วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย

การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย


อ. อดิศร ฟุ้งขจร


---------------------------------------------------------------------------------




121 รอยเลื่อนในประเทศไทย

รอยเลื่อน (faults) หรือรอยแตกในเปลือกโลก เป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหว ปริญญา นุตาลัย (2533) ระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 9 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่ทา เถิน แพร่ เมย-อุทัยธานี ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และ คลองมะรุ่ย ส่วนกรมทรัพยากรธรณีระบุว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน ได้แก่ รอยเลื่อนแม่จัน แม่ฮ่องสอน พะเยา แม่ทา ปัว เถิน อุตรดิตถ์ เมย ท่าแขก ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนอง และคลองมะรุ่ย (http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/DMRActiveFault.htm)


รอยเลื่อนมีพลัง 13 รอยเลื่อน (คลิกที่รูปเพื่อดูภาพขยาย)


การระบุว่ารอยเลื่อนใดเป็น “รอยเลื่อนมีพลัง” (active fault) อาศัยนิยามศัพท์จากหน่วยสำรวจธรณีวิทยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (United States Geological Survey: USGS) ที่ว่า “รอยเลื่อนมีพลัง หมายถึง รอยเลื่อนที่จะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นอีกในอนาคต รอยเลื่อนที่จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลังต้องมีการเคลื่อนที่อย่างน้อยหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 10,000 ปี” (http://earthquake.usgs.gov/image_glossary)


การตรวจสอบรอยเลื่อนมีพลังบริเวณประเทศไทยจึงอาศัยหลักการว่า “ตรวจพบแผ่นดินไหวบริเวณรอยเลื่อนใดถือว่ารอยเลื่อนนั้นมีพลัง” เทคนิคคือ ใช้เครื่องตรวจแผ่นดินไหวแบบดิจิตอลออนไลน์ระบบไอริส (Incorporated Research Institutions for Seismology) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่สถานีตรวจแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบข้อมูลแผ่นดินไหวในประเทศไทยที่รู้สึกสั่นสะเทือนระหว่างปีพ.ศ. 2506-2546 การคำนวณพิกัดของศูนย์กลางแผ่นดินไหวอาศัยโปรแกรมไดแมส (Display Interactive Manipulation and Analysis of Seismograms: DIMAS, USGS, 2003) จากนั้นนำผลการคำนวณมาจัดทำฐานข้อมูล แล้วแสดงผลเป็นแผนภูมิกราฟิกทางโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcView GIS Version 3.1) แล้วทับซ้อนด้วยแผนที่รอยเลื่อนจากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อพบว่าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบริเวณรอยเลื่อนใด จึงสรุปว่ารอยเลื่อนนั้นเป็นรอยเลื่อนมีพลัง


จากการตรวจสอบพบว่า ประเทศไทยมีรอยเลื่อนมีพลังจำนวน 45 รอยเลื่อนได้แก่ รอยเลื่อนเชียงแสน แม่จัน แม่อิง มูลาว หนองเขียว เชียงดาว เมืองแหง แม่ฮ่องสอน ขุนยวม แม่ลาหลวง แม่สะเรียง พร้าว ปัว ดอยหมอก วังเหนือ แม่งัด แม่ปิง ดอยปุย แม่ทา อมก๋อย เมืองปาน แม่หยวก แม่ทะ เถิน แม่วัง ท่าสี งาว แม่ติป สามเงา ผาแดง ดอยหลวง แม่ยม แม่กลอง แพร่ อุทัยธานี อุตรดิตถ์ น้ำปาด เขาดำ ท่าอุเทน ศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ เขาราวเทียน ระนอง อ่าวลึก และ คลองมะรุ่ย


รอยเลื่อนในประเทศไทย
จากข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (2546) พบว่าประเทศไทยมีรอยเลื่อนกระจายตั้งแต่เหนือจรดใต้เป็นจำนวนมากดังนี้ 

  1. รอยเลื่อนเชียงแสน พาดผ่านอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  2. รอยเลื่อนแม่จัน พาดผ่านอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอ แม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 101 กิโลเมตร
  3. รอยเลื่อนแม่อิง พาดผ่านอำเภอเทิง อำเภอขุนตาล และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  4. รอยเลื่อนมูลาว พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  5. รอยเลื่อนหนองเขียว พาดผ่านอำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ในแนว ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  6. รอยเลื่อนเชียงดาว พาดผ่านอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  7. รอยเลื่อนเมืองแหง พาดผ่านอำเภอเชียงดาว และอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ กับตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  8. รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
  9. รอยเลื่อนขุนยวม พาดผ่านอำเภอขุนยวม และอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  10. รอยเลื่อนแม่ลาน้อย พาดผ่านอำเภอสบเมย อำเภอแม่สะเรียง และอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 78 กิโลเมตร
  11. รอยเลื่อนแม่ลาหลวง พาดผ่านอำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวาร ในแนวทิศเหนือ-ใต้ และแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  12. รอยเลื่อนแม่สะเรียง พาดผ่านอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก อำเภอสบเมยและอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
  13. รอยเลื่อนพร้าว พาดผ่านอำเภอพร้าว และอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาว ประมาณ 23 กิโลเมตร
  14. รอยเลื่อนดอยหมอก พาดผ่านอำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  15. รอยเลื่อนวังเหนือ พาดผ่านอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  16. รอยเลื่อนแม่งัด พาดผ่านอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหมในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  17. รอยเลื่อนดอยปุย พาดผ่านอำเภอแม่ริม และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  18. รอยเลื่อนแม่ไผ่ พาดผ่านอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน และอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ- ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  19. รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ในแนวโค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  20. รอยเลื่อนจอมทอง พาดผ่านอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศเหนือ-ใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  21. รอยเลื่อนฮอด พาดผ่านอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกัน มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  22. รอยเลื่อนอมก๋อย พาดผ่านอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกันมีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร
  23. รอยเลื่อนเมืองปาน พาดผ่านอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 16 กิโลเมตร
  24. รอยเลื่อนแม่หยวก พาดผ่านอำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  25. รอยเลื่อนแม่ทะ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร 


  26. รอยเลื่อนกิ่วลม พาดผ่านอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  27. รอยเลื่อนแม่วัง พาดผ่านอำเภอเกาะคา และอำเภอเมือง จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนกิ่วลม มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  28. รอยเลื่อนแม่อ่าง พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่วัง มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  29. รอยเลื่อนท่าสี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปาง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนแม่อ่าง มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
  30. รอยเลื่อนงาว พาดผ่านอำเภองาว จังหวัดลำปาง และอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ทางด้านทิศเหนือของรอยเลื่อนท่าสี มีความยาวประมาณ 23 กิโลเมตร
  31. รอยเลื่อนแม่ติป พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนล่าง กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  32. รอยเลื่อนดอยหลวง พาดผ่านอำเภอแม่เมาะ และอำเภองาว จังหวัดลำปางในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางตะวันออก มีความยาวประมาณ 41 กิโลเมตร
  33. รอยเลื่อนวังชิ้น พาดผ่านอำเภอแม่พริก อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง และอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ในแนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
  34. รอยเลื่อนสามเงา พาดผ่านอำเภอบ้านตาก และอำเภอสามเงา จังหวัดตากในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร
  35. รอยเลื่อนผาแดง พาดผ่านอำเภอพบพระ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตากในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  36. รอยเลื่อนลานสาง-วังเจ้า พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  37. รอยเลื่อนอุทัยธานี พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี อำเภอสรรพยา อำเภอมโนรมย์ อำเภอเมือง อำเภอทัพทัน อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอแม่วงก์ อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 178 กิโลเมตร
  38. รอยเลื่อนแม่กลอง พาดผ่านอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 69 กิโลเมตร
  39. รอยเลื่อนแม่ปิง พาดผ่านอำเภอตากฟ้า อำเภอพยุหะคีรี อำเภอเมือง อำเภอเก้าเลี้ยว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอขาณุวรลักษบุรี อำเภอคลองขลุง และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 161 กิโลเมตร
  40. รอยเลื่อนกระเพรียวแดง พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  41. รอยเลื่อนเขาราวเทียน พาดผ่านอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท อำเภอบ้านไร่ อำเภอห้วยคด และอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 94 กิโลเมตร
  42. รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  43. รอยเลื่อนแม่ยม พาดผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ และอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 22 กิโลเมตร
  44. รอยเลื่อนแพร่ พาดผ่านอำเภอเมือง และอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร
  45. รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอนาหมื่น อำเภอนาน้อย อำเภอเวียงสา และอำเภอแม่จริม จังหวัดน่านในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  46. รอยเลื่อนน้ำปาด พาดผ่านอำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่า และอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนอุตรดิตถ์มีความยาวประมาณ 111 กิโลเมตร
  47. รอยเลื่อนเขาดำ พาดผ่านอำเภอทองแสนขัน อำเภอน้ำปาด อำเภอฟากท่าและอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางด้านตะวันออกของรอยเลื่อนน้ำปาด มีความยาวประมาณ 126 กิโลเมตร
  48. รอยเลื่อนน้ำภาค พาดผ่านอำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  49. รอยเลื่อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ อำเภอเมือง อำเภอหล่มสัก และอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
  50. รอยเลื่อนท่าอุเทน พาดผ่านตามแนวพรมแดนไทย-ลาว ด้านอำเภอเมือง อำเภอท่าอุเทน อำเภอบ้านแพง จังหวัดนครพนม อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดหนองคาย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 136 กิโลเมตร 


  51. รอยเลื่อนหนองบัวลำภู พาดผ่านอำเภอหนองบัวลำภู อำเภอนากลางและอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 40 กิโลเมตร
  52. รอยเลื่อนภูเรือ พาดผ่านอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
  53. รอยเลื่อนวังสะพุง พาดผ่านอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  54. รอยเลื่อนภูเขียว พาดผ่านอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอภักดีชุมพรและอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 72 กิโลเมตร
  55. รอยเลื่อนผาหลวง พาดผ่านอำเภอภูหลวง และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 37 กิโลเมตร
  56. รอยเลื่อนแก่งคร้อ พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอคอนสวรรค์ อำเภอแก่งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  57. รอยเลื่อนหนองบัวแดง พาดผ่านอำเภอบ้านเขว้า อำเภอเมือง และอำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
  58. รอยเลื่อนซับไม้แดง พาดผ่านอำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน และอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  59. รอยเลื่อนโคราช พาดผ่านอำเภอครบุรี อำเภอโชคชัย อำเภอเมือง อำเภอขามทะเลสอ อำเภอสูงเนิน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อำเภอศรีเทพ และอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 193 กิโลเมตร
  60. รอยเลื่อนสตึก พาดผ่านอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอชุมพลบุรและอำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 55 กิโลเมตร
  61. รอยเลื่อนลำพญากลาง พาดผ่านตามแนวแบ่งเขตอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  62. รอยเลื่อนท่าจีน พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอสามพราน อำเภอนครชัยศรี อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม อำเภอสองพี่น้อง อำเภอบางปลาม้า อำเภอเมือง อำเภอดอนเจดีย์ อำเภอสามชุก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอหันคา และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบน มีความยาวประมาณ 186 กิโลเมตร
  63. รอยเลื่อนวิเศษชัยชาญ พาดผ่านอำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 11 กิโลเมตร
  64. รอยเลื่อนป่าโมก พาดผ่านอำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอป่าโมก และอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร
  65. รอยเลื่อนผักไห่ พาดผ่านอำเภอบางบาล อำเภอเสนา และอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  66. รอยเลื่อนเจ้าพระยา พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี อำเภอเมือง อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  67. รอยเลื่อนมวกเหล็ก พาดผ่านอำเภอมวกเหล็ก อำเภอวังม่วง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 17 กิโลเมตร
  68. รอยเลื่อนลำตะคอง พาดผ่านอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
  69. รอยเลื่อนหินลับ พาดผ่านอำเภอวังน้ำเขียว และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  70. รอยเลื่อนคลองไผ่ พาดผ่านอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 27 กิโลเมตร
  71. รอยเลื่อนเขาปีป-วังน้ำเย็น พาดผ่านอำเภอวังน้ำเย็น อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว อำเภอสนามชัยเขต อำเภอพนมสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบ้านสร้าง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอศรีมหาโพธและอำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 112 กิโลเมตร
  72. รอยเลื่อนองครักษ์ พาดผ่านอำเภอท่าตะเกียบ อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอพนามสารคาม อำเภอราชสาส์น อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อำเภอหนองแค อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี อำเภอภาชี อำเภอนครหลวง อำเภอท่าเรือ และ อำเภอบ้านแพรกจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 177 กิโลเมตร
  73. รอยเลื่อนพระประแดง พาดผ่านอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เขตหนองแขม เขตบางขุนเทียน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการในแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก มีความยาวประมาณ 33 กิโลเมตร
  74. รอยเลื่อนบางพลี พาดผ่านเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร อำเภอเมือง อำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอบางปะกง จังหวัดสมุทรปราการ และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร
  75. รอยเลื่อนแกลง พาดผ่านอำเภอพนัสนิคม อำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี อำเภอวังจันทร์ และอำเภอแกลงจังหวัดระยอง ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร 


