,170
หมายเหตุ  พื้นที่นอกเขตชลประทาน  พลายชุมพล    10  ไร่ , น้ำริด 9,030 ไร่
6.1.2 โครงการพัฒนาเกษตรชลประทานพิษณุโลก  (ตารางที่ 2 )  หมายเหตุ  ข้อมูล ณ วันที่ 16 สิงหาคม 2553
โครงการ
พื้นที่เพาะปลูกตามอายุข้าว (ไร่)
เตรียมแปลง
ต่ำกว่า 1 เดือน
1 - 2 เดือน
2 - 3 เดือน
3 - 4 เดือน
รวม
เก็บเกี่ยว
เสียหาย
รวมทั้งสิ้น
เขื่อนนเรศวร
5,700
21,900
-
-
950
  28,550
     -
-
-
พลายชุมพล
-
8,645
-
-
-
8,645
-
-
-
ดงเศรษฐี
-
-
-
-
1,422
1,422
-
-
-
ท่าบัว
17,065
6,660
-
-
-
23,725
-
-
-
รวม
22,765
37,205
-
-
2,372
62,342
-
-
 
6.1.3  การเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2553  ในเขตสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า 
โครงการ
พื้นที่เพาะปลูกตามอายุข้าว (ไร่)
พื้นที่ชลประทาน
เตรียมแปลง
ต่ำกว่า 1 เดือน
1 - 2 เดือน
2 - 3 เดือน
3 - 4 เดือน
รวม
เก็บเกี่ยว
เสียหาย
รวมทั้งสิ้น
อุตรดิตถ์
185,610
-
-
66,000
50,840
-
  116,840
-
-
  116,840
พิษณุโลก
67,060
2,200
27,300
-
-
-
29,500
-
-
29,500
พิจิตร
72,500
-
-
-
-
-
-
-
-
-
นครสวรรค์
99,134
12,530
60,959
25,645
-
-
99,134
-
-
99,134
รวม
424,304
14,730
88,259
91,625
50,840
-
245,474
 
 
245,474
6.1.4 คลองชักน้ำ คลองเมม,วังขอน
คลองชักน้ำ
พื้นที่เพาะปลูกตามอายุข้าว (ไร่)
เตรียมแปลง
ต่ำกว่า 1 เดือน
1 - 2 เดือน
2 - 3 เดือน
3 - 4 เดือน
รวม
เก็บเกี่ยว
รวมทั้งสิ้น
2,500
78,000
-
-
-
80,500
-
80,500
รวม
2,500
78,000
-
-
-
80,500
-
80,500
6.1.5           การเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2553  โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนแควน้อย
พื้นที่ชลประทานฝั่งขวา 2 ฝั่ง
พื้นที่เพาะปลูกตามอายุข้าว (ไร่)
เตรียมแปลง
ต่ำกว่า 1 เดือน
1 - 2 เดือน
2 - 3 เดือน
3 - 4 เดือน
เก็บเกี่ยว
รวมทั้งสิ้น
700
7,950
-
330
-
-
8,980
รวม
700
7,950
-
330
-
-
8,980
6.1.5   พื้นที่เพาะปลูกพืช ปี 2553  ในเขตโครงการฯ ขนาดกลาง ที่มีแหล่งน้ำ
ที่
โครงการ
ชลประทาน
ชป.กลาง ทั้งหมด
จำนวน
(โครงการ)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
แหล่งน้ำ/
โครงการ
พ.ท. เพาะปลูก (ไร่)
พื้นที่เก็บเกี่ยว
(ไร่)
เป้าหมาย
ปลูกแล้ว
อุตรดิตถ์
3
36,846
15,843
 