  76. รอยเลื่อนสอยดาว พาดผ่านอำเภอแก่งหางแมว และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
  77. รอยเลื่อนจันทบุรี พาดผ่านอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี อำเภอแก่งหางแมว และอำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 65 กิโลเมตร
  78. รอยเลื่อนปิล็อค พาดผ่านอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรอยเลื่อนคดเคี้ยวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ สลับกับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 118 กิโลเมตร
  79. รอยเลื่อนองค์ทัง พาดผ่านอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี อำเภอศรีสวัสดิ์ และอำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  80. รอยเลื่อนบ่องาม พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 48 กิโลเมตร
  81. รอยเลื่อนไทรโยค พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 116 กิโลเมตร
  82. รอยเลื่อนแควใหญ่ พาดผ่านอำเภอทองผาภูมิ อำเภอไทรโยค และอำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 119 กิโลเมตร
  83. รอยเลื่อนแควน้อย พาดผ่านอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 18 กิโลเมตร
  84. รอยเลื่อนเจ้าเณร พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมือง และอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนบนมีความยาวประมาณ 85 กิโลเมตร
  85. รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พาดผ่านอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 13 กิโลเมตร
  86. รอยเลื่อนจอมบึง พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร
  87. รอยเลื่อนปากท่อ พาดผ่านอำเภอไทรโยค อำเภอด่านมะขามเตี้ย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม อำเภอจอมบึง อำเภอเมือง และอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 89 กิโลเมตร
  88. รอยเลื่อนกุยบุรี พาดผ่านอำเภอปราณบุรี และอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบ-คีรีขันธ์ ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
  89. รอยเลื่อนประจวบ-ทับสะแก พาดผ่านอำเภอบางสะพานน้อย อำเภอบางสะพาน อำเภอทับสะแก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านตะวันออกของอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร
  90. รอยเลื่อนบางสะพาน พาดผ่านอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 56 กิโลเมตร
  91. รอยเลื่อนกระบุรี พาดผ่านอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ตามแนวพรมแดนไทย-พม่า และเลยเข้าไปในทะเลอันดามัน ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 187 กิโลเมตร
  92. รอยเลื่อนท่าแซะ พาดผ่านอำเภอท่าแซะ และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพรในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  93. รอยเลื่อนปากจั่น พาดผ่านอำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง และอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 10 กิโลเมตร
  94. รอยเลื่อนละอุ่น พาดผ่านอำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 36 กิโลเมตร
  95. รอยเลื่อนชุมพร พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 63 กิโลเมตร
  96. รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านอำเภอเมือง อำเภอกะเปอร์ อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง และเลยเข้าไปในทะเลอันดามันทางด้านตะวันตกของอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 98 กิโลเมตร
  97. รอยเลื่อนราชกรูด พาดผ่านอำเภอละอุ่น อำเภอกระเปอร์ จังหวัระนองและอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 45 กิโลเมตร
  98. รอยเลื่อนพะโต๊ะ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ในแนวทิศตะวันออกเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร
  99. รอยเลื่อนสวี พาดผ่านอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร
  100. รอยเลื่อนกะเปอร์ พาดผ่านอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร อำเภอกะเปอร์ และอำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 38 กิโลเมตร

  101. รอยเลื่อนเขาเด่น พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  102. รอยเลื่อนคุระบุรี พาดผ่านอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
  103. รอยเลื่อนเขาย้อย พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง และอำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 39 กิโลเมตร
  104. รอยเลื่อนตะกั่วป่า พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์-ธานี อำเภอคุระบุรี และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ กับแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 34 กิโลเมตร
  105. รอยเลื่อนขนอม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานและทางด้านทิศใต้ของอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 53 กิโลเมตร
  106. รอยเลื่อนสิชล พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและทางด้านทิศใต้ของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 64 กิโลเมตร
  107. รอยเลื่อนไชยา พาดผ่านอำเภอไชยา อำเภอท่าฉาง อำเภอพุนพิน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเลยเข้าไปในอ่าวไทยทางด้านทิศเหนือของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
  108. รอยเลื่อนลำรู่ พาดผ่านอำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า และอำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 54 กิโลเมตร
  109. รอยเลื่อนคลองชล พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
  110. รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย พาดผ่านอำเภอบ้านตาขุน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอทับปุด อำเภอเมือง จังหวัดพังงา และเลยลงไปในทะเลอันดามัน ระหว่างอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตร
  111. รอยเลื่อนอ่าวลึก พาดผ่านทะเลอันดามัน ทางด้านทิศใต้ของอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ และทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 47 กิโลเมตร
  112. รอยเลื่อนเคียนซา-เกาะลันตา พาดผ่านอำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ และเลยลงไปในอ่าวไทยทางด้านทิศตะวันตกของอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตก มีความยาวประมาณ 108 กิโลเมตร
  113. รอยเลื่อนนาสาร-คลองท่อม พาดผ่านอำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอเขาพนม และอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันออกทางตอนบน และแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
  114. รอยเลื่อนเขาหลวง พาดผ่านอำเภอฉวาง และอำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 12 กิโลเมตร
  115. รอยเลื่อนทุ่งสง พาดผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 21 กิโลเมตร
  116. รอยเลื่อนห้วยยอด พาดผ่านอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
  117. รอยเลื่อนทุ่งหว้า พาดผ่านอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และอำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 24 กิโลเมตร
  118. รอยเลื่อนสตูล พาดผ่านอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน และอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 49 กิโลเมตร
  119. รอยเลื่อนสะบ้าย้อย พาดผ่านอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ประกอบด้วยด้วยรอยเลื่อนบริวารในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ทางตอนบน และแนวทิศเหนือ-ใต้ทางตอนล่าง มีความยาวประมาณ 31 กิโลเมตร
  120. รอยเลื่อนยะลา พาดผ่านอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 59 กิโลเมตร
  121. รอยเลื่อนบางลาง พาดผ่านอำเภอธารโต และอำเภอเบตง จังหวัดยะลาในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 28 กิโลเมตร



ที่มา : http://www.naturalsoft.com/faults.html

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

มหาวิบัติภัย กัมมันตรังสี ฟูกุชิมะช็อกโลก

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - นอกจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ จะทำให้ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับหายนะภัยครั้งใหญ่ ทั้งจากแผ่นดินไหวโดยตรงและคลื่นยักษ์สึนามิที่คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงทรัพย์สินที่มิอาจประเมินค่าจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นแล้ว ภัยพิบัติที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับญี่ปุ่นและโลกไม่แพ้กันจนเกิด “วิกฤติซ้อนวิกฤต” เมื่ออาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์ของ “โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์” ที่จังหวัดฟูกุชิมะ เกิดระเบิดขึ้นถึง 4 แห่งด้วยกัน

ทั้งนี้ เนื่องจากจะส่งผลทำให้เกิด “สารกัมมันตรังสี” รั่วไหลออกมาจากอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ จนกระทั่งรัฐบาลญี่ปุ่นประกาศภาวะฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ของประเทศ พร้อมมีคำสั่งให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่มากกว่า 200,000 คน

และไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นเท่านั้น การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีครั้งนี้ยังสร้างความตื่นตระหนกให้กับโลกทั้งโลก สร้างความสั่นสะเทือนต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นที่เยอรมนีที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า 7 แห่งจากทั้งหมด 17 แห่งเป็นการชั่วคราว 3 เดือน เพื่อทบทวนมาตรการต่ออายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2523 หรือการที่รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งให้ทบทวนแผนการในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์

เช่นเดียวกับรัฐบาลหลายประเทศซึ่งรวมถึงอังกฤษ, อิตาลี และเนเธอร์แลนด์ ที่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าญี่ปุ่น หรืออีกหลายประเทศที่มีคำสั่งให้คุมเข้มอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นเนื่องจากเกรงการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

ที่ร้ายกว่านั้นคือเกิดกระแสข่าวลือในโซเชียลเน็ตเวิร์คเกี่ยวกับการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี จนเกิดความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับการกินไอโอดีนเม็ดและการใช้เบตาดีนทาคอเพื่อป้องกันสารกัมมันตรังสี

แน่นอน จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้มีคำถามและปริศนาเกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะมีอยู่มากมาย

ไม่ว่าจะเป็นทำไมประเทศญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้าและมีความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านแผ่นดินไหว สึนามิและนิวเคลียร์ถึงไม่สามารถจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เพราะทำท่าว่า ต้นเหตุการณ์รั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจะเป็นผลมาจากความผิดพลาดของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ

ไม่ว่าจะเป็นความสนใจใคร่รู้ถึงภยันตรายของสารกัมมันตรังสีว่า มีความรุนแรงมากน้อยอย่างไร และจะนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่น่าสะพรึงกลัวเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่

ฟูกุชิมะบึ้มรุนแรงอันดับ 2
หนักกว่าฮิโรชิมา นางาซากิ

การระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะที่มีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด 6 เตา เริ่มต้นขึ้นจากอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ตามต่อด้วยอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 เมื่อวันที่ 14 มี.ค. อาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 และอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 เมื่อวันที่ 15 มี.ค.ตามลำดับ ขณะที่อาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 5 และหมายเลข 6 ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งเดียวกันก็มีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีสิทธิ์เกิดเหตุซ้ำรอยอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์ 4 เตาก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ การระเบิดดังกล่าว เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ที่ทำให้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หยุดทำงานอย่างรวดเร็ว และพร้อมๆ กันนั้นก็ได้ตัดกำลังไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมและปั๊มน้ำ อีกทั้งยังทำให้แหล่งกำเนิดไฟฟ้าสำรองไม่ทำงาน โดยผลที่เกิดขึ้นก็คือแท่งเชื้อเพลิงในแกนเตาปฏิกรณ์มีความร้อนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากขาดน้ำเพื่อใช้หล่อเย็น จนถึงขั้นต้องใช้น้ำทะเลในการระบายความร้อน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนเกิดการสั่งสมของก๊าซไฮโดรเจนที่เพิ่มมากขึ้นจนทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนจนเกิดการระเบิดในที่สุด

และผลของการระเบิดดังกล่าวก็ส่งผลทำให้มีสารกัมมันตรังสีรั่วออกมาจากบริเวณโรงไฟฟ้าและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ โดยนายคันไซ นากาโน่ ประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยสาธารณะ แถลงว่า นับตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ป่วย 96 คน ที่รักษาตัวในโรงพยาบาล ในรัศมี 20 กิโลเมตรรอบโรงงานนิวเคลียร์

นายยูกิโอะ เอดาโนะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า หลังการวัดระดับกัมมันตภาพรังสีในพื้นที่โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะพบเพิ่มสูงขึ้นถึง 1,000 มิลลิซีเวิร์ตส์ ก่อนที่จะลดระดับลงมาอยู่ที่ 800-600 มิลลิซีเวิร์ตส์

ขณะที่ในจังหวัดคานางาวะบริเวณชานกรุงโตเกียว สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า พบปริมาณกัมมันตภาพรังสีสูงกว่ามาตรฐานถึง 8 เท่า

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการป้องกันอันตรายจากรังสีระหว่างประเทศ(ICRP) กำหนดให้ประชาชนทั่วไปรับรังสีได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในปริมาณไม่เกิน 5 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีรับได้ไม่เกิน 50มิลลิซีเวิร์ตส์

หรือหมายความว่า เป็นระดับการแพร่รังสีที่มีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์หลายเท่าตัวทีเดียว
วิกฤตนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นทำให้ “นายนาโอโตะคัง” นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถึงกับต้องอ่านแถลงการณ์ผ่านสถานีโทรทัศน์โดยยอมรับว่า “ปริมาณรังสีถือว่าอยู่ในระดับสูงและเสี่ยงต่อการรั่วไหลเพิ่มขึ้นอีก ขอให้ประชาชนในระยะห่างจากโรงไฟฟ้า 30 กิโลเมตรอยู่แต่ในอาคารบ้านเรือน ถือเป็นเหตุวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดยิ่งกว่าเหตุทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2”

ตามต่อด้วยการที่รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศเขตห้ามบินในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะ เพราะเกรงว่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสี

เช่นเดียวกับ สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งราชวงศ์ญี่ปุ่น ที่มีพระราชดำรัสแสดงความกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับสถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟูกุชิมะซึ่งยังไม่อาจคาดเดาได้ โดยทรงระบุว่า “ข้าพเจ้าหวังอย่างยิ่งว่า เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก” ขณะเดียวกันพระองค์ก็ได้วอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยคุ้มครองประชาชนชาวญี่ปุ่นให้ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เช่นเดียวกับ นายอังเดร โคลด ลาคอสต์ หัวหน้าสำนักงานความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของฝรั่งเศส ที่ระบุว่า วิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะของญี่ปุ่นร้ายแรงกว่าอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่หมู่เกาะทรีไมล์ในรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ในปี 2552 ซึ่งถูกจัดให้เป็นอุบัติเหตุนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงอันดับ 2 ของโลกรองจากอุบัติเหตุที่เมืองเชอร์โนบิลในยูเครนปี 2529

อันตรายของสารกัมมันตรังสีที่ยังคงฝังอยู่ในความทรงจำของคนญี่ปุ่นจากกรณีสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ทำให้การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีครั้งนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับคนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย เมืองหลายเมืองไม่สนคำเตือนของรัฐบาล เช่นที่เมืองโซมะที่อยู่ห่างจากฟูกุชิมะไปทางตอนเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร ชาวบ้านต่างพากันอพยพออกจากตัวเมืองอย่างรีบเร่งจนเมืองมีสภาพไม่ต่างกับเมืองร้าง

ประชาชนในจังหวัดอิบารากิและบางพื้นที่ในโตเกียว ประชาชนต่างแห่ไปซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมากักตุนไว้ ไม่ว่าจะเป็นบะหมี่สำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ไฟฉาย แบตเตอรี่ ถุงนอน รวมถึงแกลลอนใส่เชื้อเพลิง เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสีรั่วไหล

ขณะที่กรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นก็แทบกลายเป็นเมืองร้าง เนื่องเพราะประชาชนพากันหลบอยู่แต่ภายในอาคารบ้านเรือน

นอกจากนี้กระแสข่าวลือเรื่องสารกัมมันตรังสีรั่วไหลยังได้ถูกปล่อยผ่านทางสังคมโซเชียลเน็ตเวิร์คจนทำให้เกิดความหวั่นวิตกไปทั่ว เช่นที่ฟิลิปปินส์ที่ประชาชนแห่กักตุนอาหาร และแห่ซื้อไอโอดีนชนิดเม็ด จนทางการฟิลิปปินส์ต้องออกประกาศยืนยันถึงความปลอดภัยของกัมมันตภาพรังสีดังกล่าว รวมทั้งองค์การอนามัยโลก(WHO) ต้องออกโรงเตือนถึงข่าวลือเรื่องสารกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปทั่วเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ว่า ไม่เป็นความจริง

กระนั้นก็ดีดูเหมือนว่า คำยืนยันของ WHO จะไม่เป็นผลเท่าใดนัก เพราะเมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา สภาพลังงานปรมาณูของไต้หวันออกมาเปิดเผยว่า หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดสารกัมมันตรังสีที่ท่าอากาศยานหลัก 3 แห่งได้ 1 วัน ผลการตรวจมากกว่า 4,400 คน ที่เดินทางมาจากญี่ปุ่นพบว่า 25 คน มีอนุภาคกัมมันตรังสีปนเปื้อนตามเสื้อผ้าและรองเท้า จึงให้เปลี่ยน หรือใช้น้ำสะอาดล้าง ก่อนอนุญาตให้ออกจากท่าอากาศยาน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้ที่ตรวจพบสารกัมมันตรังสีในระดับสูงผิดปกติกับผู้โดยสาร 3 คน ที่โดยสารเครื่องบินมาจากญี่ปุ่น โดยผู้โดยสารคนหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นวัยกว่า 50 ปี เชื่อว่าอาศัยอยู่ที่จังหวัดฟูกุชิมะ สถานที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิดปัญหา ตรวจพบสารกัมมันตรังสีเกิน 1 ไมโครซีเวิร์ตส์ บนหมวกและเสื้อคลุมของเขา ถือว่าสูงกว่าระดับปกติหลายเท่า แต่ไม่ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เจ้าหน้าที่จึงอนุญาตให้ออกจากท่าอากาศยานได้

ลุ้นระทึกคุมอยู่หรือไม่อยู่

จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ว่าทางรัฐบาลญี่ปุ่น รวมทั้งบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ โค (เทปโก) จะออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนว่า สังคมยังคงข้องใจกับกับ “ความเป็นจริง” ที่เกิดขึ้นว่า มีอะไรปิดบังซ่อนเร้นเอาไว้หรือไม่

เพราะขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นและเทปโกยืนยันว่า สารกัมมันตรังสีจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน แต่ภาพเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นก็ทำให้สังคมโลกอดปริวิตกไม่ได้ว่า สถานการณ์ที่ฟูกุชิมะเลวร้ายกว่าที่คิดถึงขั้นที่แกนของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์บางส่วนหลอมละลายไปแล้ว

ทั้งนี้ เนื่องจากหลังจากระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้าไม่ทำงาน สิ่งที่สังคมโลกได้เห็นก็คือ การฉีดน้ำทะเลเข้าไปในระบบหล่อเย็น รวมกระทั่งถึงการใช้เฮลิคอปเตอร์ขึ้นไปโปรยน้ำลงไปยังอาคารควบคุมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพราะถ้าไม่สาหัสหรือวิกฤตจริงๆ วิธีการเหล่านี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น

แน่นอน ผู้ที่ตั้งคำถามและเป็นประเด็นที่ต้องจับตามากที่สุดก็คือ “นายยูคิกะ อามาโนะ” ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศหรือไอเออีเอ ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ที่ออกมาระบุอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า “ต้องการให้รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะต่อไอเออีเอให้มากกว่านี้”

ตามต่อด้วยนายกุนเธอร์ โอตทิงเจอร์ ประธานกรรมาธิการพลังงานของสหภาพยุโรป(อียู) ถึงกับแถลงต่อกรรมาธิการรัฐสภายุโรปเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ว่า สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นอยู่นอกเหนือการควบคุมแล้ว และในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้าอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดหายนภัยที่เลวร้ายลงไปอีก

กระทั่งทางเทปโกเองต้องออกมาแถลงยอมรับว่า เตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือประมาณ 70% ขณะที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 เสียหายประมาณ 33% และคาดว่า แกนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ของเตาทั้งสองอาจหลอมละลายไปแล้วบางส่วน ซึ่งหมายความว่าเทปโกยอมรับกลายๆ ถึงอันตรายที่จะทวีความรุนแรงขึ้น

ขณะที่ข้อมูลจากหลายสายก็เริ่มขยายความให้กว้างขวางขึ้นว่า ทางการญี่ปุ่นเคยได้รับคำเตือนจากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ "ไอเออีเอ" มานานกว่า 2 ปีแล้วถึงความไม่ปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นเร่งปรับปรุงมาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ของตนแต่ทางการญี่ปุ่นกลับเพิกเฉย

ทั้งนี้ เนื่องจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้รับความรุนแรงของแผ่นดินไหวได้ที่ระดับ 7.0 เท่านั้น

ด้าน รศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือเอไอที ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวของไทย ตั้งข้อสังเกตเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผมแปลกใจว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นมันน่าจะทนแผ่นดินไหวได้ดีกว่านี้ แต่อันนนี้ยังไม่รู้รายละเอียดเพราะเราไม่รู้ข้อมูลข้างใน เท่าที่ฟังดูเหมือนกับว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี่สร้างมานานแล้ว 40 ปีแล้ว ตั้งแต่ยุคที่การออกแบบอาจจะไม่ได้รัดกุมมากเท่านี้ ตอนนั้นความรู้ด้านแผ่นดินไหวก็ยังมีน้อยอยู่ จริงๆแล้วประเทศญี่ปุ่นจะมีการเตรียมตัวเรื่องแผ่นดินไหวดีนะ แล้วรู้สึกว่าคราวนี้สึนามิจะมีผลกระทบทำให้ระบบไฟฟ้าเสียหายด้วย แต่ที่จริงแล้วมันควรจะตัดและหยุด shut down ก่อนตั้งแต่รู้ว่าเกิดแผ่นดินไหว ไม่รอจนถึงตอนสึนามิเข้า อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตามข่าว เพราะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างผิดสังเกตอยู่เหมือนกัน ประชาชนญี่ปุ่นก็ชักจะไม่ไว้ใจรัฐบาลว่าปิดข่าวหรือเปล่า บอกว่ารั่วไหลไม่มาก แต่ทำไมให้อพยพ ตอนหลังถึงมายอมรับกัน อันนี้มันทำให้การตัดสินใจของคนผิดไป การที่ทำให้สถานการณ์ดูดีกว่าเหตุ ทั้งที่มันแย่แล้ว”

ที่สำคัญคือ การรั่วไหลดังกล่าวยังสร้างความสั่นสะเทือนต่ออนาคตของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ดังเช่นที่เยอรมนีที่รัฐบาลมีคำสั่งปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้า 7 แห่งจากทั้งหมด 17 แห่งเป็นการชั่วคราว 3 เดือน เพื่อทบทวนมาตรการต่ออายุการใช้งานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2523 หรือการที่รัฐบาลรัสเซียมีคำสั่งให้ทบทวนแผนการในอนาคตทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์