น้ำริด
1,500
1,500
น้ำปาด
18,028
430
 
คลองตรอน
รวม
 
56,374
17,773
 
 
2
พิษณุโลก
5
12,000
12,000
 
วังน้ำใส
53,000
50,770
 
วัดตายม
9,000
9,000
 
ฝายบางบ้า
5,000
5,000
 
แคววังทอง
6,900
6,900
 
ฝายน้ำเฟื้อ
รวม
 
85,900
83,670
 
 
พิจิตร
15
18,500
2,770
 
ปตร.คลองคัน
7,000
1,800
 
ปตร.คลองบุษบงศ์
22,000
3,500
 
ปตร.วังงิ้ว
13,000
1,950
 
ทรบ.คลองท่าหลวง
12,000
2,160
 
ทรบ.คลองร่องกอกใหญ่
9,000
1,620
 
ทรบ.คลองน้ำโจน
8,000
1,440
 
ทรบ.คลองสินเธาว์
9,000
1,620
 
ทรบ.หอไกร
9,500
1,900
 
ทรบ.คลองห้วยเกตุ
9,000
1,980
 
ทรบ.คลองบุษบงศ์เหนือ
20,300
4,060
 
ทรบ.คลองบ้านบุ่ง
4,000
1,500
 
ทรบ.คลองบุษบงศ์ใต้
2,000
1,200
 
ฝายวังเรือน
59,000
9,500
 
ฝายยางพิจิตร
22,000
3,000
 
ฝายพญาวัง
-
900
 
บางไผ่
รวม
224,300
-
 
 
4.
นครสวรรค์
11
6,000
-
 
คลองขนมจีน
20,000
-
 
คลองห้วยรั้ว
8,000
-
 
วังสวัสดี
2,000
-
 
คลองตาพาด
8,000
-
 
ฝายห้วยหอม
100,000
--
 
คลองกระถิน
5,000
-
 
คลองปลากด
10,000
-
 
คลองระนงค์
5,000
-
 
คลองจระเข้เผือก
3,000
-
 
คลองเก้าเลี้ยว
2,500
--
 
คลองตั้วเกา
 
รวม
 
169,500
-
 
 
รวมทั้งสิ้น
34
536,074
142,343
 
         (ข้อมูล 16 ส.ค.53) 






บันทึกเหตุการณ์ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากว่าค่ายจิรประวัติ (กันยายน 2553)
แผนผังลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและเจ้าพระยาตอนกลาง
ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนประกอบด้วยแม่น้ำสายหลัก ทั้งหมด 4 สาย คือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ใต้เขื่อนภูมิพล กิ่วลม สิริกิติ์ตลอดแนวลงทางทิศใต้จนถึงบริเวณบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ การคำนวณปริมาณน้ำบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนใช้ข้อมูลน้ำระบายจากเขื่อน ภูมิพล สิริกิติ์ กิ่วลม แควน้อย และสถานีวัดน้ำท่า Y.1C สะพานบ้านน้ำโค้ง
ส่วนลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนกลางครอบคลุมตั้งแต่บริเวณบึงบอระเพ็ดจนถึงเขื่อน เจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท ระหว่างทางมีการรับน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังจังหวัดอุทัยธานี และผันน้ำออกสู่เส้นทางหลักสี่เส้นทางคือ คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองมะขามเฒ่าอู่ทอง แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำน้อย การคำนวณปริมาณน้ำใช้ข้อมูลที่สถานีวัดน้ำท่า C.2 ค่ายจิรประวัติ และสถานี C.13 ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา

โดยส่วนใหญ่ปริมาณน้ำไหลผ่านที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาจะน้อยกว่าที่ค่ายจิร ประวัติอันเนื่องมาจากมีการระบายน้ำออกทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออกของแม่ น้ำ และเกิดการใช้น้ำจากภาคการเกษตรในบริเวณดังกล่าวค่อนข้างมาก ยกเว้นน้ำที่ไหลมาจากทางภาคเหนือและแม่น้ำสะแกกรังมีปริมาณมากประกอบกับมีฝน ตกมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์และชัยนาท จึงส่งผลทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านที่เขื่อนเจ้าพระยาสูงกว่าที่ค่ายจิรประวัติ

เปรียบเทียบข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีค่ายจิรประวัติ(C.2) และสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยา(C.13) ตั้งแต่ปี 1994 ถึง ปี 2010

จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่านตั้งแต่ปี 1994 จนถึงปัจจุบัน พบว่ามีเหตุการณ์ปริมาณน้ำไหลผ่านที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยามากกว่าค่ายจิร ประวัติที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ได้แก่ ช่วงเดือนตุลาคม 1995 , พฤษภาคม 1999 , พฤศจิกายน 1999 , ตุลาคม 2000 , ตุลาคม 2002 , ตุลาคม 2007
, กันยายน 2010

ปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีเมืองอุทัยธานี (Ct.2A)
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานีหน้าศาลากลาง เมืองอุทัยธานี แม่น้ำสะแกกรัง พบว่าช่วงเดือนสิงหาคมจนถึงกันยายน 2553 ปริมาณน้ำไหลผ่านค่อนข้างสูงส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้ามาสมทบในแม่น้ำเจ้า พระยาเพิ่มมากยิ่งขึ้น