ขณะเดียวกันก็ส่งผลทำให้การสร้างและพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้กลายเป็นโจทย์ใหญ่ของญี่ปุ่นและโลก เพราะแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ริกเตอร์ ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับสภาพโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อให้รองรับสถานการณ์ได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าจะทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างหรือการปรับปรุงแพงขึ้นไปด้วย โดยหากต้องการสร้างให้สามารถทนแรงแผ่นดินไหวอีก 1 ริกเตอร์ก็ต้องเพิ่มค่าผลิตไปอีก 30 เท่า

…ถึงตรงนี้ คงไม่มีใครทราบได้ว่า วิกฤติกัมมันตรังสีรั่วไหลที่ญี่ปุ่นจะยุติลงเมื่อไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือ หายนะภัยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ครั้งนี้น่าจะทำให้โลกตระหนักถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากพลังงานนิวเคลียร์มากขึ้น



*************************************

ไอโอดีน สารซีเซี่ยม สตรอนเดียม
สารกัมมันตรังสีสุดอันตราย

หลังการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ประเทศต่างๆ ได้เฝ้าจับตาสถานการณ์ที่ญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด เนื่องเพราะเกรงว่า สารกัมมันตรังสีที่ปลดปล่อยออกมาจะถูกพัดพาไปยังประเทศของตัวเอง ดังนั้น หลายประเทศจึงมีมาตรการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการออกคำเตือนสำหรับประชาชนของตนเองที่ต้องการเดินทางไปญี่ปุ่น รวมทั้งการตรวจสอบอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่น แม้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจะยืนยันว่า ไม่มีการแพร่รังสีจากญี่ปุ่นไปยังประเทศอื่นๆ ก็ตาม

ทั้งนี้ เนื่องเพราะทุกคนรับรู้ดีว่า การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกายนั้น มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน

นายโจเซฟ มานยาโน่ ผู้อำนวยการบริหารของโครงการสุขอนามัยสาธารณะจากการแผ่รังสี(อาร์พีเอชพี) สหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า การแตกตัวของยูเรเนียมในเตาปฏิกรณ์ นอกจากจะให้ความร้อนที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังก่อให้เกิดสารเคมีใหม่ๆ มากกว่า 100 ชนิดขึ้นในกระบวนการดังกล่าว เมื่อสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายก็จะทะลุทะลวงเซลล์ที่มีสุขภาพดี ทำลายหรือทำให้เซลล์เหล่านั้นสูญเสียความสามารถบางอย่างไป

สารกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นและเป็นภัยต่อสุขภาพสูงสุดประกอบด้วยสารไอโอดีน สารซีเซี่ยมและสตรอนเดียม 90 เพราะสารเหล่านี้เป็นสารเคมีพื้นฐานที่มีอยู่ในร่างกายหรือร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจากเป็นสารเคมีในกลุ่มเดียวกับไอโอดีนและโพแทสเซียม ซึ่งเซลล์สามารถดูดซับได้ทันที ทำให้มีอันตรายสูงกว่าสารเคมีที่มีกัมมันตภาพรังสีตัวอื่นๆ

ทั้งนี้ โรคที่น่าวิตกที่สุดคือโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เพราะต่อมไทรอยด์ไม่สามารถแยกไอโอดีนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีกับไอโอดีนปกติได้ ดังนั้นการแก้ด้วยการกินไอโอดีนเม็ดเพื่อทำให้ร่างกายมีไอโอดีนเพยงพอ ไม่ต้องดูดซับเข้าไปอีกจึงเป็นหนทางแก้ที่ดี

ด้าน นพ. อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ อาจารย์สาขาวิชาศัลยศาสตร์ศีรษะ คอและเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า สารกัมมันตรังสีทำให้เราตายได้ ต่อเมื่อได้รับสารกัมมันตรังสี ปริมาณมากๆ อยู่ใกล้กับแหล่งระเบิดมากๆ จะทำให้เซลล์ของร่างกายหยุดเจริญเติบโต มีแผลตามร่างกาย เม็ดเลือดต่ำทั้งเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ร่างกายอ่อนเพลีย และเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาไม่กี่วัน แต่หากปริมาณรังสีที่ได้รับเป็นจำนวนน้อย อยู่ห่างจากแหล่งที่เกิดระเบิด ปริมาณรังสีนั้นอาจไม่มากพอที่จะทำอันตรายโดยตรงกับร่างกายของเรา แต่อาจทำให้เซลล์บางส่วนผิดปกติ และเกิดเป็นมะเร็งขึ้นภายหลัง ซึ่งหนึ่งในเซลล์ของร่างกาย ที่ไวต่อสารกัมมันตรังสีมากที่สุด คือ ไทรอยด์ ดังนั้น หากต่อมไทรอยด์ของร่างกายได้รับสารรังสีเกินขนาด อาจทำให้เกิดมะเร็งขึ้นในอนาคตได้ อาจจะ 10-20 ปีต่อมา ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ
นอกจากนี้สารกัมมันตรังสี ที่ตกค้างหลังการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจลอยอยู่ในอากาศ และตกลงมาพร้อมกับฝนได้ ดังนั้นการถูกฝนในบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งระเบิดจึงอาจได้รับปริมาณรังสีจากการระเบิดได้ แต่จะเกิดเฉพาะรอบๆ แหล่งระเบิดเท่านั้น แต่ฝนดังกล่าวจะไม่สามารถมาจากญี่ปุ่นถึงไทย

นพ. อดุลย์ กล่าวด้วยว่า น้ำดื่ม ปลา อาหาร ที่อยู่ในบริเวณที่มีการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อาจมีสารกัมมันตรังสีในปริมาณสูง และไอโอดีนเป็นสารที่จับสารกัมมันตรังสีได้เร็วที่สุด ดังนั้นหากรับประทานอาหารจากแหล่งดังกล่าว ต่อมไทรอยด์จะรับสารไอโอดีนที่มีกัมมันตรังสีเข้าไปด้วย จึงเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง แต่ หากต่อมไทรอยด์ได้รับไอโอดีนจนอิ่มแล้ว จะไม่รับไอโอดีนเพิ่มเข้าไปอีก ดังนั้นหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปในปริมาณพอเหมาะ จะทำให้ต่อมไทรอยด์อิ่มและดูดจับไอโอดีนที่มีสารกัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนกับ อาหารและน้ำได้น้อยลง เราจึงเสี่ยงลดลง การกินไอโอดีนเม็ดจึงจำเป็นสำหรับคนที่อยู่ในบริเวณใกล้กับที่เกิดเหตุเท่านั้น แต่การกินไอโอดีนเม็ด จะไม่แนะนำในคนปกติ
เพราะหากร่างกายรับไอโอดีนเข้าไปในปริมาณมากเกิน ต่อมไทรอยด์จะหยุดทำงานชั่วคราว เกิดอาการอ่อนเพลีย แต่หลังจากนั้นประมาณ 3-5 วัน ต่อมไทรอยด์จะทำให้ไอโอดีนที่กินเข้าไปสร้างเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งหากกินไอโอดีนเม็ดเข้าไปมากจะทำให้เกิดภาวะที่ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน (hyperthyroid) หรือ ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายจะอ่อนเพลีย เหนื่อย ผอมลง ดังนั้นคนทั่วไปจึงห้ามกินไอโอดีนเม็ด

อย่างไรก็ตาม ความหวาดกลัวที่อยู่ในจิตใจก็มิอาจขจัดให้หมดไปแล้ว จนกระทั่งเกิดปรากฏการณ์เรื่องการแห่ซื้อไอโอดีนเม็ด โดยสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า วิกฤติการณ์แพร่กระจายของสารกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น ได้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนทั่วโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาเม็ดโปแตสเซียมไอโอไดท์ ซึ่งมีการประมูลทางอินเตอร์เน็ตในราคาห่อละ 500 ดอลลาร์ (ประมาณ 15,285 บาท)

ขณะที่เภสัชกรรายหนึ่งในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย กล่าวว่า "ผู้คนต่างพากันอ่านข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ในญี่ปุ่น แล้วก็พากันซื้อยาเม็ดไอโอไดท์กันขนานใหญ่ แต่ร้านขายยาส่วนใหญ่ไม่ได้สั่งยาชนิดนี้เอาไว้ก่อน"

สำหรับประเทศไทยนั้น ทั้งนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) อธิบายว่า ไอเออีเอได้รายงานถึงสถานการณ์การฟุ้งกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีว่าเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ดังนั้นโอกาสที่ผงฝุ่นกัมมันตภาพรังสีจะมายังประเทศไทยจึงอยู่ในระดับน้อยมาก และไทยมีสถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสี 8 สถานี คือที่เชียงใหม่ พะเยา อุบลราชธานี ขอนแก่น ตราด ระยอง สงขลา และกรุงเทพฯ โดยจะทำหน้าที่ติดตาม ตรวจวัด และเฝ้าระวังรังสีในสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากกิจกรรมทางด้านนิวเคลียร์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

"ล่าสุดผลการตรวจวัดระดับรังสีแกมมาในอากาศ อยู่ในระดับปกติเท่ากับที่เคยวัดได้ก่อนการเกิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่ประเทศญี่ปุ่น สำหรับเมืองไทยรังสีแกมม่าวิ่งอยู่ระหว่าง 40-60 นาโนซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งถ้าเกิดในปริมาณที่มากกว่า 200 นาโนซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ทางสำนักงานปรมาณูต้องลงไปตรวจสอบ ซึ่งทางไทยก็มีทีมงานที่ซ้อมแผนรับมือไว้อยู่ตลอดเวลา และพร้อมที่จะรายงานให้คนไทยได้ทราบหากคาดว่าจะเกิดอันตรายขึ้นต่อประชาชน"

นอกจากนี้ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ ยังได้อธิบายถึงอันตรายของกัมมันตรังสีที่หากมนุษย์รับเข้าไปจะมีผลอย่างไรว่า สำหรับร่างกายมนุษย์สามารถรับสารปนเปื้อน หรือจากสารกัมมันตรังสี 1-3 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี แต่สำหรับคนที่ทำงานในโรงปฏิกรณ์จะให้ได้ 20 มิลลิซีเวิร์ตส์ต่อปี

ส่วนเรื่องการกินไอโอดีนเม็ดนั้น เลขาฯ ชัยวัฒน์อธิบายว่า เนื่องจากว่า ไอโอดีน-131 ที่กระจายออกมาก็เป็นกัมมันตรังสีเช่นกัน ทางญี่ปุ่นจึงจ่ายโอโอดีนเม็ดให้กับกลุ่มเสี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้สารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกายหรือเข้าสู่ร่างกายได้น้อยที่สุด เนื่องจากรับเข้าร่างกายจากการกินเข้าไปก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามการบริโภคต้องอยู่ในการควบคุมที่ถูกต้องเช่นกัน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นก็คงจะประกาศให้ประชาชนรับทราบ ส่วนอันตรายของการสะสมของกัมมันตรังสี ไอโอดีน-131 หากเข้าไปสะสมมากจะสะสมจนเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์

แต่สิ่งที่สังคมต้องไม่ลืมก็คือ สารกัมมันตรังสีที่รั่วออกมาไม่ได้มีแค่ไอโอดีน 131 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียงแค่ 8 วัน หากยังมีสารซีเซียม-137 ที่มีอายุขัยครึ่งชีวิตถึง 30 ปี ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว

**************************************

โศกนาฏกรรมนิวเคลียร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก

- 28 มีนาคม 1979 : สหรัฐฯ สั่งอพยพประชาชนราว 140,000 คน ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัย หลังเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทรีไมล์ไอส์แลนด์ รัฐเพนซิลเวเนีย สาเหตุอุบัติภัยครั้งนั้นเกิดจากแกนเตาปฏิกรณ์ถูกหลอมละลาย ทำให้เกิดการปนเปื้อนรังสี แต่โชคดีที่สารกัมมันตภาพรังสีฟุ้งกระจายเฉพาะพื้นที่ภายในโรงงานเท่านั้น ไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต ความร้ายแรงของเหตุการ์ดังกล่าวอยู่ในระดับ 5 จาก 7 อันดับความร้ายแรงทางนิวเคลียร์ ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ ไอเออีเอ

- สิงหาคม 1979 : เกิดการรั่วไหลของยูเรเนียมในโรงงานนิวเคลียร์ลับ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองเออร์วิน รัฐเทนเนสซี สหรัฐฯ มีพลเรือนปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีไปกว่า 1,000 คน

- มกราคม-มีนาคม 1981 : โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สึรุกะของญี่ปุ่นเกิดเหตุรั่วไหลของรังสี 4 ครั้งติดต่อกัน ข้อมูลจากรัฐบาลกรุงโตเกียวในขณะนั้นระบุ ว่า มีผู้ปนเปื้อนสารพิษ 278 คน

- 26 สิงหาคม 1986 : อุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกอุบัติขึ้น เมื่อเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด หลังการทดลองผิดพลาด มีผู้ปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงราว 200 คน ในจำนวนนี้มี 32 คนเสียชีวิตภายใน 3 เดือน เรื่องราวถูกเปิดเผยในเวลาต่อมา หลังมีกลุ่มเมฆกัมมันตรังสีขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือน่านฟ้าแถบยุโรปเหนือ

หลังเกิดเหตุ มีการบันทึกได้ว่า เกิดฝุ่นรังสีนิวเคลียร์ (fall-out) ปริมาณมากกว่า การทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ถล่มฮิโรชิมาเมื่อปี 1945 ผู้คนนับแสนต้องอพยพหนีตาย จากพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศระบุว่า เป็นอุบัติภัยนิวเคลียร์ครั้งนี้อยู่ในระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด

- เมษายน 1993 : โรงงานแปรสภาพเชื้อเพลิงลับใน เขตตอมสค์-7 ทางตะวันตกของไซบีเรียได้ปล่อยกลุ่มก๊าซกัมมันตภาพรังสี ซึ่งประกอบไปด้วยยูเรเนียม-235 พลูโตเนียม-237 และวัสดุฟิสไซล์ หรือวัสดุธาตุนิวเคลียร์ออกมา ทว่า ไม่มีการเปิดเผยถึงจำนวนผู้บาดเจ็บ ล้มตาย

- พฤศจิกายน 1995 : มีการรายงานเหตุปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีขั้นร้ายแรงในเมืองเชอร์โนบิลอีกครั้ง ระหว่างการเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิงของเตาปฏิกรณ์ตัวหนึ่ง แม้มีความพยายามปกปิดเรื่องดังกล่าว แต่ในที่สุดก็ข่าวก็แดงออกมา

- 11 มีนาคม 1997 : การทดลองในโรงงานนิวเคลียร์ เมืองโทไกมูระ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ต้องหยุดชะงัดชั่วคราว เมื่อเกิดเหตุระเบิด และเพลิงไหม้ ซึ่งมีผู้เคราะห์ร้ายปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี 37 คน

- 30 กันยายน 1999 : มีผู้เสียชีวิต 2 คนจากอุบัติเหตุในโรงงานผลิตยูเรเนียม เมืองโทไกมูระ ญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าร้ายแรงที่สุดตั้งแต่อุบัติภัยเชอร์โนบิล สาเหตุครั้งนี้เกิดจากเจ้าหน้าที่เติมยูเรเนียมลงในถังตกตะกอนมากเกินไป จากความมักง่าย เพื่อต้องการประหยัดเวลา

ทั้งนี้ มีการเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า มีผู้ปนเปื้อนสารพิษมากกว่า 600 คน รัฐบาลสั่งให้ประชาชนอีกกว่า 320,000 คนห้ามออกจากบ้านมากกว่า 1 วัน เจ้าหน้าที่ 2 คน ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาเสียชีวิตอย่างน่าอเนจอนาถที่โรงพยาบาลในอีก 3 เดือน และ 6 เดือนให้หลัง

- 9 สิงหาคม 2004 : คนงาน 4 คนเสียชีวิต และอีก 7 คนถูกเพลิงไหม้ได้รับบาดเจ็บสาหัส จากการรั่วไหลไอน้ำที่ไร้สารกัมมันตภาพรังสี ในโรงงานนิวเคลียร์มิฮามะ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงโตเกียว 350 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หนึ่งในสามตัวของโรงงานหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ เมื่อสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น ก่อนที่ความร้อนสูงจะรั่วไหลจนอาจทำให้แกนกลางหลอมละลาย อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นภัยนิวเคลียร์ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของญี่ปุ่น

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

เตือนไทยสุดเสี่ยง หลังสึนามิถล่มญี่ปุ่นโลกเข้าสู่ภัยพิบัติ หาดพัทยา - อันดามันจม!!

เตือนไทยสุดเสี่ยง หลังสึนามิถล่มญี่ปุ่นโลกเข้าสู่ภัยพิบัติ หาดพัทยา - อันดามันจม!!!
โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์17 มีนาคม 2554 09:02 น.
*สมิทธ ส่งสัญญาณโลกเสี่ยง หลังแกนโลกเอียงเพิ่ม
*โหรดังทำนาย พ.ค.ไทยจ่อคิวเจอสึนามิถล่มอันดามัน
*เตรียมรับมือพลังงาน-สินค้าเกษตร ราคาพุ่งกระฉูด!!

ยังคงเป็นวิกฤตการณ์ต่อเนื่องที่ส่อเค้าว่ายังไม่สิ้นสุดลงง่ายๆ แม้แผ่นดินไหวสูงถึง 9.0 ริกเตอร์และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิถล่มเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นผ่านพ้นไปแล้ว 1 สัปดาห์ แต่สิ่งที่หลายฝ่ายทั่วโลกวิตกกังวลขณะนี้ นอกจากการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าปฏิกรณ์นิวเคลียร์จำนวน 4 แห่งจาก 6 แห่งของญี่ปุ่น (ตัวเลข ณ วันที่ 16 มีนาคม 2554) ที่เมืองฟูกูชิมะ

ยังมีประเด็นเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของแกนโลก ซึ่งครั้งนี้ถูกระบุว่า แผ่นดินไหว 9 ริกเตอร์ และเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ทำให้แกนโลกเปลี่ยนไปและยังทำให้เกาะฮอนชูของญี่ปุ่นขยับไปทางตะวันออกอีก 8 ฟุต จากรายงานของสถาบันธรณีฟิสิกส์จากสหรัฐอเมริกาและอิตาลี

ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ของอเมริกา พบว่า ระบบหาพิกัดดาวเทียม ได้เคลื่อนไป 8 ฟุต และเมื่อดูจากแผนที่ของสำนักงานข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือ GSI ในญี่ปุ่น ก็พบว่า ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ขณะที่รายงานของสถาบันธรณีฟิสิกส์และภูเขาไฟในอิตาลี ได้ประเมินว่า แผ่นดินไหวที่มีแรงสั่นสะเทือนถึง 8.9 ริกเตอร์ ทำให้เแกนโลกขยับไปเกือบ 10 เซนติเมตร เช่นกัน ทั้งนี้ การขยับตัวของแกนโลก หลังจากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ในอดีตเคยเกิดขึ้นมาแล้วเช่นกัน ล่าสุด คือ เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.8 ริกเตอร์ที่ประเทศชิลี เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2553 ครั้งนั้น มีนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์เที่ยวบิน องค์กรบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือนาซา ยืนยันว่า ทำให้แกนของโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิม 8 เซนติเมตร

บิ๊กมูฟจากแผ่นดินไหว

ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์นาซาคนดังกล่าว มองว่า แม้จะไม่สำคัญเท่าใดนัก แต่ก็เปลี่ยนไปจากตำแหน่งเดิมอย่างถาวร อีกทั้งยังส่งผลให้ระยะเวลาใน 1 วันสั้นหรือช้าลงไป 1.26 ไมโครวินาที (1 ไมโครวินาที เท่ากับ 1 ในล้านวินาที) เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวที่ส่งผลต่อการหมุนรอบตัวเองของโลก มีผลไปถึงการกำหนดระยะเวลาของวันด้วย นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองโดยเปรียบเทียบกับนักสเกต หากใช้แขนแกว่งเข้าช่วย จะทำให้การเคลื่อนที่เร็วขึ้น

ขณะที่นักธรณีฟิสิกส์ของห้องทดลองขับเคลื่อนพลังงานไอพ่นขององค์การนาซา เมืองพาซาเดนา รัฐแคลิฟอร์เนีย ก็เคยทดลอง โดยใช้คอมพิวเตอร์จำลองแบบเหตุแผ่นดินไหว 8.8 ริกเตอร์ ที่ชิลี เมื่อวันที่ 27 ก.พ.ว่าจะมีผลอย่างไรต่อโลกบ้าง และพบว่าแกนของโลกเอียงไป 3 นิ้ว หรือ 8 ซม. ซึ่งหากแกนโลกเอียงจากเดิมจะทำให้ระยะเวลาสั้นลงไป ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาได้มีแผ่นดินไหว 9.1 ริกเตอร์เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2547 เกิดคลื่นยักษ์สึนามิรุนแรง และทำให้เวลาสั้นลงไป 6.8 ไมโครวินาทีเช่นกัน

แกนโลกเอียง
เหวี่ยงอากาศรุนแรง

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากแกนโลกเอียงนั้น ในมุมมองของนักฟิสิกส์ นักธรณีวิทยา และนักวิชาการด้านอุตุนิยมวิทยาของไทยในปัจจุบัน เห็นพ้องกันว่า เมื่อแกนโลกเอียงมากขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลกอย่างแน่นอน ส่วนจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับว่า แกนโลกที่เอียงนั้น มีองศามากหรือน้อยขนาดไหน หากแกนโลกเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ ซึ่งมีพลังงานความร้อนสูง จะทำให้อากาศของโลกร้อนจัดขึ้น แต่หากแกนโลกเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศโลกเย็นหรือหนาวมากขึ้น

“จากนี้ไปสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตแน่นอน เพราะการเอียงของแกนโลกกับดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์กัน เพราะไม่ว่าแกนโลกจะเอียงเข้าหรือเอียงออก มันมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลกอย่างแน่นอน” สมิทธ ธรรมสโรช อดีตประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ให้ความเห็นกับ “ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์”

เช่นเดียวกับ นักวิชาการฟิสิกส์ ผศ.พงษ์ ทรงพงษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเช่นกันว่า หากแกนโลกเอียงมากขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก เพราะโลกไม่สามารถปรับเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง หรือยุคอบอุ่นได้ตามวัฏจักร เนื่องจากแกนโลก มีความสัมพันธ์กับการเกิดฤดูกาล และช่วงเวลาระหว่าง กลางวัน และกลางคืน ซึ่งเป็นไปตามกฎของธรรมชาติ