ปริมาณน้ำไหลผ่านรายวันที่สถานีค่ายจิรประวัติ(C.2) และสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยา(C.13) ช่วงเดือน ก.ค.- ก.ย. 53
จากกราฟแสดงปริมาณน้ำไหลผ่านช่วงเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2553 พบว่าปริมาณน้ำเริ่มเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยปริมาณน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน(ภูมิพล+กิ่วลม+Y1C+แควน้อย) มีปริมาณน้ำสูงสุด 96.52 ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่ 31 สิงหาคม ด้านลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างปริมาณน้ำสูงสุดที่สถานีค่ายจิรประวัติอยู่ที่ 166 ล้านลูกบาศก์เมตร (1,920 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 21 กันยายน ส่วนที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณน้ำสูงสุด อยู่ที่ 195 ล้านลูกบาศก์เมตร (2,253 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) ในวันที่ 22 กันยายน 2553 โดยปริมาณน้ำที่สถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเริ่มมากกว่าที่สถานีค่ายจิร ประวัติ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน จนถึงวันที่ 27 กันยายน และอัตราน้ำไหลผ่านที่เขื่อนเจ้าพระยาเริ่มสูงเกิน 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน จนถึง 25 กันยายน


ปริมาณน้ำไหลผ่าน รายเดือน
จากกราฟแสดงข้อมูลปริมาณน้ำไหลผ่าน สะสมรายเดือนพบว่าเดือนสิงหาคมปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยาตอนบนเพิ่มขึ้นจาก เดือนกรกฎาคมเกือบเท่าตัว และในเดือนกันยายนปริมาณน้ำลดลงเล็กน้อย ส่วนที่สถานีค่ายจิรประวัติปริมาณน้ำช่วงเดือนสิงหาคมเพิ่มสูงขึ้นจากเดือน กรกฎาคมค่อนข้างมากและในเดือนกันยายนระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก เช่นเดียวกันกับสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาสมทบเพิ่มเติมและจากปริมาณฝนที่ตก ในพื้นที่ แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งเดือนจะพบว่าปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาน้อยกว่าที่ ค่ายจิรประวัติเล็กน้อย เนื่องมาจากช่วงที่ปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยามากกว่าที่ค่ายจิรประวัติ เกิดขึ้นเพียงในช่วงวันที่ 14-27 กันยายนเท่านั้น


การเปรียบเทียบปริมาณน้ำไหล ผ่าน(รายวัน)สถานีค่ายจิรประวัติและสถานีท้ายเขื่อนเจ้าพระยาช่วงเดือน กรกฎาคมถึงเดือนกันยายน ของปี 2549 และ 2553
จากกราฟเปรียบเทียบข้อมูลปริมาณน้ำของปี 2553 และปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่เกิดน้ำท่วมหนัก พบว่าปริมาณน้ำของปี 2549 มีค่าสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคม และมีค่าสูงกว่าช่วงเดือนกันยายนของปี 2553 ค่อนข้างมาก โดยปริมาณน้ำที่ค่ายจิรประวัติยังคงสูงกว่าที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา แต่ในปี 2553 ปริมาณน้ำโดยภาพรวมต่ำกว่าปี 2549 แต่ปริมาณน้ำที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาสูงกว่าที่ค่ายจิรประวัติ ในช่วงเดือนกันยายน


แผนภาพฝนสะสมรายเดือน

ค่าสถิติฝนสะสมเฉลี่ยเดือนกรกฎาคม ปี 2493-2540

กรกฎาคม 2549

กรกฎาคม 2553

ค่าสถิติฝนสะสมเฉลี่ยเดือนสิงหาคม ปี 2493-2540

สิงหาคม 2549

สิงหาคม 2553

ค่าสถิติฝนสะสมเฉลี่ยเดือนกันยายน ปี 2493-2540

กันยายน 2549

กันยายน 2553

ช่วงเดือนกรกฎาคม ปี 2553 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือมีค่าน้อยกว่าปี 2549 และน้อยกว่าค่าสถิติ แต่หากพิจารณาพื้นที่ภาคกลางตอนบนเฉพาะจังหวัดชัยนาท นครสวรรค์ และ อุทัยธานี พบว่าปริมาณฝนปี2553 มากกว่าปี 2549 และมากกว่าค่าสถิติเล็กน้อย
ช่วงเดือนสิงหาคม ปี 2553 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบนมีค่ามากกว่าปี 2549 และมากกว่าค่าสถิติ
ช่วงเดือนกันยายน ปี 2553 ปริมาณฝนในพื้นที่ภาคเหนือต่ำกว่าปี 2549 แต่มากกว่าค่าสถิติ แต่หากพิจารณาในพื้นที่ภาคกลางตอนบนบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท และอุทัยธานี พบว่า ปี 2553 มีฝนตกค่อนข้างมากในพื้นที่จังหวัดชัยนาท แต่น้อยกว่าปี 2549 และมากกว่าค่าสถิติ แต่ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี ในปี 2553 ปริมาณฝนต่ำกว่าปี 2549 และต่ำกว่าค่าสถิติ