ต่อกรณีที่เกิดขึ้น อาจารย์สมิธ บอกว่า อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลศึกษาอย่างละเอียด โดยพิจารณาว่า แกนโลกเอียงขนาดใด เอียงแล้วผลกระทบต่อรังสีดวงอาทิตย์เป็นอย่างไรบ้าง เพราะขณะนี้รังสีจากดวงอาทิตย์ระเบิดอยู่ มีลมสุริยะออกมา จะมีผลกระทบต่อพื้นโลกแค่ไหน จะทำให้อากาศร้อนมากขึ้นหรือไม่ ฤดูกาลจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือฤดูกาลยาวนานขึ้นหรือไม่ ขณะนี้ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบอยู่แล้ว โดยเฉพาะฝนไม่ตกเป็นแรมเดือน

กรณีแกนโลกเอียงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศได้เคยส่งผลกระทบต่อโลกและประเทศต่างๆมาแล้ว โดยเมื่อปี 2552 อาจารย์สมิธได้ศึกษาข้อมูลจากสมาคมดาราศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ ระบุว่า โดยขณะนี้ (เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา) โลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในรอบ 9 หมื่นปี ทำให้โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ หากแกนของโลกขนานกับดวงอาทิตย์ หรือแกนของโลกเอียงมากขึ้น ซึ่งปรกติแกนโลกที่เอียง 22.5 องศา

แต่เวลานั้นได้เอียงผิดปรกติ เข้าหาดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นเป็น 24 องศา (จากคำยืนยันของ สมาคมดาราศาสตร์ไทย) ทำให้เกิดสภาวะขั้วโลกเหนือเย็นลงและมีมวลอากาศเย็นมาถึงเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศหนาวเย็นนาน และมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือรุนแรง ทำให้เกิดคลื่นซัดฝั่งในอ่าวไทยภาคตะวันออก ทำให้เกิดความเสียหายหลายแห่ง ขณะเดียวกัน เมื่อพ้นฤดูหนาวไปแล้ว แกนของโลกเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ในเดือนกรกฎาคมมากที่สุด ทำให้ซีกโลกภาคเหนือรวมทั้งประเทศไทยจะมีอุณหภูมิสูง มีการคาดการณ์ว่าโลกอุ่นขึ้นและร้อนขึ้นในพื้นที่ซีกโลกภาคเหนือ

“เวลานั้น (ปี 2552) ซีกโลกเหนือหันเข้าดวงอาทิตย์อากาศอุ่น แต่ออสเตรเลียอยู่ในพื้นที่โลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้อุณหภูมิประเทศสูงมากถึง 45 องศา ทำให้เล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น เทนนิส กันไม่ได้เลย”

สำหรับสาเหตุของแกนโลกเอียงนั้น อาจารย์สมิธ บอกว่า เป็นธรรมชาติของโลกที่หมุนเอียงในลักษณะแบบนี้ทุก 41,000 ปี โดยทุกๆ ปี 41000 ปี โลกจะเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ จากนั้นตั้งตรงและเอียงออกจากดวงอาทิตย์ ถือเป็นวัฏจักรธรรมชาติ ซึ่งในครั้งนั้นอาจเป็นรอบ 41,000 ปีก็เป็นได้ แต่สมมติฐานนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดังกล่าว ยังเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน เพราะการโคจรของโลกในวงจรวงรี ซึ่งหมายความว่า ในวงรีจะมีส่วนที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดจังหวะหนึ่ง และห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดจังหวะหนึ่ง มันมีผลกระทบต่อโลกอยู่แล้วโดยธรรมชาติ แต่ถ้าหากมนุษย์ทำให้พื้นที่โลกร้อนขึ้น โดยพลังงานอื่น ก็ทำให้บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้ต้นปีอากาศหนาวนาน มีอากาศร้อนสูงขึ้น มีฝนตกหนักน้ำท่วม รวมทั้งมีพายุบ่อยครั้งขึ้น เป็นต้น

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภูมิอากาศของโลกไม่ว่า ร้อนจัดขึ้น หรือเย็นมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จาก สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) เป็นหนึ่ง วานิชชัย ยังบอกว่า อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติประเภทต่างๆ ตามมา อาทิ การเกิดพายุไซโคลนเพิ่มขึ้น มีฝนตกหนักและมากขึ้น น้ำท่วมและโคลนถล่ม หรือบางพื้นที่แห้งแล้งมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ แต่ผลกระทบต่อภัยพิบัติด้านแผ่นดินไหวหรือคลื่นยักษ์สึนามิ จะไม่มีผลเกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ เพราะกลไกการเกิดปัญหาคนละประเภทกัน

แกนโลกเอียง
วัฏจักรธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม การส่งผลกระทบต่อโลก กรณีแกนโลกเอียงมากขึ้นและทำให้เวลาสั้นลงนั้น นักวิชาการบางส่วน มองว่า เป็นเพียงการขยับของเปลือกโลกไม่ใช่แกนโลก ไม่น่าจะส่งผลต่อโลก โดยเป็นภาวะปรกติของโลกที่เอียงและหมุนรอบตัวเอง และหมุนเอียงที่ระดับบวกและลบ 23.5-24 องศา เป็นภาวะปรกติอยู่แล้ว มีการเปลี่ยนกลับไปกลับมาเป็นคาบ โดยใช้ระยะเวลานานถึง 41,000 ปี และเป็นแบบนี้มานานถึง 600,000 ปี และจะมีการเอียงแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ

ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล นักวิชาการ ภาคธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า การขยับของแกนโลกดังกล่าว ไม่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นวัฏจักรหมุนเวียนเกิดขึ้นมาหลายล้านปีอยู่แล้ว หากพิจารณาจากหลักวิชาการเกี่ยวกับแกนโลก ประกอบด้วย 3 แกน ได้แก่ แกนที่ 1 เรียกว่า Earth Pole แกนโลก มีองศาอยู่ 22.5-24.5 หมุนรอบตัวเองและมีแรงขยับในวงรอบละ 41,000 ปี ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า แกนโลกนี้มีการขยับเป็นมุมน้อยลงประมาณ 0.475 พิลิปดาต่อปี มันเป็นวัฏจักร ทำให้โลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง

แกนที่ 2 เรียก Magnetic Pole หรือแกนขั้วแม่เหล็กโลก เป็นแกนที่บางครั้งมีการสลับขั้วแบบเหนือ-ใต้ เป็นกลไกอีกวัฏจักร ส่วนแกนที่ 3 Earth Figure Axist แกนรูปทรงสัณฐานโลก เป็นแกนระบุว่า โลกไม่ได้มีลักษณะกลมเหมือนลูกปิงปอง แต่มีลักษณะแป้นคล้ายผลส้ม ตรงกลางป่อง และด้านบนมีลักษณะแบน โดยแกนดังกล่าวนี้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ทั้งนี้ แกนโลกที่ 1 และแกนที่ 3 มีลักษณะสัมพันธ์กัน พบว่า การขยับของแกนโลกจริงๆแบบที่ 1 มันทำให้เกิดการขยับตัวของเปลือกโลกเร็วขึ้น เนื่องจากจุดศูนย์ถ่วงเปลี่ยน เพราะกลไกเปลือกโลกเหมือนเปลือกไข่ที่มีรอยร้าว โดยข้างในมีเนื้อไข่ ดังนั้นเมื่อแกนโลกขยับด้วยมุมน้อยลง ทำให้เปลือกโลกมีการขยับตัวเร็วขึ้น ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวตามที่ต่างๆ โดย 10 ปีที่ผ่านมาแกนโลกขยับแล้วเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ประเทศต่างๆ ขณะเดียวกัน ก่อให้เกิดการสมดุลของรูปทรงโลก ยกตัวอย่าง เช่น แผ่นดินไหวที่ชิลี มีการขยับตัวของแกนโลกประมาณ 3 เมตร โดยปี 2004 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9. 1 ริกเตอร์ บริเวณอาเจะ ของอินโดนีเซีย มีการขยับตัวแกนโลกประมาณ 2 เมตร

ล่าสุดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นขนาด 9 ริกเตอร์มีการขยับตัวไปทางตะวันออกประมาณ 2.40 เมตร อันทำให้รูปทรงเปลี่ยน อันทำให้แกนรูปทรงโลกเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งปกติแกนโลกที่ 1 และแกนโลกที่ 3 มีระยะห่างกันประมาณ 10 เมตร ไม่ใช่แกนเดียวกัน ทำให้โลกหมุนรอบตัวเองช้าลงประมาณ 1.6 ไมโครเซค ดังนั้น จึงไม่มีผลต่อสภาพภูมิอากาศของโลกแต่อย่างใด

ไทยเสี่ยง “หาดพัทยาจม”
ท่องเที่ยวฝั่งอันดามันสูญ 1.3 หมื่นไร่

ด้านศูนย์วิจัย SCB EIC ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (Climate Change) ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ โดยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย เมธินี จงสฤษดิ์หวัง ให้ความเห็นว่า ปัจจุบันไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศเสี่ยงสูงสุดจากผลกระทบของ Climate change ในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยมีความเสี่ยงเอ็นอันดับ 14 จาก 170 ประเทศทั่วโลก

ทั้งนี้ ความหมายแท้จริง Climate Change นี้ นักวิเคราะห์ของศูนย์วิจัย SCB ระบุว่า ไม่ใช่แค่อากาศร้อนขึ้น หรือที่เรียกว่า global warming แต่ยังรวมถึงสภาพอากาศที่แปรปรวนมากขึ้นด้วย คือฤดูร้อนจะร้อนขึ้น แล้งขึ้นและกินเวลานานขึ้น ฤดูหนาวจะสั้นลง ปริมาณฝนแปรปรวนสูงและผิดฤดูกาล และภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดบ่อยและรุนแรงขึ้น ผลกระทบของClimate Change หลัก มี 3 ส่วน ได้แก่ (1) ความต้องการพลังงานและราคาพลังงาน (2) ปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและราคาสินค้าเกษตร (3) ปริมาณและคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวรวมทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย

“ตัวอย่างผลกระทบที่เห็นชัดเจน คือ การกัดเซาะชายฝั่งและปัญหาปะการังฟอกขาว ซึ่งกระทบแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด หากปล่อยทิ้งไว้และสถานการณ์กัดเซาะรุนแรงขึ้น ภายในเวลา 5 ปี พื้นที่ชายฝั่งอันดามันอาจหายไปสูงสุดถึง 13,000 ไร่ เช่นเดียวกับหาดพัทยาที่อาจหมดไป นอกจากนี้ อุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นยังทำให้เกิดปะการังฟอกขาวที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์อีกด้วย”

ดังนั้น Climate change จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะ climate change ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ก่อให้เกิดข้อตกลงและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นสำหรับสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่ามาตรฐาน การออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่มีการรณรงค์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือแม้แต่การนำรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) มาใช้ ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นแรงกดดันทางการค้าและความท้าทายให้ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัว

ภาพจากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
Super Moon ลางบอกเหตุ ?

นอกจากปรากฎการณ์ดังกล่าว ในคืนวันที่ 19 ต่อเนื่องถึง 20 มีนาคม 2554 คาดการณ์กันว่าจะเกิดSuper Moon หรือดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก ถูกนำมาเชื่อมโยงว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และเกิดสึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่นเมื่อ 11 มีนาคมที่ผ่านมาหรือไม่ โดยที่ก่อนหน้านั้นได้มีนักโหราศาสตร์อย่างเคน ริง ได้เคยทำนายเหตุการณ์ซูเปอร์มูนไว้เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ว่าจะเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่เมืองไครซท์เชิร์ท ประเทศนิวซีแลนด์ระหว่าง 15-28 กุมภาพันธ์ และได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจริงในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากนั้นเพียง 3 สัปดาห์ก็เกิดเหตุขึ้นที่ญี่ปุ่น

การที่ดวงจันทร์โคจรมาใกล้โลกเมื่อคืนวันที่ 19 มีนาคมนับว่าเป็นการโคจรเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 19 ปี ส่งผลให้เราจะได้เห็นดวงจันทร์ดวงใหญ่ขึ้นกว่าเดิม 14% และแสงสว่างจากดวงจันทร์จะเพิ่มขึ้นกว่าดวงจันทร์เต็มดวงช่วงปกติอีก 30%

แม้ว่าในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์และนักดาราศาสตร์จะให้ความสำคัญกับปรากฎการณ์ของดวงจันทร์ มีผลต่อระดับน้ำขึ้นน้ำลงเท่านั้น ไม่น่าจะมีผลต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ แต่หากย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดซูเปอร์มูนได้เคยเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเช่น ในปี ค.ศ.1938 พายุเฮอริเคนได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับซูเปอร์มูน ในปี ค.ศ.1955 ได้เกิดน้ำท่วมในฮันเตอร์วัลเลย์ ในออสเตรเลียในช่วงซูเปอร์มูนเช่นกัน และในปี ค.ศ.1974 ซูเปอร์มูนก็เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับพายุไซโคลนเทรซี่ ที่สร้างความเสียหายมหาศาลในเมืองดาร์วิน ออสเตรเลีย ส่วนในปี ค.ศ.2005 ก่อนที่จะเกิดปรากฎการณ์ซูเปอร์มูนเพียงไม่กี่วัน ก็มีเหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย คร่าชีวิตผู้คนหลายหมื่นคน ทำให้หลายคนเชื่อว่า มีความเป็นไปได้ที่การเกิดซูเปอร์มูนครั้งนี้จะมาพร้อมกับภัยพิบัติบางอย่างเช่นกัน

ไม่ว่าความเกี่ยวพันธ์ระหว่างปรากฎการณ์ Super Moon จะมีส่วนต่อการเกิดภัยพิบัติในโลกนี้ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจริงหรือไม่ แต่ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกในทุกวันนี้สังเกตุได้ว่ามีความถี่และรุนแรงมากขึ้น ยากที่จะคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดและจะกวาดต้อนชีวิตของผู้คนไปมากน้อยเพียงใด

************

Climate change มหันตภัยร้าย
ดันราคาพลังงาน-พืชผลเกษตรทะยาน

Climate change ภัยใกล้ตัว ดันราคาพลังงาน-สินค้าเกษตรแพงสุดขั้ว แถมทำลายแหล่งท่องเที่ยวอันดามันและอ่าวไทย SCB EIC ฟันธง ใน 5 ปี ทำพัทยาหายทั้งหาด ฟากฝั่งอันดามัน พื้นที่ชายหาด็จมไปในทะเล 13,000 ไร่ ชี้นักท่องเที่ยวต่างชาติหายแน่

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง ผู้อำนวยการ (Head of Research) SCB EIC (Economic Intelligence Center) เปิดเผยผลศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก (Climate change) รวมทั้งผลกระทบของ Climate change ที่มีต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่พบผลการศึกษาที่เผยแพร่ทั่วไปในไทย โดยการศึกษาได้มุ่งเน้นไปที่ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่เกิดจาก Climate change และการมุ่งสู่กระแสเศรษฐกิจสีเขียว (green economy) ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือและเร่งปรับตัว

จากการศึกษาพบว่า Climate change ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป โดยสถานการณ์ Climate change ที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยใน 3 ภาคธุรกิจหลัก ได้แก่ ราคาพลังงานสูงขึ้น ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวลดลง ขณะที่ภาคธุรกิจต่างๆ ก็มีแนวโน้มได้รับผลกระทบในวงกว้างขึ้นด้วย

เมธินี กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับที่ 25 ของโลก ขณะที่กรุงเทพฯ มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในปริมาณที่เกือบเท่ากับลอนดอน ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าถึงเกือบ 10 เท่า ซึ่งจะทำให้ความต้องการและราคาพลังงานสูงขึ้น โดยคาดว่าความต้องการพลังงานโลกมีแนวโน้มเติบโตราว 1.2% ต่อปี ในอีก 20 กว่าปีข้างหน้า รวมทั้งทำให้ความต้องการพลังงานทดแทนมีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วและเกิดการรุกพื้นที่เพื่อปลูกพืชพลังงานมากขึ้น

ผลผลิตเกษตรลดฮวบ

นอกจากนี้ ยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงและราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น สำหรับไทยพบว่า ภาวะแห้งแล้งผิดปรกติในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีผลให้ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศลดลงต่อเนื่องราว 3% ต่อปี และทำให้ผลผลิตพืชผลหลักลดลงราว 2% ต่อปี ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวและจำนวนนักท่องเที่ยวในไทย ที่เห็นชัดเจนคือ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและความเสียหายจากปะการังฟอกขาวที่รุนแรงที่สุด ซึ่งเป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงกว่า 5 ล้านคนต่อปี หรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในไทย หากปล่อยทิ้งไว้ พื้นที่แถบชายฝั่งอันดามันอาจหายไปสูงสุดถึง 13,000 ไร่ หรือเกือบ 15% ของเนื้อที่ทั้งหมดของ 4 จังหวัดที่ถูกกระทบ

ขณะที่ ปราณิดา ศยามานนท์ นักวิเคราะห์อาวุโสของ SCB EIC กล่าวว่า นอกจากผลกระทบที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว Climate change ยังมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจต่างๆ ในวงกว้าง ทั้งในแง่ปัญหาการขาดแคลนปัจจัยการผลิตและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาน้ำมันและวัตถุดิบทางการเกษตรเป็นปัจจัยการผลิตสูง รวมไปถึงธุรกิจอื่นๆ ที่มีปัจจัยการผลิตเชื่อมโยงกับภาคท่องเที่ยว และธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น ขนส่งและคมนาคม ปิโตรเลียม เหล็ก และปูนซีเมนต์ ซึ่งอาจต้องถูกเก็บภาษีในอัตราที่สูงขึ้นหรือซื้อคาร์บอนเครดิต หากมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด หรือแม้แต่ต้องเผชิญกับการกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งกลายเป็นแรงกดดันสำคัญให้ผู้ประกอบการไทยต้องเร่งปรับตัว

สำหรับผลกระทบต่อความต้องการพลังงานและราคาพลังงาน ทำให้ความต้องการพลังงานของโลกเติบโตต่อเนื่อง โดย International Energy Agency (IEA) คาดว่าความต้องการพลังงานของโลกจะขยายตัว 1.2% ต่อปี ในอีก 20 กว่าปีข้างหน้า ซึ่งมีผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 200 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หรือเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2010 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

ไม่เพียงแต่ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แต่ Climate change ยังทำให้มีการรุกพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหาร ความต้องการพลังงานและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้พลังงานทดแทนมีแนวโน้มเติบโตเร็วมากราว 2 เท่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นที่มาของการรุกพื้นที่เพื่อปลูกพืชพลังงาน โดย IEA คาดการณ์สัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นจากราว 7% เป็น 14% ในอีก 20 ปีข้างหน้า ส่งผลให้มีการเร่งขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน โดยเฉพาะ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด และถั่วเหลือง เช่น ราคาปาล์มน้ำมันที่เติบโตราว 10% ต่อปี มีผลให้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้นไม่เพียงแต่การขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน แต่พื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารบางส่วน เช่น นาข้าวในบางพื้นที่ถูกปรับเปลี่ยนมาใช้ในการปลูกพืชพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้โอกาสในการเกิดวิกฤตอาหารมีมากขึ้นด้วย

Climate change ยังส่งผลประทบต่อผลผลิตทางการเกษตรและราคาสินค้าเกษตรด้วย ทั้งนี้ ความแปรปรวนของสภาพอากาศและภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผลผลิตพืชผลลดลงราว 2% ต่อปี นอกจากนี้อุทกภัยครั้งล่าสุดในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยังส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมของประเทศเสียหายรวมกันกว่า 10 ล้านไร่ หรือเกือบ 10% ของพื้นที่ทำการเกษตรทั่วประเทศที่ประมาณ 130 ล้านไร่ ซึ่งถือเป็นความเสียหายจากอุทกภัยที่รุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี

จากรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ความต้องการพืชอาหารประเภทธัญพืชของผู้บริโภคในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอีก 20 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าปริมาณผลผลิตที่ผลิตได้ถึงกว่า 16% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตทั่วโลกที่ลดลงจากสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมถึงการแย่งพื้นที่เพาะปลูก ระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะ “food price shock” และกดดันให้ราคาพืชอาหารประเภทธัญพืชมีแนวโน้มสูงขึ้นประมาณ 15-40% จากราคาเฉลี่ยในช่วงปรกติระหว่างปี 1997-2006

โดยคาดว่าราคาพืชพลังงานจะเพิ่มขึ้นประมาณ 40% จากปัจจุบัน จากความตื่นตัวในเรื่องการใช้พลังงานทดแทนจากพืชเพื่อลดการพึ่งพาน้ำมัน เห็นได้จากแนวโน้มการผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซลในเชิงพาณิชย์กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการพืชพลังงาน เช่น น้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นมาก จากประเทศในกลุ่มอเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย

แหล่งท่องเที่ยวถูกทำลายหนัก

ไม่เพียงแค่นั้น Climate change จะส่งผลกระทบต่อปริมาณแหล่งท่องเที่ยวในแถบชายฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทยซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงกว่า 5 ล้านคนต่อปี หรือเกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด แต่ยังมีผลต่อคุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวและระบบนิเวศทางทะเลด้วย ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นและปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงทั้งในแถบทะเลอันดามันและอ่าวไทย ถือเป็นภัยเงียบที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของความลาดชันและพื้นที่หน้าหาด ซึ่งเป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงกว่า 30% ของทั้งหมด แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพราะ Climate change ยังกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล เห็นได้ชัดจากปัญหาปะการังฟอกขาวในพื้นที่แถบชายฝั่งทะเลอันดามันที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์จากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น

เมธินี กล่าวต่อว่า หากไม่ได้รับการดูแล การกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงอาจทำให้พื้นที่แถบชายฝั่งอันดามันหายไปสูงสุดถึง 13,000 ไร่ ภายใน 5 ปี ซึ่งจะกระทบแหล่งท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงกว่า 3 ล้านคนต่อปี หรือประมาณ 1 ใน 5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด ผลกระทบของ Climate change ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ซึ่งมีผลให้พื้นที่ชายหาดแคบลงและอาจสูญหายไปในบางพื้นที่ รวมทั้งมีผลต่อความลาดชันหน้าหาด ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า ระดับน้ำทะเลในไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 4 มิลลิเมตรต่อปี

โดยจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญแถบชายฝั่งทะเลอันดามันที่มีความเสี่ยงถูกกัดเซาะรุนแรงในอัตราเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี คือ พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง ซึ่งเป็นแหล่งรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติถึงประมาณ 20% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในไทย หากไม่รีบดำเนินการแก้ไข และสถานการณ์การกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายในระยะเวลา 5 ปี พื้นที่แถบชายฝั่งทะเลของจังหวัดเหล่านี้อาจหายไปสูงสุดถึง 13,000 ไร่ หรือประมาณ 15% ของพื้นที่ทั้งหมด

ฝั่งอ่าวไทยเข้าข่ายวิกฤต

เช่นเดียวกับฝั่งอ่าวไทยที่ถูกกัดเซาะถึงขั้นวิกฤตแล้ว โดยเฉพาะหาดพัทยาซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 2.5 ล้านคนต่อปี หากปล่อยทิ้งไว้ หาดพัทยาอาจหายไปในเวลาไม่ถึง 5 ปี จากการศึกษาของสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเมืองพัทยา ระบุว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา อัตราการกัดเซาะชายฝั่งของหาดพัทยาอยู่ที่ประมาณเกือบ 2 เมตรต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนสูงและสภาพการใช้ที่ดินริมหาดที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหากไม่มีการเร่งดำเนินโครงการถมทรายเพื่อสร้างหาดเทียม (beach nourishment) หรือสร้างแนวกันคลื่น หาดพัทยาอาจหมดไปภายในเวลา 5 ปี

***********

เปิดคำทำนายภัยพิบัติในไทยปี 2554

พยากรณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติประเทศไทย ปีนี้จะรุนแรงกว่าทุกปี “โหรชื่อดังโสรัจจะ” ทำนายเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม จากแผ่นดินไหวที่ “เกาะสุมาตรา” ก่อตัวเป็น “คลื่นยักษ์สึนามิ” ถล่มชายฝั่งทะเลอันดามัน สร้างความเสียหายกว่าปี 47

คำทำนายเชิงโหราศาสตร์ การคาดการณ์ที่มีความเป็นไปได้จริง แต่ระยะเวลาอาจคลาดเคลื่อน “โหรโสรัจจะ นวลอยู่” นอสตราดามุสเมืองไทย มีการทำนายเหตุการณ์สึนามิเมื่อ 26 ธันวาคมปี 2547 ได้อย่างแม่นยำ และจากนั้นทุกๆ ปีที่ผ่านมา คำทำนาย “โหรโสรัจจะ” ได้ทำนายเหตุการณ์เกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหว และสึนามิที่จะเกิดขึ้นที่ประเทศไทยมาตลอดทุกๆ ปี

ล่าสุดปรากฏการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับประเทศญี่ปุ่นนั้น “โหรโสรัจจะ” กล่าวกับผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ว่า ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวและมีสึนามิที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศญี่ปุ่น กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศไทย

เหตุการณ์จะเป็นไปตามดังทำนายไว้ในหนังสือ “ศาสตร์แห่งโหร” อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์สึนามิขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เกรงว่าจะทำให้สังคมแตกตื่นกันไปมากขึ้น ซึ่งการพยากรณ์เป็นการเตือนภัย หรือเฝ้าระวังมากกว่า เพื่อไม่ให้ทุกคน ทุกฝ่ายประมาทในเรื่องที่ทำนายไว้

คำทำนายในอนาคต พยากรณ์ปี 2554 ไว้ในหนังสือศาสตร์แห่งโหร ฉบับพิเศษ “รู้ทันดวงกับโหรดัง 2554” ที่ว่า จะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติสุดมหาหฤโหดไปทั่วโลก

สิ่งเหล่านี้ เกิดขึ้นจากอิทธิพลของการโคจรของดวงดาวในปีเถาะ เป็นสิ่งวิปริตผิดอาเพศมากกว่าปีที่ผ่านมาอย่างใหญ่หลวง ดาวสีเลือดได้รับแสงจากดาวมฤตยูในช่วงเดือน มี.ค.2554 เป็นดาวปฏิวัติคะนองเลือดในมุมร่วมธาตุ ย่อมเกิดสภาพการเดือดพลุ่งพล่านไม่สงบ เดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า แต่ยังน้อยกว่า มหันตภัยที่ใหญ่กว่ามากหลายร้อยเท่าตัว ก็คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สุดมหาหฤโหดไปทั่วโลก ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว

นอกจากนี้ยังมีคำทำนายว่าในปีนี้จะเกิดภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว แผ่นดินทรุด แผ่นดินถล่ม และคลื่นยักษ์สึนามิบ่อยครั้ง และถี่มากขึ้นกว่าที่เคยปรากฏมาก่อน ในประวัติศาสตร์ทางภูมิศาสตร์ของโลก ตั้งแต่ 1,000 ปีที่ผ่านมาก็ว่าได้

ส่วนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นประเทศไทย คือ มหันตภัยทางธรรมชาติ สร้างความเสียหายรุนแรงยิ่งกว่าทุกปี จากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอย่างมาก อากาศจะกลับตาลปัตรที่เคยร้อนกลับหนาว และเมืองหนาวกลับกลายเป็นร้อน โดยในช่วงเดือนพฤษภาคม จะเกิดแผ่นดินไหวที่ “เกาะสุมาตรา” จะทำให้เกิด “คลื่นยักษ์สึนามิสูงเสียดฟ้าถล่มชายฝั่งทะเลอันดามันครั้งใหญ่ ” กินอาณาเขตเป็นร้อยกิโล สร้างความเสียหายมากกว่าเมื่อครั้งปี 2547

ในช่วงปลายปีเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี ไข้หวัดนก หรือไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ จะพัฒนาสามารถแพร่พันธุ์จากสัตว์มาสู่คน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมาก เกิดอากาศร้อนจัด และหนาวจัดในเดือนเดียวกัน จะเกิดเหตุน้ำท่วมไปทั่วโลกรวมทั้งเมืองไทย และกรุงเทพฯ บางส่วนจะจมหายไปกับน้ำ

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและมีคลื่นยักษ์สึนามิถล่มประเทศญี่ปุ่น ในแง่ของโหราศาสตร์ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากโหรชื่อดัง “โสรัจจะ นวลอยู่” เคยทำนายไว้เกี่ยวกับเหตุการณ์ภัยแผ่นดินและสึนามิมาหลายปีหลายครั้ง โดยคาดการณ์ว่าบางพื้นที่ในไทยจะเกิดแผ่นดินไหวหรือสึนามิใต้ทะเล ในช่วงที่ปลายปี 2551 เนื่องจากอิทธิพลมุมวิกฤตของดวงดาว ดาวพฤหัสจะเขยิบจะไปอยู่ราศีมังกร ทำฉากกับลัคนาของดวงเมืองไทย ส่วนราหูก็จะโคจรมารวมอยู่กับดาวพฤหัสด้วย ถือเป็นมุมเล็งกัน

ปีที่ผ่านมามีคำทำนายเหตุการณ์แผ่นดินไหวว่า จะเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ภาคเหนือของประเทศไทย ในเดือนมกราคมปี 2553

เดือนมีนาคม เกิดภัยพิบัติทางทะเลครั้งใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของประเทศ มีคลื่นยักษ์เป็นกำแพงสูงเสียดฟ้า อันเนื่องมาจากแผ่นดินไหวในหมู่เกาะสุมาตรา พัดเข้าถล่มหมู่เกาะและชายฝั่งด้านอันดามัน กวาดผู้คนและทรัพย์สินบ้านเรือนที่ติดทะเลลงสู่ทะเลไปเกือบหมดสิ้น ทำให้เกาะบางเกาะจมหายไปในทะเล เดือนเมษายนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกาะสุมาตรา และมีผลกระทบถึงไทยอย่างรุนแรง

เดือนมิถุนายน เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ คนล้มตายเป็นพัน

กลางเดือนกรกฎาคม กรุงเทพฯ ตึกรามบ้านช่องที่อยู่อาศัยอาจถล่มทลายจากแผ่นดินทรุดตัวหลายแห่ง

เดือนสิงหาคม เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในประเทศไทย เกิดขึ้นทางภาคเหนือ มีผู้คนเสียชีวิตจำนวนมหาศาล และจะมีอุบัติภัยทางทะเลและทางเครื่องบินมากกว่าในระยะใด มีการตายหมู่เป็นร้อย

ปลายเดือนธันวาคม เกิดคลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่มชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย กวาดผู้คนและทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้างลงสู่ทะเลจนเกือบหมดสิ้น โดยที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิด

ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ มีแผ่นดินไหว ระดับ 8.9 ริกเตอร์ ที่ประเทศญี่ปุ่น จนเกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มหลายพื้นที่ของประเทศญี่ปุ่น “โสรัจจะ” มองว่าเป็นไปตามคำทำนายที่มีการพยากรณ์ล่วงหน้า ถึงเรื่องภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกในปี 2554 ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในประเทศตามแนวแปซิฟิก

************

ย้อนรอยสึนามิถล่มญี่ปุ่น
สาหัสที่สุดในรอบ 144 ปี

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.9 ริกเตอร์ และสึนามิขนาด 10 เมตรถล่มบริเวณบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ ที่บริเวณเมืองเซนได เกาะฮอนชู จ.มิยากิ ประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ และน้ำท่วมบริเวณหลายพื้นที่ในจังหวัดมิยากิ บ้านเรือน ทรัพย์สิน สินค้าและอาคารร้านค้าเสียหายหลายพันแห่ง ทั้งยังส่งผลให้ระบบไฟฟ้าของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิเกิดความขัดข้องอีกด้วย

อาคารคลุมเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 และ 4
หลังแผ่นดินไหว แม้ว่าทาง Tokyo Electric Power Company (TEPCO) สั่งหยุดเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์ของทั้ง 2 โรงไฟฟ้าในฟูกูชิมะแล้วก็ตาม แต่โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่ง ห่างกันประมาณ 11 กิโลเมตร ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้กับศูนย์กลางของแผ่นดินไหวมากจนอาจจะเกิดความเสี่ยง แต่ก็มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2554 เวลาประมาณ 15:36 น. ตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น มีเสียงระเบิดจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมาโรงที่ 1 (Fukushima Daiichi Plant) ที่บริเวณเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 และในเวลา 15.47 น. ตามเวลาท้องถิ่น รายงานจากโฆษกรัฐบาลได้มีการออกมายอมรับว่ามีการระเบิด และมีสารรั่วไหลออกมา พร้อมให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่เป็นบริเวณ 10 กิโลเมตร

และเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 เกิดระเบิดขึ้นมาอีกครั้งที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 11 ราย แต่มีรายงานจากโฆษกรัฐบาลว่าตัวแกนของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 3 ยังปลอดภัยดี และในช่วงค่ำวันเดียวกันได้เกิดระเบิดขึ้นอีกครั้งในลักษณะคล้ายคลึงกับการระเบิดของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 ที่เตาปฏิกรณ์หมายเลข 2 หลังจากระบบปั๊มหล่อเย็นชั่วคราวล้มเหลว

ขณะที่ในวันที่ 15 มีนาคม 2554 ได้เกิดเพลิงไหม้ที่เตาปฏิกรณ์ หมายเลข 4 ของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะมาโรงที่ 1 ซึ่งในการระเบิดครั้งนี้มีส่วนแตกต่างจากการระเบิดของเตาปฏิกรณ์หมายเลข 1 และหมายเลข 3 เนื่องจากเกิดจากปัญหาระดับน้ำหล่อเย็นในบ่อเก็บแท่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว และในวันเดียวกันมีการระเบิดเกิดขึ้นอีกครั้งที่เตาปฏิกรณ์ หมายเลข 2 อย่างไรก็ดีในเวลา 07.00 น. ได้มีการวัดรังสีที่ประตูทางเข้าหลักได้ 11.9 mSv/h จากนั้นในจุดเดียวกัน ณ เวลา 13.00 น. ระดับรังสีลดลงเหลือ 0.6 mSv/h

ทั้งนี้ ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบๆ โรงไฟฟ้าประมาณ 170,000 คน ต้องอพยพออกจากรัศมี 20 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิชิ (Fukushima Daiichi) และประชาชนอีกประมาณ 30,000 คน ต้องอพยพออกจากรัศมี 10 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดนิ (Fukushima Daini) ด้านนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คัง ได้ให้ประชาชนราว 140,000 คน ที่อยู่อาศัยในบริเวณ 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าอยู่แต่ภายในที่พักอาศัย ขณะที่กรุงโตเกียวเอง ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 250 กิโลเมตรอยู่แต่ในอาคาร